ธุรกิจด้านการแพทย์ ความงาม -อีคอมเมิร์ซ ครองอันดับ 1 ธุรกิจดาวรุ่งปี 65

ธุรกิจด้านการแพทย์ ความงาม -อีคอมเมิร์ซ ครองอันดับ 1 ธุรกิจดาวรุ่งปี 65

หอการค้าไทยเปิด 10 ธุรกิจดาวรุ่งปี 65 เผย โควิด-19 ดันธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม-อีคอมเมิร์ซ ยังคงมาเป็นอันดับ 1 ขณะที่ธุรกิจดาวร่วงยังคงเป็นธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานและเครื่องโทรสาร ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ทั้งนี้ศูนย์ได้สำรวจ 10 อันดับดาวรุ่งและดาวร่วงประจำปี 2565 โดยพิจารณาจาก 5 ปัจจัย ประกอบด้วย ยอดขาย, ต้นทุน, กำไรสุทธิ, ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงและภาวะการแข่งขัน และความต้องการ ความสอดคล้องกับกระแสนิยม พบว่า ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 1 ในปี 65  คือ

1. ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 2. ธุรกิจแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เช่น ช้อปปี้, ลาซาด้า, ไลน์แมน, แกร็บฟูดส์  3. ธุรกิจโลจิสติกส์ เดลิเวอรี่ และคลังสินค้า ธุรกิจฟินเทค (Fin Tech) และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี 4. ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต ธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจขายส่งสินค้าทางเวชภัณฑ์และทางการแพทย์ ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ 

5. ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อาหารเสริมและสุขภาพ ธุรกิจขายตรง 6.ธุรกิจแปรรูปยาง เช่นถุงมือยาง ถุงยาง เป็นต้น ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป 7.ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ธุรกิจ youtuber การรีวิวสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์ เช่น อาหารสัตว์สำเร็จรูป การดูแลสุขภาพสัตว์ 8.ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจ Modern Trade (ร้านค้าปลีกสมัยใหม่) 9.ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน 10. ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง

ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม มาเป็นอันดับ 1 มาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีส่วนกระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนายา การรักษาและวัคซีนให้มีคุณภาพสูง กระแสการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การดูแลความงามยังมีต่อเนื่อง การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ  แต่ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความยังมีปัจจัยเสี่ยงด้านรายได้ของประชาชนที่ลดลงทำให้กำลังซื้อลดลง เมื่อเทียบกับหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น การปลอมแปลงทางเวชภัณฑ์และการหลอกลวงในการให้บริการจนเป็นเหตุให้เกิดคงวามไม่น่าเชื่อถือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอ ต้นทุนการดำเนินธุรกิจยังสูงต่อเนื่องและการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้เล่นรายเดิมและรายใหม่จำนวนมาก

ขณะที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มีปัจจัยหนุนมาจากสถานโควิด-19เช่นกัน ส่งผลต่อพฤติกรรมของประชาชนหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ลดการใช้ชีวิตนอกบ้าน ผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกสินค้าได้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การรีวิวสินค้าของบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ธุรกิจนี้ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการเก็บภาษีออนไลน์ การแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งรายเดิมและรายใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่หันมาทำตลาดออนไลน์ ปัญหาหาหลอกขายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก การแข่งขันทางด้านราคา

ส่วนธุรกิจดาวร่วง 10 ธุรกิจ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ไม่มีการใช้นวัตกรรมไม่ได้มีการใช้เทคโนโลยีหรือสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามยุคสมัย  ประกอบด้วย

1.ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานและเครื่องโทรสาร  2. ธุรกิจฟอกย้อม  ธุรกิจหัตถกรรมที่ไม่มีการออกแบบและราคาถูก 3.ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และวารสาร ธุรกิจรับส่งสื่อสิงพิมพ์ตามบ้านและสถานที่ทำงาน 4. ธุรกิจโรงพิมพ์ การพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ ธุรกิจคนกลาง  5.ธุรกิจผลิตและขายต้นไม่ ดอกไม้ประดิษฐ์  ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไร้ฝีมือ หรือเสื้อผ้าโหล  6.ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก 7.ธุรกิจร้านถ่ายรูป 8.ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ  9.ธุรกิจของเล่นเด็ก และ10.ธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งธุรกิจนี้สามารถใช้ AI เข้ามาทดแทนคนได้

 

อ้างอิง 

หอการค้าไทย