KKP

KKP

ผลประกอบการ 2Q62: ต่ำกว่าที่คาดไว้เพราะคชจ.สำรองฯสูงขึ้น

Event

กำไรสุทธิของ KKP ใน 2Q62 อยู่ที่ 1.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% QoQ แต่ลดลง 5% YoY ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของเรา/consensus 11%/7% เนื่องจาก non-NII น้อยกว่าที่คาดไว้ และมีการตั้งสำรองสูงเกินคาด (แต่เป็นไปตาม consensus) ในขณะที่กำไรสุทธิใน 1H62 อยู่ที่ 2.7 พันล้านบาท (-12%) คิดเป็น 43% ของประมาณการกำไรปีนี้ของเรา

lmpact

สินเชื่อชะลอตัว

สินเชื่อรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง (ทรงตัว QoQ, +2% YTD, +10% YoY) เนื่องจากธนาคารชะลอการขยายสินเชื่อทุกกลุ่มลง และโยกสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ไปลงทุนเพื่อทำกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์และการลงทุนแทน โดยพอร์ตการลงทุนของ KKP เพิ่มขึ้นถึง 50% QoQ และ YoY

NPL เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อ H/P

ตัวเลขหนี้เสีย ( NPL) เพิ่มขึ้น 2% QoQ และ 4% YTD เนื่องจาก NPL ของสินเชื่อ H/P ยังคงเพิ่มขึ้นอีก3% QoQ และ 11% YTD ในขณะที่ NPL ของสินเชื่อ SME และสินเชื่อกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ดังนั้น KKP จึงตั้งสำรองเพิ่มโดยคิดเป็นต้นทุนคชจ.สำรองฯ/สินเชื่อ (credit cost) ที่ 96bps (จาก 76bps ใน 1Q62) เพื่อรักษาระดับ NPL coverage เอาไว้ที่ 113%

ผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาลดลง

KKP มีผลขาดทุนก้อนใหญ่จากการขายรถที่ยึดมาติดต่อกันสามไตรมาสแล้ว แต่ผลขาดทุนดูเหมือนจะลดลงใน 2Q62 เหลือ 253 ล้านบาท (จาก 296 ล้านบาท และ 379 ล้านบาทใน 4Q61) ในขณะที่ผลการดำเนินงานของ SAM กลับมาโต ในไตรมาสนี้เนื่องจากมีการบันทึกรายได้จากการขายสินทรัพย์ 470 ล้านบาท โดยรับรู้กำไรจากการขายสินทรัพย์ 150 ล้านบาท (จากแค่ 64 ล้านบาทใน 1Q62)

รายได้มิใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) แข็งแกร่งเพราะกำไรจากการลงทุน

ถึงแม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมการธนาคารหลัก และ IB จะออกมาต่ำเกินคาด แต่ก็ถูกชดเชยได้บางส่วนด้วยกำไรก้อนโตจากการลงทุน

Valuation & Action

ผลประกอบการ 2Q62 ออกมาต่ำกว่าที่เราคาดไว้ แต่เราคาดว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนของ KKP ทั้งพอร์ตการลงทุน และ IB จะมีผลการดำเนินงานดี และ active มากขึ้นใน 2H62 ซึ่งจะทำให้กำไรพุ่งแรงใน 2H62 ทั้งนี้ เนื่องจากผลขาดทุนจากการขายลดที่ยึดมาลดลง เราจึงยังคงประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายที่ 79.25 บาท (อิงจาก P/E ที่ 10.5x และ P/BV ที่ 1.2x)

Risks

non-NII ลดลง, สินเชื่อชะลอตัว, ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างมาก