ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ภายหลังจากในหลวง ราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ออกจากพลับพลาพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

วันนี้ (5 ธ.ค.64) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำพระบรมวงศานุวงศ์ ปลูกต้นไม้ปฐมฤกษ์ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร รวมทั้งตัวแทนข้าราชการ ประชาชน พร้อมใจกันปลูกต้นไม้อีก 104 ต้น จาก 50 สายพันธุ์ ในวันแห่งประวัติศาสตร์นี้

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกต้นรวงผึ้ง (Yellow Star) เป็นปฐมฤกษ์ จำนวน 1 ต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าSchoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.วงศ์ Malvaceae ถิ่นกำเนิด ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ฤดูการออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมเวลาที่ดอกหอมดอกหอมอ่อนตลอดวัน (7-14 วัน)

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 8 เมตร ใบรูปมนรีหรือขอบขนานปลายแหลมขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบสีเหลืองสด ขนาด 1.3 -1.5 เซนติเมตรบานสะพรั่งทั้งต้น คล้ายรวงผึ้งดอกมีกลิ่นหอมอ่อน 1 ผลกลมแบบแห้งไม่แตก ขนาด 0.5-1 เซนติเมตรประโยชน์เป็นไม้ไทยหายาก ปลูกเป็นไม้ประดับดอกให้กลิ่นหอม

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงปลูกต้นคำมอกหลวง (Golden Gardenia) จำนวน 1 ต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenio sootepensis Hutch.วงศ์ RUBIACEAE มีถิ่นกำเนิดบนดอยสุเทพ ประเทศไทยฤดูการออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนเวลาที่ดอกหอมบานกลางคืนและหอมตลอดวัน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง 7-15 เมตร เรือนยอดกลม โปร่ง ใบรูปรีแกมขอบขนานกว้าง ปลายอดแหลมปกคลุมด้วยไขสีเหลือง ดอกสีเหลืองสดส่วนโคนเป็นหลอดยาว ปลายแผ่เป็น 5 กลีบ เรียงเวียนกัน ขนาดดอกบาน 5.5-7 เซนติเมตร ผลรูปกระสวยมีสันชัดเจนประโยชน์เป็นไม้ไทยหายาก ปลูกเป็นไม้ประดับดอกให้กลิ่นหอม

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงปลูกต้นโมกหลวง (Kurchi)จำนวน 1 ต้นชื่อวิทยาศาสตร์ Holarhena pubescens Wall ex G.Donวงศ์APOCYNACEAE มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟฟริกา อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฤดูการออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางขาวใบออกเรียงตรงข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวโคนกลีบเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ เรียงเวียนกัน ผลเป็นฝักเรียวยาว มีประโยชน์ทั้งใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้กลิ่นหอม เนื้อไม้สีขาวใช้ทำหัตกรรมและเฟอร์นิเจอร์ เปลือกต้นมีรสขมฝาดใช้เคี้ยวหรือต้มแก้โรคบิด มาเลเรียและท้องเสีย

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงปลูกต้นรัตนพฤกษ์หรือคูนสายรุ้ง (Rainbow Shower Tree)จำนวน 1 ต้นชื่อวิทยาศาสตร์ : fFesia x neotioe H.S. Irwin & Barnebe วงศ์ FABACEAE  มีถิ่นกำเนิดเป็นลูกผสมมาจากรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา เกิดจากการผสมของต้นคูนกับกัลปพฤกษ์ นำมาคัดเลือกไว้แต่ดอกสีเหลืองแกมส้มและชมพู ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงได้ถึง 10 เมตร ใบประกอบมี 8-10 คู่ผลัดใบช่วงสั้น 1 ในหน้าแล้งและออกดอกทั้งต้น พร้อมผลิใบอ่อนดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อเป็นพวงห้อยลงดอกขนาด 3.5-4.5 เซนติเมตร ฝักคล้ายฝักคูน แต่มักไม่ติดฝัก มีประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับให้ช่อดอกสวยงามในฤดูแล้ง

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ปลูกต้นฝ้ายคำหรือสุพรรณิการ์(Yellow Silk Cotton Tree)จำนวน 1 ต้นชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum regium วงศ์ BIXACEAE มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ฤดูการออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 7-15 เมตร กึ่งก้านคดงอ โคนใบรูปหัวใจแผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ชอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่งบานทีละดอก ตอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลืองผลกลมเมื่อแก่แดก 3-5 ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย มีประโยชน์ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ดอกสวยงามใบอ่อนนำมาต้มเอาน้ำสระผมและแก้โรคบิดดอกแห้งและใบแห้งใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

ในหลวง ทรงปลูกไม้มงคล ปฐมฤกษ์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ส่วนตัวแทนข้าราชการและประชาชนร่วมกันปลูกต้นไม้จำนวน 104 ต้น 50 พันธุ์ไม้ได้แก่ ต้นกระทุ้มนา กระพี้จั่น กัลปพฤกษ์ แก้วเจ้าจอม ขี้เหล็กบ้าน จันทร์กะพ้อ จำปี จำปีสิรินธร ชงโค ชิงชัน ตะภู ตะเคียนทองตะแบกนา ตะแบกใหญ่ ทองกวาว ทองหลาง นนทรี บัวสวรรค์ ประดู่แดง ประดู่ป่า ประดู่อังสนา ปีบ ปีบทอง พรหมจุฬาภรณ์ มหาพรหมราชินี มะกอก มะเกลือ มะตูม มะเม่า มะฮอกกานี โมกราชินี ยางนา รวงผึ้ง ราชพฤกษ์/คูน ลำดวน ลีลาวดี ศรีตรัง สมอไทย สมอพิเภก สะเดา สะเดาช้าง สัก เสลาใบเล็ก อินทรชิต หว้า อินจัน อินทนิลน้ำ

 

แหล่งข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์

  • กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
  • โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
  • หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1 ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden