‘ซีพี’ เฮ! ได้ไปต่อเมืองการบิน 'อู่ตะเภา'

‘ซีพี’ เฮ! ได้ไปต่อเมืองการบิน 'อู่ตะเภา'

ตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุด ชี้กลุ่มซีพีชนะปมยื่นเอกสารประมูลโครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออกล่าช้า เผยขั้นตอนการยื่นเอกสารเป็นการทยอยลำเลียงเอกสารจำนวนมาก และไม่มีการคัดค้านท้วงติงระหว่างการรับเอกสาร

วันนี้ (7..) ที่ห้องพิจารณาคดีหมายเลข 12 องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในคดีหมายเลขดำที่ .381/2562 ระหว่างบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวกรวม 5 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดีกับคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดนไม่ชอบในกฎหมาย กรณีมีมติไม่รับซองข้อเสนอของผู้ฟ้องคดีบางรายการได้แก่ข้อเสนอกล่องที่ 6 ด้านข้อเสนอทางเทคนิคและแผนธุรกิจ และข้อเสนอกล่องที่9 ด้านราคา ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้รับคำฟ้องในวันที่ 11 ..2562

โดยการพิจารณาคดีในวันนี้ศาลปกครองสูงสุดได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแถลงถ้อยคำต่อศาลด้วยวาจา โดยฝ่ายผู้ฟ้องคดีมอบหมายให้นางสาวปะราลี เตชะจงจินตนา เป็นผู้แทนการแถลงคีดด้วยวาจา ส่วนฝ่ายผู้ถูกฟ้องมีพลเรือตรี เกริกไชย วจนาภรณ์ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการคัดเลือก เป็นผู้แถลงถ้อยคำด้วยวาจา 

ทั้งนี้ ภายหลังได้มีการแถลงของตุลาการผู้แถลงคดี โดยคำแถลงคดีไม่ผู้กพันกับการตัดสินขององค์คณะตุลาการในคดี โดยนายเชี่ยวชาญ สุขช่วย ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้นประจำศาลปกครองสูงสุด ได้แถลงคดีโดยมีใจความสำคัญว่าจากการพิจารณาคดีในประเด็นสำคัญของกายื่นเอกสารการประมูลโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกฯในฐานะผู้ถูกฟ้องในคดีได้ตัดสิทธิ์การประมูลของผู้ถูกฟ้องเนื่องจากยื่นเอกสารการประมูลไม่ทันในเวลา 15.00 . ของวันที่ 21 มี.2562 ประกอบกับได้มีการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2562 ...การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2561 ...ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2562 เอกสารตามการประกาศของคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เรื่องหลักเกณฑ์การประมูลโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกหรือ “RFP” ที่ออกมาในวันที่ 16 ..2561 รวมทั้งเอกสารแก้ไขเพิ่มเติมที่ออกโดยกองทัพเรือในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการรวมทั้งการให้ข้อมูลและการชี้แจงของทั้งสองฝ่ายที่ได้มีการนำเสนอในขั้นตอนศาลปกครองชั้นต้นแล้วมีข้อเสนอว่า

โดยที่การดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวมีเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ซึ่งควรจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ กระบวนการที่ชัดเจนในการตรวจรับเอกสารซึ่งเป็นขั้นตอนที่ภาครัฐในฐานะผู้ประมูลโครงการจะเป็นผู้กำหนดให้เกิดความเป็นธรรมแก่เอกชนผู้เข้าประมูลโครงการทุกราย ซึ่งในข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่าในการยื่นเอกสารการประมูลของภาคเอกชนได้มีการกำหนดให้มีการนำเอกสารที่ผ่านการลงทะเบียนขั้นต้นไปไว้ที่ห้องรับรองต่างประเทศและให้ผู้เข้าร่วมประมูลทยอยเอาเอกสารมายื่นกับคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งรายแรกคือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBSJoint Venture) ที่เริ่มขั้นตอนยื่นเอกสารเวลา 15.00 . ตามด้วยกลุ่ม Grand Consortium และกลุ่มธนโฮลดิ้ง เป็นกลุ่มสุดท้าย ซึ่งสภาพของการยื่นเอกสารย่อมเป็นการทยอยนำเอกสารเข้าเป็นระยะๆโดยมีการรับรองเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่มีการท้วงติงในขณะนั้น ส่วนภาพนิ่งที่ระบุว่ามีการขนเอกสารเข้ามาในเวลา 15.09 .ก็ไม่สามารถนำมาใช้อ้างอิงว่าจะทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบในการประมูลแต่อย่างไร

ขณะที่ข้อทักท้วงว่าการยื่นเอกสารล่าช้าทำให้เกิดข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบกับผู้ยื่นประมูลอีก 2 ราย ก็ไม่สามารถอ้างได้เนื่องจากผู้ที่ยื่นเอกสารรายที่สามไม่อาจล่วงรู้รายละเอียดเทคนิคและราคาของรายอื่นๆได้เช่นกันเนื่องจากเอกสารทั้งหมดถูกเก็บไว้ในห้อง Navy Club รวมทั้งเห็นว่าการพิจารณาเอกสารที่มีการยื่นเข้ามาแข่งขันทุกรายอย่างเป็นธรรมจะทำให้ภาครัฐได้ประโยชน์จากการแข่งขันมากที่สุด

ดังนั้น จึงมีความเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดควรมีการเพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯที่ไม่รับเอกสารการประมูลของผู้ฟ้องคดี และกลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในคดีนี้