เช็คข้อปฏิบัติ "คลายล็อก" ใช้บริการ "ร้านเสริมสวย-ร้านสัก-ตัดผม"

เช็คข้อปฏิบัติ "คลายล็อก" ใช้บริการ "ร้านเสริมสวย-ร้านสัก-ตัดผม"

เปิดข้อปฏิบัติหลัง "คลายล็อก" 1 ต.ค. ใช้บริการ "ร้านเสริมสวย-ร้านสัก-ตัดผม" กิจการใดต้องแสดงหลักฐานฉีดวัคซีน-ตรวจโควิด เช็คที่นี่!

ภายหลังพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ลงนามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 43 เรื่อง "สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว" โดยประกาศมาตรการผ่อนปรนการเปิดกิจการกิจกรรมในกรุงเทพฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1-31 ต.ค.2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง 

ทั้งนี้ ในประกาศ กทม.ฉบับที่ 43 ได้กำหนดคำสั่งแนบท้ายมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมบางประเภท เพื่อปฏิบัติตามประกาศ กทม.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เช็คข้อปฏิบัติ กทม.ฉบับเต็ม! คลายล็อกกิจการ-กิจกรรมในกรุงเทพฯ เริ่มวันนี้ 

"กรุงเทพธุรกิจ" รวบรวมมาตรการแนวปฏิบัติป้องกัน "โควิด" กิจการสถานเสริมความงาม ร้านสัก ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม และร้านทำเล็บ ดังนี้

•สถานเสริมความงาม ร้านสัก 

1.ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ ก่อนและหลังการให้บริการ รวมทั้งห้องสุขาและห้องอาบน้ำ และให้กำจัดขยะมูลฝอยและขยะติดเชื้อให้ได้ตามมาตรฐานทุกวัน

2.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา

3.ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

4.ให้เว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง หรือเตียง อย่างน้อย 1.5 เมตร กรณีมีพื้นที่รอคิวต้องจัดให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร

5.ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมีให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และต้องไม่มีผู้นั่งรอภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และเพิ่มรูปแบบการให้บริการโดยผ่านการนัดหมาย

6.มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ทั้งผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการตามขีดความสามารถ ทั้งนี้ ให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในกรณีพบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด

7.จัดการให้มีการระบายอากาศภายในร้านที่ดี ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศและจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ

8.จัดให้มีระบบเก็บข้อมูลและติดตามผู้ใช้บริการได้ทุกคน หากพบผู้ป่วยหรืออาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคภายหลังการใช้บริการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เช็คประกาศ กทม.ฉบับ 43 คลายล็อกกิจการ-กิจกรรม ในกรุงเทพฯ เริ่ม 1 ต.ค.นี้

9.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทงราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้

ทั้งนี้ กำหนดเงื่อนไขสำหรับร้านสักที่จะให้บริการได้เฉพาะผู้รับบริการที่แสดงหลักฐานว่าได้รับวัคชีนครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด หรือมีหลักฐานแสดงผลการตรวจที่ยืนยันว่าไม่มีเชื้อโรคโควิด - 19 ในระยะเวลา 72 ชั่วโมงก่อนการใช้บริการโดยวิธี RT-PCR หรือโดยชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย การติดเชื้อ SARS -Cov-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test Kits : ATK) (ชุดตรวจ ATK)

•ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม และร้านทำเล็บ

1.ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน

2.ให้ผู้ประกอบการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ

3.ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

4.ให้ว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง หรือเตียง อย่างน้อย 1.5 เมตร กรณีมีพื้นที่รอคิวต้องจัดให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร

5.ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมีให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และต้องไม่มีผู้นั่งรอภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และเพิ่มรูปแบบการให้บริการโดยผ่านการนัดหมาย

6.มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ทั้งผู้ประกอบการ ช่าง ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ ทั้งนี้ให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในกรณีพบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด

7.ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ช่าง และผู้ช่วย สวม Face Shield และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ

8.ให้มีการเปลี่ยนผ้าคลุมทุกครั้งที่ให้บริการ

9.จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ตึก ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศและจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ

10.เพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่ทางราชการกำหนด เช่น หมอชนะ ไทยชนะ มาใช้ได้ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนในบางพื้นที่ก็ได้