"ประกันสังคม" อัปเดต สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด เช็กเลย

"ประกันสังคม" อัปเดต สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด เช็กเลย

อัปเดตล่าสุด สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ซึ่งสำนักงานประกันสังคม เผยจำนวนผู้ประกันตนทั่วประเทศ ประจำเดือนมีนาคม 2565 พร้อมกับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนแต่ละมาตรา รวมถึงคุ้มครองกรณีติดโควิด-19

อัปเดตล่าสุด สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ซึ่งสำนักงานประกันสังคม เผยจำนวนผู้ประกันตนทั่วประเทศ ประจำเดือนมีนาคม 2565 พร้อมกับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนแต่ละมาตรา 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ติดโควิด "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 เช็กที่นี่ครบ ค่ารักษา-เงินขาดรายได้

- เงินทดแทนขาดรายได้ "ประกันสังคม" เช็กแจ้งผลการยื่น-โอนเข้าบัญชี

- อัปเดต "ประกันสังคม" แนะเช็ก "วันหยุด" ปี 2565 พกบัตรพร้อมดูแลอะไรบ้าง

 

สำหรับ ผู้ประกันตน ม.33 หรือ ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง มีจำนวน 11,233,945 คน สิทธิประโยชน์ ที่จะได้รับ ดังนี้

  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ตาย
  • สงเคราะห์บุตร 
  • ชราภาพ
  • ว่างงาน 

 

ผู้ประกันตน ม.39 หรือ เคยเป็นผู้ประกันตรมาตรา 33 ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน มีจำนวน 1,919,583 คน สิทธิประโยชน์ ที่จะได้รับ ดังนี้

  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ตาย
  • สงเคราะห์บุตร 
  • ชราภาพ

 

ผู้ประกันตน ม.40 หรือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีจำนวน 10,766,649 คน สิทธิประโยชน์ ที่จะได้รับ ดังนี้

  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • ทุพพลภาพ
  • ตาย
  • ชราภาพ
  • สงเคราะห์บุตร (ม.40 มีให้เลือก 3 ทางเลือก)

 

\"ประกันสังคม\" อัปเดต สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด เช็กเลย

 

กรณี ติดโควิด จะเบิกเงิน "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 โดย สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งอัปเดตว่า หาก ผู้ประกันตน ติดเชื้อโควิด-19 สำนักงานประกันสังคมพร้อมช่วยเหลือ ผู้ประกันตนทุกมาตราที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยครอบคลุมการรักษาของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 รวมทั้งการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่ผู้ประกันตนทุกมาตรา

 

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 จะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้

  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา) 
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ
  • ค่ายาที่ใช้รักษา
  • ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพาบาลสนาม และสถานพยาบาล
  • ค่าบริการ X-ray 
  • ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

 

โดย สปส.จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

ค่าทดแทนเมื่อขาดรายได้สำหรับ ผู้ประกันตนมาตรา 33

  • กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 
  • กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

 

สำหรับ ผู้ประกันตนมาตรา 39

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วันปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน
    ต้องมีการส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์

สำหรับ ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับเงินทดแทนตามทางเลือก ดังนี้

 

1. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีรับการรักษาประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1และ2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

2. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1และ2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

3. เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในหรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1และ2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

 

หมายเหตุ ผู้ประกันตนมาตรา 40 การรักษาพยาบาลใช้สิทธิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่นี่ หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม