"พริมา มารีน" ยกทีมพนักงานลุย "พริมาอาสา ปี 2" ปล่อยเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ

"พริมา มารีน" ยกทีมพนักงานลุย "พริมาอาสา ปี 2" ปล่อยเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ

"พริมา มารีน" มุ่งมั่นสร้างสมดุลชีวภาพทางทะเล ยกทีมพนักงานลุยกิจกรรม "พริมาอาสา ปี 2" เพิ่มปริมาณเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ

พร้อมพงษ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) หรือ PRM ผู้ให้บริการขนส่งและจัดเก็บน้ำมันและปิโตรเคมีเหลวทางเรืออย่างครบวงจร นำทีมคณะผู้บริหาร นำโดย สุธาสินี หมื่นละม้าย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพาณิชย์ และการลงทุน, นิภัทร เอี่ยมศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการสายงานการตลาด, อนันตชัย อุตตะมะ ผู้อำนวยการงานธุรกิจบริหารจัดการเรือ และปกาศิต คำแสง ผู้อำนวยการสายงานเทคนิค และพนักงานอีกเป็นจำนวนมาก ร่วมกิจกรรมคืนชีวิตสู่ท้องทะเลด้วยการปล่อยเต่า - ฉลาม พร้อมเก็บขยะและสิ่งปฏิกูลเรียบชายฝั่ง ณ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในกิจกรรม พริมาอาสา ปี 2

\"พริมา มารีน\" ยกทีมพนักงานลุย \"พริมาอาสา ปี 2\" ปล่อยเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ

บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และความสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหา ทั้งการจับสัตว์น้ำเกินขนาด การประมงที่ไม่เป็นธรรม ขยะและสารพิษ การรุกล้ำพื้นแหล่งเพาะพันธุ์ ภาวะโลกร้อน และอื่นๆ ล้วนเป็นตัวเร่งให้เกิดวิกฤตการณ์ทางทะเล ที่ส่งผลต่อปริมาณสัตว์น้ำในมหาสมุทร ทำให้ประชากรสัตว์น้ำหลายสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วมีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ โดยเฉพาะเต่าทะเลและฉลาม 

ปริมาณเต่าทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากทั้งธรรมชาติและมนุษย์ เนื่องจากมีอัตราการรอดชีวิตตามธรรมชาติปกติอยู่ระดับต่ำมาก และยังใช้ระยะเวลานานนับ 10 ปีกว่าจะเข้าสู่วัยผสมพันธุ์และสามารถแพร่พันธุ์ได้ นอกจากนี้การถูกล่าเพื่อนำเนื้อและไข่มาบริโภค นำกระดองมาแปรรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่ง การทำประมงที่ไม่เหมาะสมหรือกิจกรรมชายฝั่งซึ่งส่งผลกระทบกับแหล่งวางไข่ และแหล่งอาหารของเต่าทะเล ล้วนแต่เป็นปัจจัยเร่งให้ปริมาณเต่าทะเลลดลงเป็นอย่างรวดเร็ว โดยจากข้อมูลสถิติการวางไข่ของเต่าทะเลในประเทศไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา มีอัตราลดลงกว่า 5 เท่า จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี และมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า 

\"พริมา มารีน\" ยกทีมพนักงานลุย \"พริมาอาสา ปี 2\" ปล่อยเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ

ขณะที่ปัญหาการลดลงของฉลามทั่วโลกมักเกิดจากการล่าของมนุษย์ ภัยคุกคามสำคัญที่สุดของฉลามคือ การทำประมงที่มากเกินขีดจำกัด (Overfishing) โดยมีสถิติว่า มนุษย์จับฉลามเฉลี่ยนาทีละ 190 ตัว คิดเป็นจำนวน 100 ล้านตัวต่อปี ฉลามที่ถูกจับ 75% ถูกนำไปตัดครีบเพื่อทำซุปหูฉลามเพื่อการบริโภค ทำให้ปริมาณฉลามในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วและในพื้นที่หลายแห่งอยู่ในสภาวะวิกฤติ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในบริเวณที่ประชากรฉลามและกระเบนลดจำนวนลงรวดเร็วที่สุดในโลก โดยฝั่งอันดามันมีปริมาณฉลามที่จับได้ลดลงกว่า 96% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก Greenpeace) ฉลามในไทย มีทั้งหมด 87 ชนิด (ข้อมูลล่าสุดปี 2563) ซึ่ง IUCN และ Thailand Red List ระบุว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในสถานภาพถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

สุธาสินี หมื่นละม้าย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพาณิชย์และการลงทุนของบริษัทฯ กล่าวว่า พริมา มารีน ได้มีโครงการอนุรักษ์และสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุรักษ์ป่าชายเลน และการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยในปี 2564 ได้มีกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ที่จ.สมุทรสาคร และในเดือนตุลาคม ปี 2565 ที่ผ่านมา ทางบริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่มีต่อระบบนิเวศของประเทศไทย จึงได้ทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน และในครั้งนี้บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นการสร้างสมดุลในกับระบบนิเวศทางทะเล จึงได้จัดกิจกรรมปล่อยเต่าทะเล และฉลาม ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลที่กำลังถูกคุกคาม โดยสายพันธุ์ของเต่าและฉลามที่ปล่อยในกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย เต่ากระและเต่าตนุซึ่งเป็นสายพันธุ์เต่าใกล้สูญพันธุ์ไปจากน่านน้ำของประเทศไทย และฉลามทราย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบหนักจากการทำประมง

\"พริมา มารีน\" ยกทีมพนักงานลุย \"พริมาอาสา ปี 2\" ปล่อยเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ

"แนวคิดหลักของ พริมา มารีน คือ เราทำธุรกิจกับเรือในทะเล เราจึงมองว่าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของบ้านของเรา หากวันหนึ่งบ้านของเรามีปัญหาก็ย่อมส่งผลกระทบกับเราด้วย เช่น หากเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหล พื้นที่เกิดเหตุนั้นก็อาจถูกสั่งปิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจด้วย ฉะนั้น เราจึงต้องดำเนินธุรกิจคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เราทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข" สุธาสินี กล่าว

สุธาสินี กล่าวถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เป็นเมกะเทรนด์ในปัจจุบันด้วยว่า บริษัทฯ ใช้หลัก ESG โดยมุ่งเน้นการดูแลสภาวะแวดล้อมมาเป็นแนวทางหลักในการวางกลยุทธ์และงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างยิ่ง 

\"พริมา มารีน\" ยกทีมพนักงานลุย \"พริมาอาสา ปี 2\" ปล่อยเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ

"บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 2563 เรื่องการใช้เชื้อเพลิงเรือที่ลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเป็นหนึ่งใน ก๊าซเรือนกระจก ตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมกองเรือ (International Maritime Organization หรือ IMO) และในปีหน้าจะเน้นเรื่องการจัดการขยะ รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษจากเรือเพื่อจำกัด หรือลดปริมาณของเสียต่างๆ ให้ได้มากขึ้น มีการปลดระวางเรือเก่าและลงทุนกับการซื้อเรือใหม่เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ด้อยคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน มีการดำเนินโครงการต่างๆ ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการดำเนินงาน อาทิ การติดเครื่องบำบัดน้ำเสียเพื่อป้องกันการถ่ายเทชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) มีการตรวจสอบประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินงานในทุกขั้นตอนอย่างมีมาตรฐานและเคร่งครัด รวมถึงมีแผนการรับมือเหตุฉุกเฉินซึ่งผู้บริหารและพนักงานจะต้องฝึกซ้อมร่วมกันทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) อีกด้วย" สุธาสินี กล่าวทิ้งท้าย

ดังนั้น ในฐานะที่ "พริมา มารีน" เป็นหนึ่งในผู้นำในอุตสากรรมเรือขนส่งน้ำมันและปิโตรเคมีทางทะเล การดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ จะเป็นตัวอย่างแนวทางการสร้างความยั่งยืนให้กับบริษัทอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสูงสุดต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในท้ายที่สุด

\"พริมา มารีน\" ยกทีมพนักงานลุย \"พริมาอาสา ปี 2\" ปล่อยเต่า-ฉลามคืนสู่ธรรมชาติ