"เยียวยาประกันสังคม" มาตรา 33 กรณีตกงาน ลาออกเพราะโควิดเหตุสุดวิสัย

"เยียวยาประกันสังคม" มาตรา 33 กรณีตกงาน ลาออกเพราะโควิดเหตุสุดวิสัย

อัพเดท "เยียวยาประกันสังคม" มาตรา 33 กรณีตกงาน หรือ ลาออก เพราะโควิดเหตุสุดวิสัย ตรวจสอบรักษาสิทธิ์ผู้ประกันตน

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งย้ำวันนี้ว่า หยุดงานเพราะโควิด ตกงาน หรือลาออก ก็ยังมีสิทธิ์ประกันสังคมดูแลอยู่

อนุมัติการเยียวยาในอัตราใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ใน 15 เดือนย้อนหลังก่อนวันที่ว่างงาน รายละเอียดต่างกันไปในแต่ละกรณี

(ดังรายละเอียดตามภาพ)

\"เยียวยาประกันสังคม\" มาตรา 33 กรณีตกงาน ลาออกเพราะโควิดเหตุสุดวิสัย


5 ขั้นตอนลงทะเบียนขอรับสิทธิ์

1. ลูกจ้างกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7)

ลูกจ้างดาวน์โหลดและกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) https://bit.ly/3u0PrzE ส่งให้นายจ้างพร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก

กรณีกักตัว ใช้เอกสารประกอบดังนี้ 

- ใบรับรองแพทย์ให้กักตัว หรือ

- คำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่สั่งให้กักตัว 

2. นายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจ รวบรวมแบบคำขอรับประโยชน์แทน (สปส.2-01/7) และเอกสารอื่น (ถ้ามี) จากลูกจ้างให้ครบถ้วน

3. นายจ้างบันทึกข้อมูลในระบบ e-Service (www.sso.go.th)

นายจ้างบันทึกข้อมูลในระบบ e-Service บน www.sso.go.th พร้อมแนบเอกสารดังนี้

- ข้อมูลลูกจ้างตามแบบฯ สปส.2-01/7

- หนังสือรับรองการหยุดงาน กรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว (นายจ้างที่ใช้ระบบครั้งแรกต้องลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบก่อน)

4. นำส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) 

นายจ้างนำส่งแบบคำขอรับประโยชน์แทน (สปส.2-01/7) และเอกสารอื่น (ถ้ามี) ของลูกจ้างที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service ไว้แล้ว ส่งไปที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ (ส่งแบบลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service

5. ประกันสังคมอนุมัติจ่าย โอนเงินเข้าบัญชี

เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับข้อมูลของนายจ้างถูกต้องครบถ้วนจะทำการอนุมัติจ่าย รอบแรกเงินเข้าบัญชี ภายใน 5 วันทำการ ส่วนที่เหลือจะโอนเข้าบัญชีทุกสิ้นเดือนจนครบ

กรณีเงินไม่เข้าบัญชี สามารถติดต่อสอบถาม โทร.สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ นายจ้างที่ยังไม่ได้สมัครใช้งาน e-Service ของสำนักงานประกันสังคม สามารถสมัครใช้งานในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมก่อน จึงจะยื่นผ่านระบบได้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ติดต่อสายด่วน 1506 หรือสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่นายจ้างตั้งอยู่