ส่องเทรนด์ "การแพทย์วิถีใหม่" กับความท้าทายใน "วิกฤติโควิด-19"

ส่องเทรนด์ "การแพทย์วิถีใหม่" กับความท้าทายใน "วิกฤติโควิด-19"

"โควิด-19" สร้างโอกาส บนวิกฤติ เร่งการแพทย์ให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เกิด "การแพทย์วิถีใหม่" ควบคู่กับการใช้ชีวิต New Normal พร้อมเทรนด์ในอนาคตที่น่าจับตา เช่น สังคมสูงวัย การรักษาตรงจุด ดูแลแบบองค์รวม

เป็นเวลาเกือบ 2 ปีได้ ที่ประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกได้พบกับ "วิกฤติโควิด-19" ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณสุขและเศรษฐกิจ สร้างความเสียหายในวงกว้าง เศรษฐกิจโลกหดตัวรุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป แต่นั่นก็นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนสนใจสุขภาพมากขึ้น

 

ความเปลี่ยนแปลงของการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน รวมถึงการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้อย่างก้าวกระโดด ทำให้ขณะนี้ การแพทย์ไม่ใช่แค่เรื่องการรับมือโรคระบาดในปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังการระบาด และพร้อมยกระดับศักยภาพในเชิงการแพทย์อยู่ตลอดเวลา

 

ส่องเทรนด์ \"การแพทย์วิถีใหม่\" กับความท้าทายใน \"วิกฤติโควิด-19\"

 

“ผศ.นพ.วีรยะ เภาเจริญ” ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน กล่าวในงานแถลงข่าว New Normal to a New Future ผ่านระบบ Zoom ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมการแพทย์ในอนาคต คาดว่าเติบโตแน่นอน ความเจ็บป่วยหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนต้องเข้า รพ.ตลอด อยู่ที่ว่าการเติบโตจะไปในแนวโน้มทางไหน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเร็วมาก ดังนั้น เทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบัน จะต้องถูกนำมาใช้ใน รพ. ทั้งเรื่องของกระบวนการวินิจฉัยโรค กระบวนการรักษา ฟื้นฟู และติดตามผู้ป่วย

 

การดูแลต้องดูแลแบบครอบครัวและองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ แนวโน้มที่จะต้องไปในอนาคต คือ ต้องเฉพาะบุคคล เปรียบเสมือนสูทที่ตัดพอดีตัว สร้างความมั่นใจว่าตรงกับความต้องการผู้ป่วย รวมถึง เทคโนโลยีการผ่าตัดที่เล็ก และตรงจุด แทนที่ต้องเปลี่ยนทั้งอวัยวะ ก็เปลี่ยนแค่ยีนส์ เป็นต้น

“นี่คือการเติบโตด้านการแพทย์ที่จะต้องเข้ามา อย่างไรก็ตาม ต้องไปพร้อมกันกับความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วย และอีกส่วนที่สำคัญ คือ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เป็นแนวโน้มที่จะมาในอนาคต”

 

 ผศ.นพ.วีรยะ มองว่า เราอาจจะต้องอยู่กับโควิด-19 กันไปปีกว่าหรือสองปี จึงต้องรักษาสุขภาพให้ดีและแข็งแรง เพื่อรับมือกับสภาวะที่โรคระบาดนี้ยังคงดำเนินอยู่ โควิด-19 นับเป็นวิกฤตที่สอนให้เราได้เรียนรู้ ปรับตัว และพัฒนา จนเกิดเป็น ‘New Normal’ หรือความปกติใหม่ การรักษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและครอบคลุมทั้งระบบ เชื่อมโยงตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม จนถึงการติดตามผลหลังการรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

ส่องเทรนด์ \"การแพทย์วิถีใหม่\" กับความท้าทายใน \"วิกฤติโควิด-19\"

 

สำหรับ รพ.เปาโล พหลโยธิน ได้มีการพัฒนายกระดับการให้บริการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องรับกับพฤติกรรมของผู้มาใช้บริการที่เปลี่ยนไปอย่างครอบคลุมในทุกๆ มิติ ได้แก่

 

1. การแยกพื้นที่บริการเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับผู้มาใช้บริการ ภายใต้มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัย

 

2. Homecare services เช่น บริการฉีดวัคซีน บริการจัดส่งยา (Drug delivery) เพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับบริการอย่างรวดเร็ว ถึงง่าย และปลอดภัยสูงสุด

 

3. Virtual Care โทรเวช หรือ Telemedicine โรงพยาบาล เปาโล พหลโยธิน ได้นำ Telemedicine มาใช้เพื่อตอบโจทย์การรักษาพยาบาล พร้อมกับบริการต่างๆ อาทิ บริการเจาะเลือดที่บ้าน และฟังผลออนไลน์ การให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ การนัดการดูแลติดตามอาการผู้ป่วยเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ เป็นต้น

 

4. การจัดสัมมนาออนไลน์ ถ่ายทอดองค์ความรู้และความชำนาญทางการแพทย์ให้กับทีมแพทย์ จัดตั้งสถาบันการเรียนรู้แก่ทันตแพทย์ที่สนใจทั้งภายในและนอกโรงพยาบาล เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ พัฒนาความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา

 

ส่องเทรนด์ \"การแพทย์วิถีใหม่\" กับความท้าทายใน \"วิกฤติโควิด-19\"

“และในอนาคต วางแผนจัดตั้งสถาบันกระดูกและข้อ ครอบคลุมทั้งด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยทั่วไป การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ และการฝึกอบรมแก่แพทย์ เน้นไปที่การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope การผ่าตัดแบบแผลเล็กที่ใช้เวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นไม่นาน”

 

ผศ.นพ.วีรยะ กล่าวต่ออีกว่า โรงพยาบาลฯ ให้บริการทางการแพทย์ครอบคลุมทุกมิติ กว่า 24 สาขา โดยหลักๆ จะเน้นให้บริการกลุ่มโรคหลัก ดังนี้

1. โรคหัวใจ

2. โรคกระดูกและข้อ

3. ทันตกรรม รากเทียม ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

4. โรคมะเร็ง

5. โรคระบบประสาทและสมอง

6. การดูแลสุขภาพจิต (Let’s Talk Center)

7. การผ่าตัดแผลเล็ก

8. เทคโนโลยีการรักษาด้วยออกซิเจนบรรยากาศสูง (HBO)

 

ส่องเทรนด์ \"การแพทย์วิถีใหม่\" กับความท้าทายใน \"วิกฤติโควิด-19\"

 

นอกจากนี้ ยังมีระบบการบริหารจัดการด้านการแพทย์ด้วยโมเดลธุรกิจแบบ Networking ที่มีระบบเครือข่ายร่วมกันกับโรงพยาบาลในเครือ ได้แก่ โรงพยาบาลพญาไท 1 และ โรงพยาบาลพญาไท 2 ในด้านการรักษาโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) การรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น

 

  • "โควิด-19" โอกาสบนวิกฤติ

 

หากมองว่าโควิด-19 เป็นวิกฤต วิกฤตนี้ก็นับเป็นโอกาส ความท้าทาย กลายเป็นสิ่งที่ต้องทำ เชื่อว่าทุกโรงพยาบาลต่างเฟ้นหานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและดีที่สุด มาใช้รักษาผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนเดิม ยอมรับว่า โควิด-19 ช่วงที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะระลอกแรกที่หลายคนยังตั้งรับไม่ทัน แต่ปีนี้ การบริหารจัดการผู้ป่วยดียิ่งขึ้น ทำให้การบริการในภาคธุรกิจสุขภาพสามารถสามารถรับคนไข้ได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา

 

“แม้โควิดสิ้นสุดการพัฒนาต้องเกิดขึ้นต่อไป เป็นที่มาในการจัดตั้งเครือข่าย วิจัย พัฒนา จัดการความรู้ และเทคโนโลยี ต่อยอด เชื่อมโยง กับพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐ เอกชน ขับเคลื่อนอิโคซิสเต็มให้เกิดขึ้นและคงอยู่ถาวร” ผศ.นพ.วีรยะ กล่าว

 

ส่องเทรนด์ \"การแพทย์วิถีใหม่\" กับความท้าทายใน \"วิกฤติโควิด-19\"

 

  • เทรนด์ "การแพทย์วิถีใหม่"

 

สำหรับ เทรนด์การแพทย์ในอนาคต ผู้อำนวยการ รพ.เปาโล พหลโยธิน มองว่าเทรนด์ที่คาดว่าจะมาแรง ได้แก่ “สังคมสูงวัย” เพราะอายุเป็นสิ่งที่หยุดไม่ได้ ชะลอไม่ได้ แต่เราชะลอวัยได้ เพราะฉะนั้น การชะลอวัย เป็นสิ่งที่เราให้ความสนใจ มีการสร้างเสริมสุขภาพ และดูแลสูงวัยที่มีโรคเสื่อมโทรม ถัดมา คือ “กลุ่มทางจิตเวช” เช่น ความเครียด ซึมเศร้า ตื่นตระหนก ทั้งด้วยโควิดกระทบความเป็นอยู่และปัญหาอื่นๆ

 

  • ความท้าทาย "อนาคตการแพทย์"

 

นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายอื่นๆ เช่น “การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วของเทคโนโลยี” และ “การเกิดขึ้นใหม่ของโรคอุบัติใหม่” ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมการคิดอยางมีระบบ ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยน และสุดท้าย “ข้อมูลข่าวสาร” ไม่ว่าจะเป็นโซเชียล อินเทอร์เน็ต การจัดการฐานข้อมูล ต้องจัดการให้ดีเพื่อไม่ให้ข้อมูลผู้ป่วยรั่วไหล รวมถึงการนำข้อมูลในการส่งต่อ รพ.ต่างๆ เพื่อพัฒนา "การแพทย์" ให้ดีขึ้น

 

ส่องเทรนด์ \"การแพทย์วิถีใหม่\" กับความท้าทายใน \"วิกฤติโควิด-19\"