'ปณิธาน' วอนปชช.อย่าหวั่นรัฐล้วงข้อมูลไซเบอร์

'ปณิธาน' วอนปชช.อย่าหวั่นรัฐล้วงข้อมูลไซเบอร์

"ปณิธาน วัฒนายากร" หนึ่งในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ขอให้ประชาชนอย่าหวั่นวิตกว่ารัฐบาลจะล้วงข้อมูลไซเบอร์ ชี้ต้องใช้หมายศาล

นายปณิธาน วัฒนายากร หนึ่งในรายชื่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เปิดเผยกับทีมข่าวเนชั่นทีวี ว่า คณะกรรมการทั้ง 7 คน เป็นรายชื่อที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นผู้เสนอเข้ามายังคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ครบองค์ประกอบของคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งคาดการณ์ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อประชุมคณะกรรมการชุดนี้แล้วเสร็จ จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 2 คณะกรรมการ เพื่อกำกับดูแลกิจการด้านไซเบอร์ของประเทศ และตั้งสำนักงานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นศูนย์รวมการทำงานที่กระจัดกระจายกันอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะคอยกำกับดูแลทั้งในและต่างประเทศ และจะเริ่มดูแลปัญหาทางไซเบอร์อย่างจริงจังและเป็นระบบมากขึ้น โดยคาดการว่าจะแล้วเสร็จในกลางปีนี้

นอกจากนี้ นายปณิธานอธิบายว่า การตั้งสำนักงานคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่งต่างจากที่เคยสังกัดอยู่ในสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ว่าแต่เดิมกลไกต่าง ๆ อยู่นอกสมช. และสมช.เองไม่ได้เข้าไปควบคุมกำกับ แต่การตั้งสำนักงานใหม่ขึ้น สมช.เองจะเป็นผู้ควบคุมอยู่เหนือสำนักงานดังกล่าว ออกสภาวะการณ์ฉุกเฉินรวมไปถึงสามารถเข้าไปปฏิบัติการได้ ซึ่งถือเป็นการรองรับสถาการณ์ไว้ในอนาคตหากเกิดเหตุการสำคัญ

นายปณิธาน ยังย้ำว่า สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นไม่เกี่ยวของกับการเมือง หรือเจาะข้อมูลประชาชน ยกเว้นมีความพยายามก่อการร้ายผ่านไซเบอร์ และทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง การเข้าแทรกแซงกิจการในประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่โดยรวมถือเป็นโครงสร้างใหม่ที่หลายภาคส่วนมีการตอบรับที่ดีขึ้น และมีอะไรมารองรับ โดยยืนยันว่ารายชื่อของคณะกรรมการทั้ง 7 คน เป็นที่ยอมรับ และมีใบรับรองในระดับสากล

พร้อมกับระบุว่า หากพบเจ้าหน้าที่คนใดใช้กฎหมายโดยมิชอบ จะมีกฎหมายลงโทษซึ่งมีโทษหนักถึง 2 เท่า และหากจะทำอะไรจะต้องมีบันทึกและรายงาน รวมไปถึงต้องมีหมายศาล ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีมาก่อนเนื่องจากเป็นปฏิบัติการลับ หากเกินความผิดพลาดสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ พร้อมกับยังมีพรบ.คุมครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่วามารถนำมาใช้ในการถ่วงดุลการเข้าถึงข้อมูลได้ และยังมีภาคประชาสังคมที่จะเข้ามาประชิดและดูแล

การชี้แจ้งของนายปณิธานมีขึ้นหลังจากที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ โดยพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ลงวันที่ 2 ม.ค. 2563 จนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน