เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งได้แต้มต่อ CPTTP –FTA

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งได้แต้มต่อ CPTTP –FTA

ทูตพาณิชย์ ฮานอย เผย ตั้งแต่ต้นปี 64 ถึงปัจจุบัน เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรโตต่อเนื่องจากโควิด -19 ส่งผลต้องการเพิ่ม แถมยังได้รับอานิงสงค์จาก RCEP, CPTPP, EVFTA, UKVFTA

นางสาวพรรณกาญจน์  เจียมสุชน  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม  เปิดเผยว่า   กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่า ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2564 การส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมงของเวียดนามมีมูลค่า 38,750 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนต.ค. 2564 ซึ่งการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงมีมูลค่า 3,400 ล้านดอลลาร์ ลดลง 15.61 % เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2 564 การส่งออกผลิตผลทางการเกษตรหลักมีมูลค่าประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12.7% ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ป่าไม้มีมูลค่าประมาณ 12,800 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น  22.3 % และผลิตภัณฑ์ ประมง 6,900 ล้านดอลลาร์ ลดลง  0.8%   สินค้าที่มีการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กาแฟ ยางพารา ข้าว ผัก พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ทำ จากมันสำปะหลัง ปศุสัตว์กุ้ง เฟอร์นิเจอร์ไม้ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่และหวาย และอบเชย

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งได้แต้มต่อ CPTTP –FTA

โดยเอเชียยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของผลิตภัณฑ์เกษตร ป่าไม้และประมงของเวียดนาม โดยมีส่วนแบ่ง ตลาด 42.8 %  รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา  30%  ยุโรป  11.4 %  แอฟริกา 1.9 % และโอเชียเนีย  1.5%   สหรัฐอเมริกาเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่ากว่า 10,800 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือจีน 7,500 ล้านดอลลาร์  และญี่ปุ่น 2,600 ล้านดอลลาร์

 ขณะเดียวกัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2564 เวียดนามนำเข้าสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงมีมูลค่าประมาณ 35,550ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพื่อขยายตลาดส่งออก กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) จะยังคงเพิ่มกิจกรรมความร่วมมือทวิภาคีกับรัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์คิวบา อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ควบคู่กับ ความร่วมมือพหุภาคีกับองค์กรการค้า รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารแก่ ผู้ประกอบการในประเทศเกี่ยวกับกฎระเบียบของตลาดต่างประเทศและแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตในประเทศ

นางสาวพรรณกาญจน์   กล่าวว่า  การที่เวียดนามสามารถรักษาการเติบโตของการส่งออกตั้งแต่ต้นปี2564 จนถึงปัจจุบันถือว่าประสบความสำเร็จ การส่งออก สินค้าเกษตรยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนหนึ่งมาจากข้อได้เปรียบจากข้อตกลงทางการค้าที่เวียดนามลงนาม เช่น RCEP, CPTPP, EVFTA, UKVFTA เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อพัฒนาการ ส่งออกผู้ประกอบการเวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพสินค้า รักษาความปลอดภัยของอาหารและแหล่งกำเนิด เพื่อส่งเสริมการ เติบโตของการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คาดว่า ภาคสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงจะมีการพัฒนาตลาดส่งออก สร้าง เสถียรภาพให้กับตลาดเดิม แสวงหาและขยายตลาดที่มีศักยภาพและลดการพึ่งพาตลาดบางแห่งในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อ ผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดโลก เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันเพิ่มขึ้น