ลุ้นวันนี้ "เงินเยียวยา" คนกลางคืน นักร้อง นักดนตรี ผับ บาร์ รอ ครม. เคาะจ่าย 1.2 หมื่นต่อคน

ลุ้นวันนี้ "เงินเยียวยา" คนกลางคืน นักร้อง นักดนตรี ผับ บาร์ รอ ครม. เคาะจ่าย 1.2 หมื่นต่อคน

เกาะติดที่นี่ ลุ้นวันนี้ "เงินเยียวยา" คนกลางคืน นักร้อง นักดนตรี ผับ บาร์ รอ ครม. เคาะจ่าย 1.2 หมื่นต่อคน ประกันสังคม ม.33 และ ม.40

การประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. วันนี้ (7 ธ.ค. 64) จับตากระทรวงแรงงาน จะเสนอ แนวทางการจ่ายเงินเยียวยา นักร้อง นักแสดง นักดนตรี และผู้ประกอบการสถานบันเทิง ผับ คลับ บาร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ทั้งจาก ประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือ ม.33 และมาตรา 40 หรือ ม.40 รวมทั้งเยียวยาเจ้าของสถานประกอบการ

 ก่อนหน้านี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผย แนวทางการเยียวยา นักร้อง นักแสดง นักดนตรี และผู้ประกอบการสถานบันเทิง ผับ คลับ บาร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 ว่า เรื่องนี้ต้องขอดูตัวเลข กับผู้ประกอบการก่อน แต่เบื้องต้นเรามีตัวเลขในระบบอยู่แล้ว

สำหรับผู้ที่เป็นอาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 ซึ่งเดิมมีการเยียวยาไว้ที่ 5,000 บาท 29 จังหวัด ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ 20,000 คน แต่หากรวมทั้งประเทศ คาดว่าเต็มที่ไม่เกิน 100,000 - 200,000 คน

นอกจากกลุ่มดังกล่าวแล้ว ยังรวมไปถึงกลุ่มคนขับรถรับส่งนักดนตรี เด็กเสิร์ฟ หรืออาชีพที่ได้รับรองจากสมาคมฯ และสมาคมฯ ยืนยันได้ และต้องดูอายุ หากเกิน 65 ปี จะไม่เข้าข่ายมาตรา 40 อาจจะประสานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม​  โดยต้องรอดูตัวเลขจากสมาคมฯ ซึ่งตัวเลขคนกลุ่มดังกล่าวมีเท่าไหร่ ซึ่งการเสนอขอสภาพัฒน์ฯ ต้องมีตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีปริมาณเท่าไหร่

ทั้นี้ จากการประชุมหารือกับตัวแทนภาคเอกชน ธุรกิจจัดอีเว้นท์-คอนเสิร์ต สถานบริการบันเทิง พร้อมกับสภาพัฒน์ ครั้งที่ 2 ถึงแนวทางช่วยเหลือเยียวยานักร้อง นักแสดง นักดนตรี ศิลปินและผู้ประกอบการสถานบันเทิง คลับ ผับ บาร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ผลจากการหารือ ได้ข้อสรุปมีมติร่วมกัน เห็นสมควรจ่ายเงินเยียวยาให้ 3 กลุ่ม คือ  

  • กลุ่มนายจ้างที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 คนขึ้นไป ที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ SME จะจ่ายให้นายจ้าง 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน เช่น ธุรกิจ SME นั้นมีลูกจ้าง 100 คน นายจ้างก็จะได้เงิน 300,000 บาท/เดือน โดยให้ลงทะเบียนโครงการ SME (โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน) ต่ออีก 1 เดือน เพื่อช่วยเหลือนายจ้างกลุ่มนี้ 3 เดือน โดยไม่มีภาษี
  • กลุ่มที่จะได้รับเยียวยาเป็นกลุ่มที่ 2  คือ จ่ายให้ลูกจ้างแรงงาน ซึ่งอยู่ในประกันสังคม ม.33 แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก กรณีเหตุสุดวิสัย จ่าย 50% ของรายได้ และส่วนที่ 2 เยียวยาอีก 5,000 บาท (ม.33 เรารักกัน) หากได้รับเงิน 2 ส่วนรวมกันก็จะเป็นเงิน 12,500 บาท ถือว่าได้รับ 2 ต่อ
  • กลุ่มที่ 3 อาชีพอิสระ ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ไม่มีเงินเดือน ไม่มีฐานข้อมูลยืนยันอาชีพ  เช่น นักดนตรี ศิลปิน ซึ่งจะต้องลงทะเบียนใน ม.40 ผ่านทางสมาคมธุรกิจบันเทิง ผับ บาร์ เป็นผู้รับรอง โดยจะได้รับเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท

นอกจากนี้ในส่วนของศิลปินผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป จะประสานให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้พิจารณาจ่ายเงินเยียวยา โดยจะเสนอไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอให้รัฐบาลจัดสรรเงินกู้รวมวงเงินประมาณ 1 พันล้านบาท ประเมินว่ามีผู้ได้รับเยียวยาประมาณ 3 แสนคน และคาดว่าจะสามารถอนุมัติจ่ายเงินเยียวยาได้ภายในเดือนนี้  

ส่วนกรณีที่หากวันที่ 16 มกราคม 2565 สถานบันเทิงไม่สามารถเปิดกิจการได้ เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด19  ก็จะเสนอรัฐมนตรีพิจารณาขอยกเว้นบางกิจกรรม เช่น การทำบุญประเพณีที่ต้องมีดนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องได้ เพราะจัดงานไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง