ปั้น “อีโคซิสเทม” ส่งฟู้ดเทคไทยไปดวงดาว

ความร่วมมือของ 4 องค์กรที่เป็นเจ้าสังเวียนบ่มเพาะสตาร์ทอัพ อุตสาหกรรมเอสเคิร์ฟไทย จากพื้นฐานเมืองเกษตร สู่ครัวของโลกในยุคฟู้ดเทคซึ่งเป็นเทรนด์อาหารโลก ผ่านโครงการ SPACE-F เฟ้นหานวัตกรรมด้านอาหารในไทยดาวเด่นป้อนตลาดโลก
แม้สตาร์ท์สายพันธุ์ไทยจะถูกปลุกปั้นโดยการระดมสรรพกำลังของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมากมาย ทว่าผ่านมาหลายปียังไม่เห็นสู่ยูนิคอร์น ตัวแรก (ธุรกิจมีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์)ในไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่สามารถสร้างดาวเด่นแจ้งเกิดได้สำเร็จ ทั้งในอินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์
หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่สกัดกั้นการเติบโตของสตาร์ทอัพ คือ ปัญหาด้านกฎระเบียบ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศ(Ecosystem) หลายคนจึงหันไปเติบโตในต่างแดนแทนในประเทศ
นี่จึงเป็นเหตุผลของความพยายามรวมตัวกันของ 4 องค์กรที่มีประสบการณ์และวิชาความรู้ในการปั้นสตาร์ทอัพในประเทศ ประกอบด้วย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปลุกปั้นสตาร์ทอัพ ฟู้ดเทคในไทย ร่วมกับ WeWork หนึ่งในผู้สร้าง Ecosystem ชุมชนสตาร์ทอัพระดับโลก มาสร้างสิ่งแวดล้อม และระบบที่เอื้อให้สตาร์ทอัพเติบโตเป็นธุรกิจความหวังของประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมเกษตรสินทรัพย์ในดินมีมูลค่าเพิ่ม สร้างกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน
การดึงองค์กรภายนอกประเทศอย่าง WeWork มาเชื่อมต่อกับองค์กรส่งเสริมสตาร์ทอัพในไทย ยังช่วยปลดล็อคปัญหาผ่านโครงการ SPACE-F มีข้อดีตรงที่ไม่มีการถือหุ้นในบริษัทสตาร์ทอัพ ซึ่งผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพมีกรรมสิทธิ์ในไอเดียและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่คิดขึ้นมาเองได้ โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการก็สร้างช่องทางหาโอกาสพบนักลงทุนที่มีศักยภาพ
โดย มร.เอเดรียน ตัน หัวหน้าฝ่าย WeWork Labs ของ WeWork ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพัฒนาพื้นที่รวมกลุ่มสตาร์ทอัพผู้สร้างสรรค์ผ่านที่ Co-Working space ที่มีสำนักงานอยู่ 485 แห่ง 105 เมือง 28 ประเทศทั่วโลก และยังพัฒนาบนในโลกเสมือนจริง (Virtual Reality-VR) ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 466,000 คนทั่วโลก จึงถือผู้เชี่ยวชาญชุมชนคนทำงานด้านสตาร์ทอัพใหญ่ระดับโลก ที่รวมผู้คนสร้างสรรค์ ซัพพลายเชน และ Ecosystem ที่เกี่ยวโยงกับผู้มีส่วนในการปั้นธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่เข้าใจบริบทของการแปลงไอเดียล้ำๆ ที่เหนือความคาดหมายในคนให้กลายเป็นธุรกิจที่สร้างการเปลี่ยนแปลงตลาด
จิ๊กซอว์ที่ทำให้ไทยเข้าถึงระบบนิเวศสตาร์ทอัพระดับสากล โดยการค้นหาไอเดียตั้งต้นในพื้นที่ของWeWork Labs ที่มีใน 60 แห่งทั่วโลก จะช่วยในการการพัฒนาทางความคิดเป็นไปได้อย่างสะดวกโดยไม่จำกัดเพียงแค่ความรู้และแนวคิดเมืองไทย ร่วมสร้างมูลค่าด้วยการให้คำแนะนำ ให้ความรู้และเสริมสร้างความสามารถที่จำเป็นให้กับสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ SPACE-F และได้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญระดับโลกในเครือข่าย WeWork Labs
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. เล่าถึงเป้าหมายของโครงการ SPACE-F คือการจะสร้างแพลตฟอร์มสนับสนุนและส่งเสริมสตาร์ทอัพ พัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึก ( Deep Tech) ทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร โดยการอำนวยความสะดวกปัจจัยเสริมกับ WeWork โดยการให้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม ห้องปฏิบัติการและวิจัยเกี่ยวกับอาหาร (Food Labs) เป็นปัจจัยช่วยเร่งสตาร์ทอัพให้เติบโตไปสู่ระดับเวทีระดับโลก
รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นเพิ่มเติมถึงทิศทางการพัฒนาสตาร์ทอัพของไทย โดยใช้ทรัพยากรองค์ความรู้ด้านวิชาการผนวกกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ที่จะนำมาช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในอนาคต ด้วยการเสริมสร้างวิสัยทัศน์ให้กับสตาร์ทอัพ พร้อมกันกับช่วยสร้างระบบ ecosystem คือสิ่งที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้บริษัทสตาร์ทอัพสามารถเติบโตและสร้างผลงานได้
“มหาวิทยาลัยมหิดล มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งทางด้านวิชาการและด้านวิจัยกับมหาวิทยาลัย สถาบัน และองค์กรระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีบันทึกความร่วมมือหรือบันทึกข้อตกลง (MoU/MoA) 434 สถาบัน จาก 46 ประเทศ โดยร่วมมือในการทำวิจัยและการศึกษาในต่างประเทศ”
ขณะที่ ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลกมากกว่า 40 ปี และเป็นผู้ผลิตปลาทูน่าบรรจุภาชนะที่ใหญ่ที่สุดในโลกมียอดขาย 133,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่มีชื่อเสียงในตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch ส่วนแบรนด์ในไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่
โดยกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจมุ่งเน้นที่ความยั่งยืนมาตลอด จึงเน้นในด้านนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ได้เปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน (SeaChange) และยังได้ลงนามภาคีข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนในกลุ่มอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability -ISSF) ซึ่งการสนับสนุนของเครือข่ายสตาร์ทอัพทั่วโลกของ บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และโปรแกรมของสนช. จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะมองหาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน
“นวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารสามารถช่วยยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่สากล การได้ร่วมมือกับ WeWork Labs จะเป็นการเปิดลู่ทางใหม่เพื่อให้สตาร์ทอัพได้พิสูจน์ไอเดีย โดยไทยยูเนี่ยนเป็นผู้ผลักดันประเทศไทยให้ก้าวไปสู่เวทีโลก เป็นการสร้างคลื่นลูกใหม่สตาร์ทอัพฟู้ดเทคที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมนี้”
‘เราชนะ’ ลุ้นวันนี้! เงื่อนไขสำคัญ ลงทะเบียน www.เราชนะ.com รับเงินเยียวยาโควิดรอบใหม่
'คนละครึ่ง' ลงทะเบียน 20 ม.ค.นี้ ใครไม่มีสิทธิ์รับเงิน 3,500 บาทบ้าง?
ด่วน! ครม.อนุมัติ 'เราชนะ' จ่ายเยียวยา 3,500 บาท ลงทะเบียน 29 ม.ค.นี้
‘เราชนะ’ วันนี้ลุ้น! ครม. อนุมัติหลักเกณฑ์จ่าย 'เงินเยียวยา' 31 ล้านคน
'เราชนะ' สรุปใครได้ 3,500 บาท 2 เดือนบ้าง? ลงทะเบียนอย่างไร เช็คที่นี่!
'คนละครึ่งเฟส 2' รอบเก็บตก เคยถูกตัดสิทธิ 14 วัน ลงได้อีกหรือไม่?