แก๊งอาชญากรรมข้ามชาติอาละวาดรูดบัตรในไทย

แก๊งอาชญากรรมข้ามชาติอาละวาดรูดบัตรในไทย

สถาบันการยุติธรรมเผยผลวิจัยอาชญากรรมข้ามชาติ22แก๊งใหญ่อาละวาดไทย สกิมมิ่งบัตรเครดิต-เอทีเอ็มตระเวนรูด

นายนัทธี จิตสว่าง เปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับแก๊งอาชญากรรมของคนต่างชาติที่เข้ามากระทำผิดในประเทศไทย ซึ่งร่วมกันศึกษาและวิจัยโดยคณะทำงานของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ว่า ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีนโยบาลส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงมีการผ่อปรนการผ่านแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติ ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่องทางให้แก๊งอาชญากรรมข้ามชาติหลบเข้ามาก่ออาชญากรรมในไทยอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาเทคนิคและเปลี่ยนแปลงวิธีการในการประกอบอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ขณะที่บุคลากรที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีกับแก๊งอาชญากรรมข้ามชาติต้องเปลี่ยนหน้าที่และสับเปลี่ยนตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง ทำให้หน่วยงานขาดการพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการกับอาชญากรรมข้ามชาติ

นายนัทธี เผยด้วยว่า จากสถิติในเรือนจำมีชาวต่างชาติถูกคุมขังทั้งสิ้น 266 คน จาก 101 ประเทศ เมื่อจำกัดเฉพาะแก๊งอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์จะพบว่ามีชาวต่างชาติแก๊งใหญ่ๆ ที่มีการรวมตัวอย่างชัดเจน 22 แก๊ง อาทิ แก๊งรัสเซียที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิตด้วยการสกิมมิ่งบัตร มีการซื้อข้อมูลลูกค้าธนาคารในต่างประเทศมากดเงินในประเทศไทย โดยแก๊งรัสเซียมีเทคโนโลยีทันสมัยในการสกิมมิ่งข้อมูลภายในบัตรซึ่งใช้เวลาเพียง 30 วินาที ข้อมูลในบัตรของเหยื่อจะเข้ามาอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบัตรปลอมไปตะเวนกดเงินในเวลากลางคืนเพื่อปกปิดอำพรางตัว หากถูกจับกุมคนร้ายสามารถทำลายข้อมูลเพื่อปกปิดหลักฐานได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการสกิมมิ่งบัตร การวิจัยของทีไอเจ ยังพบว่า แก๊งโรมาเนียเป็นอีกกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญและมีการปฏิบัติการอย่างกว้างขวางในไทย โดยมีการนำเข้าเครื่องปลอมแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศสเปนซึ่งจัดส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์เข้ามายังภาคใต้ของประเทศไทย จากนั้นจะทำบัตรปลอมเพื่อนำไปใช้รูดซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า ร้านอัญมณี รวมถึงเบิกถอนเงินสด นอกจากนี้แก๊งชาวโรมาเนียยังนำเครื่องสกิมเมอร์ไปติดตามตู้เอทีเอ็มในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆโดยเฉพาะย่านสุขุมวิท เมื่อได้เงินจะนำไปซื้อทองรูปพรรณหรือคอมพิวเตอร์เพื่อนำกลับประเทศ

"ขณะที่แก๊งชาวเยอรมันจะโจรกรรมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยการปล่อยไวรัสโทรจันเข้าไปแฮ็คข้อมูล ทำให้ได้รหัวล็อคอินและพาสเวิร์ดของเจ้าของบัญชีขณะทำธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อได้เงินมาคนร้ายจะโอนเงินต่อไปยังบัญชีนอมินีในรัสเซีย นอกจากนี้ยังพบแก๊งชาวฝรั่งเศสและชาวอังกฤษที่นำบัตรเครดิตที่จารกรรมข้อมูลมาจากลูกค้าในฝรั่งเศสและประเทศแถบสแกนดิเนเวียมากดเงินสดในตู้เอทีเอ็มตามจังหวัดท่องเที่ยวของไทย โดยเฉพาะภูเก็ต ซึ่งคนร้าย 2 แก๊งนี้จะนำกล้องขนาดจิ๋วหรือเครื่องสกิมเมอร์มือถือ ซึ่งมีขนาดเล็กเท่าไฟแช็คไปดูดข้อมูลบัตรลูกค้า โดยวิธีการเข้าไปตีสนิทและขอดูบัตรเครดิตจากเหยื่อแล้วแอบบันทึกข้อมูลนำไปทำบัตรปลอม เพื่อนำบัตรปลอมไปใช้กดเงินในประเทศที่ 3 " นายนัทธี ระบุ

นายนัทธี เผยอีกว่า ในส่วนแก๊งอาชญากรจากกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาใต้ที่เข้ามากระทำผิดในไทย มีแก๊งใหญ่ 4 แก๊ง ได้แก่ แก๊งโคลัมเบีย แก๊งแม็กซิกัน แก๊งกัวเตมาลา และแก๊งเปรู โดยแก๊งโคลัมเบียจะเขัามาก่อเหตุโจรกรรมตามบ้านจัดสรร ด้วยการตระเวนขับรถติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอมไปตามหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ ติดสติ๊กเกอร์หมู่บ้านปลอม ก่อนจะเข้าไปโจรกรรมทรัพย์สิน เจาะตู้เชฟ โดยระหว่างปฏิบัติการจะตัดสัญญาณโทรศัพท์ภายในบ้านด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าแก๊งโคลัมเบียมีประวัติโจรกรรมตู้เชฟจากธนาคารด้วย ขณะที่แก๊งแม็กซิกัน กัวเตมาลา และเปรูจะเข้ามาโจรกรรมรถยนต์ ทรัพย์สินในบ้านพัก โรงแรม และโจรกรรมเพชรตามงานแสดงอัญมณีต่างๆ

นายนัทธี กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ ทีไอเจ มีกำหนดจัดการเสวนาเรื่อง "โฉมหน้าใหม่ของ อาชญากรรม ที่มาพร้อมกับการเปิดเสรี AEC เพื่อนำเสนอประเด็นเศรษฐกิจอาเซียนกับ 22 แก๊งอาชญากรรมข้ามชาติที่กำลังก่อและขยายตัวอยู่ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการกับปัญหา