ส่องหุ้นรับเหมาช่วงโควิด แกร่งพอลุ้นเก็งกำไรรอบใหม่

ส่องหุ้นรับเหมาช่วงโควิด  แกร่งพอลุ้นเก็งกำไรรอบใหม่

สายเก็งกำไร หรือนักลงทุนที่ลงทุนระยะสั้น ได้เห็นการขึ้นมารอบใหญ่ของหุ้นรับเหมา-ก่อสร้างทั้งรายใหญ่ไปจนถึงรายเล็ก  ตั้งแต่ในช่วงเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา จนทำให้ดัชนีหุ้นในกลุ่มดังกล่าวปรับตัวขึ้นทันที 20 -25 %

ปกติราคาหุ้นมักจะสะท้อนข่าวบวกในเชิงผลการดำเนินงาน แต่ใช้ไม่ได้กับกลุ่มหุ้นรับเหมา-ก่อสร้าง ที่แม้จะขาดทุน เจอปัญหาสภาพคล่องตรึงตัวแต่ถ้ามีประเด็นเข้าประมูลโครงการขนาดใหญ่หรือมีสิทธิ์คว้าสัญญาก่อสร้างเป็นตัวกระชากราคาพุ่งได้เป็นเท่าตัว  จนทำให้การลงทุนรอบใหญ่ของกลุ่มดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้วและจะเข้าสู่รอบใหม่เมื่อไร   และหุ้นไหนที่แกร่งพอจะต้านทานโควิด-19 ที่กระทบธุรกิจก่อสร้างไปเต็มในช่วงที่ผ่านมา

ด้วยกระแสใหญ่ของหุ้นกลุ่มนี้มาจากการทยอยประกาศผลโครงการออกมาติดกันในช่วงเวลาดังกล่าว จากโครงการรวมที่คาดว่าจะเปิดประมูลเกือบ 5 แสนล้านบาทในปี 2564  ซึ่งว่ากันว่าเป็นมูลค่าที่สูงเป็นประวัติการณ์สำหรับงานก่อสร้างภายในปีเดียว

เฉพาะของกระทรวงคมนาคมเป็นเม็ดเงินมหาศาลรถไฟทางคู่เส้นทางเด่นชัย-เชียงของ มูลค่า  73,000 หมื่นล้านบาท รถไฟทางคคู่บ้านไผ่-นครพนม มูลค่า 5,500 ล้านบาท  รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้มูลค่า  1.2 แสนล้านบาท   หรือรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน  และยังมีโครงการอื่นเช่น อุโมงค์ส่งน้ำ กทม. ช่วงคลองเปรมประชากร มูลค่า 9,600 ล้านบาท  อุโมงค์ส่งน้ำของการประปานครหลวง มูลค่า  17,000 ล้านบาท  เป็นต้น

อาการสดุดไปต่อไม่ไหวของกลุ่มนี้มาจากการระบาดโควิดล่าสุดที่ทำให้ต้องมีการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างที่เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ตั้งแต่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมาจนทำให้เกิดการเคลี่อนย้ายแรงงานกลับภูมิลำเนาและกลับยังประเทศเพื่อนบ้าน จากงานก่อสร้างที่ต้องหยุดปริยาย

ช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 หุ้นรับเหมา-ก่อสร้าง  สามารถโชว์ฟอร์มกำไรแค่ไหน ยิ่งใน 3 บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ที่เป็นด่านแรกได้รับงานก่อสร้าง  เริ่มที่บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK    สามารถทำกำไร 318 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 404 % และรอบ 6 เดือน กำไร 525 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,171  

โดยเป็นผลมาจากกำไรพิเศษขายเงินลงทุนในบริษัทลูก  การรับเงินปันผล และยังรับรู้รายได้ที่ดีขึ้นจากธุรกิจโรงไฟฟ้า   ขณะที่รายได้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นมีโครงการได้รับงานก่อสร้างรถไฟ ทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และมีลุ้นการเปิ ดประมูลโครงการสายสีม่วงใต้, โครงการโรงไฟฟ้าหลวง พระบาง ด้านราคาหุ้นปิดที่ 19.50 บาท

บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อป เมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD  สามารถพลิกจากขาดทุนมามีกำไรที่ 169 ล้านบาท เติบโต 209 %   ซึ่งมาจากธุรกิจงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นที่ผ่านมา ITD ได้รับงานประมูลใหญ่ๆ เช่นรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน   ,รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย – งาว

ด้านราคาหุ้นถือว่าเป็นหุ้นที่มีราคาปรับตัวขึ้นและลงแรง ราคาขึ้นไปสูงสุด 3.16 บาท (8 มิ.ย.) จากต้นปีอยู่ที่ 1.10 บาท   หรือเพิ่มขึ้นถึง 187 % ก่อนจะปรับตัวลดลงจนมาเคลื่อนไหวที่ 2 บาท

บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC   รายงานกำไร  1.4 ล้านบาท ลดลง 99 % และรอบ 6 เดือนกำไร 198 ล้านบาทลดลง 50 % กลายเป็นได้รับผลกระทบจากธุรกิจก่อสร้างที่ปรับตัวลดลง  และยังมีค่าใช้จ่ายพิเศษบันทึกผลขาดทุนจากการฟ้องร้อง 123.96 ล้านบาท ตามคําพิพากษาศาลฎีกา

บริษัท ยูนิค  เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น  จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ   ถือว่าติดอันดับรายใหญ่ในระยะเวลาไม่นานสามารถคว้างานใหญ่รถไฟไทย-จีน (พระแก้ว-สระบุรี)  ,งานพัฒนา ระบบรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ระยะที่1 (ดอน เมือง-นวนคร)   รายงานกำไรไตรมาส 2ออกมา 6.3 ล้านบาท ลดลง 87 % รอบ 6 เดือนกำไร 12.77 ล้านบาท ลดลง 93 %  จากต้นทุนด้านแรงงานและวัสดุทำให้กดดันอัตรากำไรขั้นต้นลดลง

อย่างไรก็ตามแนวโน้มของหุ้นรับเหมา-ก่อสร้าง จะมีความเหวี่ยงราคาหุ้นสูง ผลดำเนินงานไม่สม่ำเสมอ  แต่ความน่าสนใจที่เมื่อภาครัฐพร้อมกดปุ่มสตาร์ทงานประมูลได้อีกครั้ง หรือลงทุนซึ่งจะมีโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคตามมา ทำให้หุ้นกลุ่มมีกลับมาจุดพลุได้รอบใหม่อีกครั้ง