มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบบ่อยในเด็ก

มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบบ่อยในเด็ก

มะเร็งเม็ดเลือดขาวจัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ทั่วโลก

มะเร็งเม็ดเลือดขาวจัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ทั่วโลก

นพ.ปิยะ รุจกิจยานนท์ กุมารแพทย์ เวชศาสตร์โลหิตวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ( Acute leukemia)เกิดจากความผิดปกติของการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก โดยเป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก คิดเป็นร้อยละ 25-30 ของมะเร็งทั้งหมดในเด็ก สำหรับในประเทศไทยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันพบได้ร้อยละ 38.1 ของมะเร็งทั้งหมดในเด็ก

ปัจจุบันสามารถแบ่งโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL) และ Acute Myeloid Leukemia (AML) ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคนั้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพยาธิสภาพการเกิดโรค ได้แก่ 1.การได้รับหรือสัมผัสกับรังสี 2.สารเคมีบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร benzene (สัมพันธ์กับการเกิดโรค AML) 3.ยาเคมีบำบัดบางชนิด ได้แก่ alkylating agents, epipodophyllotoxins และ anthracycline (สัมพันธ์กับการเกิดโรค secondary AML) 4. ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยพบว่าถ้าแฝดคนหนึ่งเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันก่อนอายุ 5 ปี แฝดอีกคนหนึ่งจะมีความเสี่ยงจะเกิดโรคเท่ากับร้อยละ 20 สำหรับพี่หรือน้องของผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันนั้น พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากกว่าประชากรทั่วไป 4 เท่า นอกจากนี้ โรคทางพันธุกรรมบางชนิดพบว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ต่อการเกิดโรคเช่นกัน

สำหรับอาการของโรคที่จะแสดงนั้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ภาวะซีด จากการที่มีเม็ดเลือดแดงต่ำ อาการไข้ หรือ การติดเชื้อ จากการที่มีเม็ดเลือดขาวชนิดปกติที่ต่ำ อาการเลือดออกง่าย เช่น จ้ำเลือด จุดเลือดออกตามตัว เลือดออกตามไรฟัน หรือ เลือดกำเดา จากการที่มีขาวชนิดเฉียบพลันไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมาตรฐาน อาจจะได้รับการพิจารณาในการทำการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์

เกล็ดเลือดต่ำ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดกระดูกร่วมด้วยจากการที่มีเซลล์มะเร็งอัดแน่นอยู่ภายในไขกระดูก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนมะเร็งในช่องอก ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หรือมีความผิดปกติทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หน้าและคอบวม จากการที่ก้อนไปกดทับทางเดินหายใจ หรือ ระบบไหลเวียนโลหิตตามลำดับ

นพ.ปิยะ กล่าวว่าแนวทางการรักษาใช้ยาเคมีบำบัด โดยทั่วไประยะเวลาในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิด ALL จะอยู่ที่ 2.5 – 3 ปี และระยะเวลาในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิด AML จะอยู่ที่ 6-8 เดือน แต่หากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมาตรฐาน อาจจะได้รับการพิจารณาในการทำการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์