KBANK

KBANK

สำรองส่วนเกินที่มีเพียงพอให้จัดการหนี้เสีย และการตั้งสำรองฯบนมาตรฐารบัญชีใหม่

Event

จัดประชุมนัดพิเศษสำหรับมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS9

lmpact

IFRS9 – การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี

เรามองว่าการเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS9 จะทำให้นโยบายบัญชี และการรับรู้รายได้เปลี่ยนแปลงไปใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.) การเปลี่ยนวิธีการจัดชั้นสินเชื่อ/ค่าใช้จ่ายในการกันสำรองที่เข้มงวดและซับซ้อนมากขึ้น 2.) การบันทึกมูลค่าการลงทุนตามราคาตลาด (mark-to-market) 3.) การบันทึกความเสี่ยงรายการนอกงบดุล (off balance sheet)/เครื่องมือป้ องกันความเสี่ยงเอามารวมการในคชจ.การตั้งสำรองฯ 4.) รับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมลดลงเนื่องจากต้องบันทึกค่าธรรมเนียมสินเชื่อที่เก็บล่วงหน้า ( upfront)
ในรูปของรายได้ดอกเบี้ยแบบตัดจำหน่าน amortization (จากปัจจุบันที่บันทึกเป็นค่าธรรมเนียม))สำหรับค่าใช้จ่ายในการกันสำรองนั้น TFRS9 กำหนดให้ธนาคารเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่ไม่แน่นอนเข้าไปในคชจ.การสำรอง(credit cost) แทนที่จะประเมินจากความเสียหายในอดีตตามระบบบัญชีปัจจุบันเท่านั้น

ธนาคารไม่ต้องการนำรายการสำรองที่ตั้งสูงเกินไปในอดีตออกมารับรู้เป็ นรายได้ในงบกำไรขาดทุน

KBANK ได้เตรียมนโยบายการกันสำรองหนี้เสียสำหรับมาตรฐานบัญชีใหม่นี้เอาไว้ล่วงหน้าแล้วหลายปีและมียอดสะสมการสำรองส่วนเกินอยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจาก TFRS9 กำหนดให้ธนาคารจัดชั้นสินเชื่อใหม่แบบเข้มงวดมากขึ้น (จากการแบ่งเป็น 5 ขั้นตามช่วงอายุการค้างชำระให้เหลือแค่ 3 ขั้น) ทำให้ธนาคารต้องจัดชั้นสินเชื่อใหม่ ซึ่งสินเชื่อจัดชั้นในส่วนชั้นที่ 2 (underperforming loan หรือ modified loan) ถือเป็นการจัดชั้นใหม่ ซึ่งหนี้ส่วนนี้จะมีการนับรวมปรับโครงสร้างซึ่งปัจจุบันบันทึกเป็นสินเชื่อดี ต้องถูกจัดชั้นใหม่รวมเป็นหนี้ในชั้น 2 ซึ่งต้องมีการจัดสำรองมากกว่าเดิม ดังนั้น KBANK น่าจะจัดสรรสำรองส่วนเกินมารองรับสินเชื่อ modified loan กลุ่มนี้

แนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมจะเปลี่ยนแปลงไป

TFRS9 กำหนดให้ธนาคารเปลี่ยนวิธีการรับรู้รายได้ค่าธรรมเนียมล่วงหน้าจากสินเชื่อ จากเดิมที่รับรู้ครั้งเดียวทั้งก้อนผ่านรายการ non-NII เป็นการรับรู้แบบ amortization และบันทึกผ่าน NII เราคิดว่าค่าธรรมเนียมสินเชื่อ up-front คิดเป็นหนึ่งในสามของค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อทั้งหมด ซึ่งหากใช้สมมติฐานว่ารายได้ค่าธรรมเนียม up-front ตัวนี้ถูก amortized เป็นเวลา 5 ปี ก็จะฉุดให้รายได้ Non-NII ของธนาคารลดลงประมาณ 6-8% และกระทบกับกำไรสุทธิประมาณ 1%

Valuation & Action

เราคิดว่ายังมีปัจจัยที่ไม่แน่นอนอีกหลายตัว อย่างเช่น GDP ที่ชะลอตัวลง, กระแส NPL เกิดใหม่จากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง, ผลจากการลดดอกเบี้ยครั้งหน้าต่อรายได้ดอกเบี้ยของธนาคาร, สินเชื่อ modified loan ที่เพิ่มขึ้นตามนิยามใหม่ของ TFRS9, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ไม่เอื้อให้ราคาหุ้นของธนาคารฟื้นตัวขึ้น แถมยังเป็นตัวกดดันให้ราคาหุ้นทรงตัวอยู่ในระดับต่ำด้วย แต่เนื่องจากราคาหุ้นไม่แพง เราจึงยังคงคำแนะนำ และราคาเป้าหมายเอาไว้เหมือนเดิม

Risks

หนี้เสียเพิ่ม, รายได้ค่าธรรมเนียมลด , ส่วนต่างดอกเบี้ยลดจากการลดดอกเบี้ย