ปภ.อัพเดต 6 ต.ค.อีก 16 จว.ยัง"น้ำท่วม"ตาย 9-กระทบเฉียด 3 แสนครัวเรือน

ปภ.อัพเดต 6 ต.ค.อีก 16 จว.ยัง"น้ำท่วม"ตาย 9-กระทบเฉียด 3 แสนครัวเรือน

ปภ.อัพเดต "น้ำท่วม" 6 ต.ค. ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 16 จังหวัด กระทบเฉียด 3 แสนครัวเรือน ประสานเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2564 เวลา 09.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่”  ในช่วงวันที่ 23 ก.ย. – 6 ต.ค. 64 เกิดอุทกภัยใน 32 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 208 อำเภอ 1,130 ตำบล 7,618 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาลประชาชนได้รับผลกระทบ 298,901 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 9 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 16 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 16 จังหวัด ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนต่อไป

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงาน จากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ซึ่งเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งตั้งแต่ วันที่ 23 ก.ย. 64 – ปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 32 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัยพิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษอุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทองพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 208 อำเภอ 1,130 ตำบล 7,618 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 298,901 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 9 ราย (ลพบุรี 6 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย ชัยนาท 1 ราย)

สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 16 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร บุรีรัมย์ นครปฐมยโสธร สุรินทร์ เลย ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี ปราจีนบุรี)

 

ยังคงมีสถานการณ์ 16 จังหวัด รวม 74 อำเภอ 410 ตำบล 2,176 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 101,005 ครัวเรือน ดังนี้

 

1. สุโขทัย น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอศรีสำโรง และอำเภอคีรีมาศ ระดับน้ำลดลง

 

2. พิษณุโลก น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ  ได้แก่  อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอบางระกำ ระดับน้ำลดลง

 

3. ขอนแก่น น้ำท่วมขังในพื้นที่  9  อำเภอ ได้แก่ อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภอโคกโพธิ์ชัย อำเภอชนบทอำเภอมัญจาคีรี อำเภอโนนศิลา อำเภอพระยืน อำเภอบ้านแฮด และอำเภอบ้านไผ่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

 

4. ชัยภูมิ น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์ ระดับน้ำลดลง

 

5. นครราชสีมา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสูงเนิน อำเภอโนนสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอพิมาย อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนไทย อำเภอคง อำเภอจักราช และอำเภอแก้งสนามนาง ระดับน้ำลดลง จังหวัดได้จัดตั้งจุดอพยพ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอโนนไทย อำเภอแก้งสนามนาง และอำเภอเมืองนครราชสีมา ผู้อพยพ 544 คน 

 

6. อุบลราชธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่  2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ ระดับน้ำลดลงจังหวัดได้จัดตั้งจุดอพยพ 16 จุด รวม 405 ครัวเรือน 1,644 คน

 

7. นครสวรรค์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี และอำเภอโกรกพระ ระดับน้ำลดลง

 

8. อุทัยธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี ระดับน้ำลดลง

 

9. ชัยนาท น้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอเนินขาม อำเภอหันคา อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอเมืองชัยนาท และอำเภอหนองมะโมง ระดับน้ำลดลง

 

10. ลพบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล และอำเภอบ้านหมี่ ระดับน้ำลดลง

 

11. สระบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองโดน อำเภอบ้านหมอ อำเภอดอนพุด อำเภอหนองแซง และอำเภอหนองแค ระดับน้ำลดลง จังหวัดได้จัดตั้งจุดอพยพ 6 จุด รวม 307 ครัวเรือน 

 

12. สุพรรณบุรี ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำลดลง

 

13. สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี ระดับน้ำลดลง

 

14. อ่างทอง น้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญและอำเภอสามโก้ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

 

15. พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 9 ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง และอำเภอบางปะหัน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผงซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำระดับน้ำลดลง

 

16. ปทุมธานี น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ระดับน้ำลดลง

 

ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ สำหรับประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อนLine ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง