ชาวบ้านหาดทนงยึด "เกษตรทฤษฎีใหม่" ทางรอดเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติโควิด-19

ชาวบ้านหาดทนงยึด "เกษตรทฤษฎีใหม่" ทางรอดเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติโควิด-19

ชาวบ้านหาดทนงยึด "เกษตรทฤษฎีใหม่" ทางรอดเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติโควิด-19

การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสืบสาน ต่อยอดในรัชกาลที่10 ภายใต้โครงการ "โคกหนองนา โมเดล” ถือเป็นทางรอดเดียวของประชาชนคนไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในขณะนี้
        
นายบุญธรรม ทองพิจิตร นายอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีกล่าวถึงการดำเนินงานของฝ่ายปกครองในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่าทางอำเภอได้ดำเนินกระบวนการตำบลเข็มแข็งตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีและนโยบาย 10 แฟลคชิป(10 Flagships)ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยควบคู่กันไป ทั้งการป้องกันแก้ไขปัญหาผู้ป่วยโควิด-19 และสนับสนุนส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้านในพื้นที่รับผิดชอบ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นทางรอดเดียวของพี่น้องประชาชนในห้วงเวลานี้ 

ชาวบ้านหาดทนงยึด \"เกษตรทฤษฎีใหม่\" ทางรอดเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติโควิด-19

“คนติดเชื้อในพื้นที่จริง ๆ เราไม่มี ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับเชื้อมาจากข้างนอกที่นำเชื้อเข้ามาระบาดในพื้นที่ มาตรการดูแลป้องกันในหมู่บ้านในชุมชน จึงต้องเฝ้าระวังอย่างเข้างวด ตรวจสอบทุกคนที่เข้ามา โชคดี พื้นที่อำเภอเมือง แม้จะปิดตลาดสดในบางช่วง แต่เขาก็ไม่เดือดร้อน เพราะมีการน้อมนำแนวพระราชดำริ เกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ อย่างบ้านของนางจงเจียม(สายเพช็ชร) ที่ผมเพิ่งไปดูมาเขาทำได้ดีมาก แต่ละวันเกือบจะไม่ต้องใช้จ่ายอะไรเลย”นายบุญธรรมเผย
          
 สำหรับจังหวัดอุทัยธานีนั้นมีทั้งหมด 8 อำเภอ โดยอำเภอเมืองมี 13 ตำบล มีประชากรทั้งสิ้นกว่า 5 หมื่น คน มีแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านตัวเมืองและหลังจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนถึงวันนี้( ณ วันที่ 12 ก.ย.64) สถานที่สำคัญท่องเที่ยวของจังหวัดอุทัยธานีกว่า 20 แห่งปิดให้บริการทั้งหมด
         
นางจงเจียม สายเพ็ชร  เจ้าของสวนสายเพ็ชร หนึ่งในครัวเรือนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จแห่งบ้านหาดเพชร หมู่ที่ 6  ตำบลหาดทนง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ที่น้อมนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่9 มาปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง เมื่อกว่า 3ปีที่แล้วบนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกข้าว 3 งาน  ปลูกพืชผักสวนครัว 1 ไร่ ที่อยู่อาศัย 1 งาน นอกนั้นเป็นพื้นที่ปลูกผลไม้ อาทิ มะละกอ ฝรั่ง ขนุน มะม่วง ฯลฯ เลี้ยงเป็ดอีก 20 ตัวและหมูหลุม 3 ตัว พร้อมขุดบ่อน้ำเลี้ยงปลาและเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงหน้าแล้งอีกด้วย

  ชาวบ้านหาดทนงยึด \"เกษตรทฤษฎีใหม่\" ทางรอดเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติโควิด-19 ​​​​​​​

อดีตสาวโรงงานทีผันตัวเองมาทำเกษตรผสมผสานตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่เน้นเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ในการเพาะปลูก โดยเริ่มจากศึกษาเรียนรู้ในออนน์รวมถึงการไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่าง ๆ  
          
 “จุดเริ่มต้นมาทำเกษตร ก็เพราะว่าตอนนั้นแม่ป่วยจึงต้องลาออกจากงานมาดูแลแม่ เมื่อก่อนแถวนี้จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปลูกอ้อย ทำนาปลูกข้าว ทำไร่มันสำปะหลัง มีการใช้สารเคมีเยอะมาก คนก็เจ็บป่วยกันมาก สืบเนื่องมาจากการใช้สารเคมี”เจ้าของสวนสายเพ็ชรเผย ก่อนจะหันมาทำเกษตรอินทรีย์100% โดยทุกอย่างผลิตเอง ใช้เองทั้งหมด ไมว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สารกำจัดศัตรูพืช  เป็นต้น

ชาวบ้านหาดทนงยึด \"เกษตรทฤษฎีใหม่\" ทางรอดเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติโควิด-19
            
 2 ปีกว่าที่เธอลงมือทำเกษตรอินทรีย์ตามความตั้งใจ มีทั้งปัญหาลุปสรรคมากมาย แต่ก็ไม่ย่อท้อ จนวันนี้ทุกอย่างเริ่มผลิดอกออกผล สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ที่สำคัญผู้บริโภคมีสุขภาพดีจากการบริโภคพืชผักสมุนไพรอินทรีย์ที่ตัวเองปลูก 
           
 “เริ่มต้นจากครอบครัวเราก่อน ปลูกเอง ทานเอง  คนที่ทานพืชผักเราก้สขุภาพดีไปด้วย”เจ้าของสวนสายเพ็ชรฺกล่าวอย่างภูมิใจ
            
 ปัจจุบันครอบครัวสายเพ็ชร์มีรายได้หลักมาจากฝรั่งพันธุ์กิมจูที่ปลูกไว้ประมาณ 100 ต้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ววันนี้เก็บได้เฉลี่ย 20 กิดลกรัม สนนในราคาจำหน่ายกิโลกรัมละละ 25 บาท ขณะที่ผลผลิตฝรั่งจำนห่ายในท้องตลาดอยู่ที่ 40 บาทต่อกิโลกรัม

ชาวบ้านหาดทนงยึด \"เกษตรทฤษฎีใหม่\" ทางรอดเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติโควิด-19
           
 “เราไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่เป็นราคาที่ทุกคนจับต้องได้  ที่ตลาดสดเมืองอุทัยเขาขายกันอยู่ที่โล 40 บาท ของเขาก็ไมใช่อินทรีย์เหมือนของเรานะ  ทุกวันนี้พืชผักหนูไม่เคยซื้อที่ตลาด เพราะในสวนเรามีทุกอย่าง”นางจงเจียมกล่าวและว่าจากการจำหน่ายผลผลิตในแปลงแต่ละวันมีรายได้เฉลี่ยวันละ 200-300 บาท ส่วนรายจ่ายมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มี
            
อย่างไรก็ตาม สวนสายเพ็ชรนั้น ถือเป็นสวนเกษตรอินทรีย์รายแรก ๆ ในตำบลหาดทะนง ก่อนที่การขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่น ๆ ทั้งในตำบลหาดทะนงและตำบลอื่น ๆ ของอำเภอเมืองอุทัยธานี
          
ด้าน นายเกียรติศักดิ์ ศรีแจ่ม กำนันตำบลหาดทนงกล่าวถึงครอบครัวของนางจงเจียม สายเพ็ชร ถือเป็นครอบครัวต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ของตำบลหาดทนง ก่อนมีการขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่น ๆ ซึ่งขณะนี้ในตำบลหาดทนงมีการทำเกษตรกรอินทรีย์ตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ลักษณะเดียวกันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ครัวเรือน ซึ่งผลผลิตที่ได้ยังแจกจ่ายให้กับผู้กักตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 อีกด้วย
            
  “ตำบลหาดทะนงเราก็ได้มีการบูรณาการร่วมกับทางเทศบาลตำบลหาดทนง ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ได้มาปรึกษาหารือร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนในตำบลหาดทนงได้รับเชื้อโควิดหรือติดโควิดเข้ามาในพื้นที่ แต่ในเมื่อมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้ว เราก็จะต้องดูแลอย่างเต็มที่เช่นกันเพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปมากว่านี้”กำนันตำบลหาดทนงกล่าวและว่า
                 
ขณะนี้ในตำบลหาดทนงมีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 14 คน ส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อเป็นประชาชนที่กลับมาจากพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้มีการรับรักษาจนหายเกือบหมดทุกคนแล้วเพียงแต่ยังต้องกักตัวอยู่ที่ศูนย์พักคอยหาดทนง จำนวน 3 รายจนครบ 14 วันก่อนกลับไปอยู่บ้านของตัวเอง 
             
“ผู้ป่วยที่กลับไปอยู่บ้านในช่วงแรก อาจมีปัญหากับคนในหมู่บ้านในชุมชนที่มีความหวาดระแวง เกรงว่าจะมีการแพร่กระจายเชื้อ แต่หลังจากทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ได้ชี้แจงทำความเข้าใจ ทำให้ตอนนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทุกวันนี้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ตามปกติสุข”กำนันตำบลหาดทะนงกล่าวย้ำ
            
การยึดแนวพระราชดำริ ”เกษตรทฤษฎีใหม่” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นทางรอดเดียวในการทำมาหาเลี้ยงชีวิตยุควิกฤติจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19