'โตเกียว โอลิมปิก 2020' คืนความสุขคนไทยในวิกฤติ แห่ดูกีฬาพุ่ง 20 ล้านคน

'โตเกียว โอลิมปิก 2020'  คืนความสุขคนไทยในวิกฤติ แห่ดูกีฬาพุ่ง 20 ล้านคน

มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ "โตเกียว โอลิมปิก 2020" แม้มีอุปสรรคมากมาย จากโรคโควิด-19 ต้องเลื่อน 1 ปี แต่ "ญี่ปุ่น" เจ้าภาพไม่ทำให้ผิดหวัง พิธีเปิดเรียง่าย ตรึงใจ นักกีฬาตบเท้าแข่งขัน "เทนนิส-พาณิภัค" คว้าเหรียญทอง ปลุกความสุขคนไทยท่ามกลางวิกฤติ

ก่อนมหกรรมTokyo Olympics 2020จะเริ่มขึ้น มีการคาดการณ์ความสนใจและบรรยากาศการติดตามรับชมการแข่งขันของผู้ชมทั่วโลกต่อ “มหกรรมโอลิมปิก” จะไม่คักคักและมมีผู้ติดตามชมรายการถ่ายทอดกีฬาไม่มากเท่าที่ควร เพราะส่วนใหญ่ประชาชนยังคงเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19   

ทว่า ในค่ำคืนวันที่ 23 กรกฏาคม หลังพิธีเปิดแสนเรียบง่าย ตามข้อกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ “เจ้าภาพญี่ปุ่น” กลับนำเสนอการแสดงที่แฝงไปด้วยความหมายลึกซึ้ง ความน่ารัก และความประทับใจให้นักกีฬาในสนาม แม้กระทั่งผู้ชมทั่วโลก ถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะตัวของญี่ปุ่น การใส่ใจในรายละเอียดของเจ้าภาพทั้งในเรื่องพิธีการและการแสดงต่างๆ การสร้างความประทับใจและจดจำ ทำให้เกิดการกล่าวขานต่อในโลก Social เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดง Pictogram เพื่อสื่อถึงสัญลักษณ์ของกีฬาในโอลิมปิก 2020 ซึ่งถือว่าเป็นตัวขโมยซีนหลักของพิธีเปิดครั้งนี้ไปก็ว่าได้

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด(MI Group) คาดการณ์ผู้ชมโอลิมปิกในประเทศไทยไม่ต่างจากสถานการณ์โดยรวม  โดยประเมินกระแสความสนใจและการติดตามรับชมมหกรรม โตเกียว โอลิมปิก 2020 จะไม่คึกคักเท่าครั้งที่ผ่านๆมา เพราะคนไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติโควิดอย่างหนักหนาสาหัสอยู่ อารมณ์และจิตใจของคนไทยคงมุ่งให้ความสนใจไปยังการติดตามสถานการณ์การระบาด ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวัน มาตรการป้องกัน การรักษาผู้ติดเชื้อ การกระจายวัคซีน และการเยียวยาผู้ประกอบกิจการ รวมถึงประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักในวงกว้าง 

ทั้งนี้ ด้วยพื้นฐานของคนไทยที่ผูกพันและชื่นชอบในวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเป็นทุนเดิม หลังพิธีเปิด โตเกียว โอลิมปิก 2020 สิ้นสุดลง กระแสความชื่นชอบและการพูดถึงรายละเอียดต่างๆของพิธีเปิดก็พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ สามารถดันแฮชแท็กที่เกี่ยวกับ โตเกียวโอลิมปิด ติดท็อปเทรนด์บนทวิตเตอร์ของไทย เช่น  #Olympics #Tokyoolympics2020 #Olympics2020 #Tokyo2020 #โอลิมปิกเกมส์

162760749083

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายหัวข้อที่เป็น Top retweet เช่น มีพูดถึงการแสดงสัญลักษณ์กีฬาในพิธีเปิดอย่าง “Pictogram” การจุดคบเพลิงของเจ้าภาพครั้งก่อนๆใครทำได้ว้าวที่สุด เป็นต้น

ต่อเนื่องจากกระแสของพิธีเปิด ด้วยสถานการณ์โควิดและการยกระดับมาตรการ ”ล็อกดาวน์” ของภาครัฐในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ผลักดันจำนวนผู้ชมการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 พุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น

-ช็อตเด็ดกีฬา เช่น กระโดดน้ำชายคู่ของอังกฤษที่ synchronize กันดีมาก

-ลีลาการเล่นสุดแพรวพราวของวอลเลย์บอลชายญี่ปุ่น ที่เหมือนในอนิเมะไฮคิว

-นักกีฬาดาวรุ่ง นักกีฬาที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ

-ส่องนักกีฬาหน้าตาดีของแต่ละชาติในกีฬาประเภทต่างๆ

-แบรนด์ไทยหลายๆแบรนด์ที่ออกมาเล่นกับกระแส Pictogram

นอกจากนี้ ช่วงค่ำของวันเสาร์ที่ 24 กรกฏาคม ถือเป็นเวลาพีคที่สุด เมื่อมีการแข่งขันกีฬาเทควันโดรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 49 กิโลกรัมหญิง และ พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ หรือ น้องเทนนิส คว้าเหรียญทองเหรียญแรกให้กับทัพนักกีฬาไทย และเป็นเหรียญทองแรกในประวัติศาสตร์ของสมาคมเทควันโดไทย สร้างความดีใจ ความคึกคัก ความสุขให้กับแฟนผู้ชมชาวไทย และปลุกกระแสการร่วมเชียร์นักกีฬาไทยที่เป็นตัวแทนทีมชาติไทยไปแข่งโตเกียว โอลิมปิก 2020 รวม 42 คนจาก 14 ชนิดกีฬาได้เป็นอย่างดี

ด้านการถ่ายทอดสดโตเกียว โอลิมปิก 2020 ผ่านช่องทาง ทั้งฟรีทีวี 7 ช่อง ได้แก่ พีพีทีวี 36, ทรูโฟร์ยู 24, เจเคเอ็น 18 , จีเอ็มเอ็ม 25, เอ็นบีที, ไทยพีบีเอส และทีสปอร์ต และออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม AIS PLAY ทำให้คนไทยสามารถรับชมได้ทุกชนิดกีฬา ทำให้ไม่พลาดการแข่งขันที่จัดขึ้นพร้อมๆกัน ปัจจัยดังกล่าวสร้างความสุขเล็กๆให้คนไทยได้เสพคอนเทนท์ดีๆในยามวิกฤติ

162760734066

สำหรับจำนวนผู้ชม โตเกียว โอลิมปิก 2020 มีมากกว่า 13.5 ล้านคนในช่วง 6วันแรก หลังพิธีเปิดเริ่มขึ้น (ข้อมูลจำนวนผู้ชมรวมผ่านฟรีทีวี วัดผลโดย Nielsen Media Research) ยังไม่รวมผู้รับชมผ่านสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆและ AIS Play ซึ่งรวมแล้วคาดว่ามีผู้ชมรวมไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ชม โตเกียว โอลิมปิก 2020 กับ ริโอ โอลิมปิก  2016 ไม่สามารถวัดจำนวนผู้ชม (Rating) ได้โดยตรงเพราะภูมิทัศน์สื่อ (Changing Media Landscape) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับโตเกียว โอลิมปิก  2020  เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในยุคที่ดิจิทัล สื่อออนไลนมีบทบาทหลักอย่างชัดเจน ช่วยขับเคลื่อนความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมของคนทั่วโลก

ทั้งนี้ เจ้าภาพ “ญี่ปุ่น” ตระหนักและให้ความสำคัญในประเด็นเหล่านี้อย่างมาก พิธีการและการแสดงต่างๆ มีการให้ความสำคัญในเรื่อง Diversity (ความหลากหลาย) & Equality (ความเท่าเที่ยม), Humble (ความถ่อมตัว), Commitment (ความมุ่งมั่น), Solidarity (ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน) ซึ่งคอนเท้นต์เหล่านี้ถูกสอดแทรกเข้าไปในพิธีเปิดและการแสดงต่างๆ และถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัว ชัดเจนและเป็นที่น่าประทับใจ สอดรับกับพฤติกรรมการเสพสื่อของประชากรโลกยุคใหม่ ทั้ง online และ offline อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ตัวเลขจำนวนผู้ชมการถ่ายทอดสดของไทยผ่านฟรีทีวี (Broadcast TV) ก็มีจำนวนมากขึ้นทุกช่องอย่างมีนัยสำคัญ

162760735946

โดยผู้ชมกลุ่มหลักๆของ โตเกียว โอลิมปิก คือกลุ่มคนกรุงเทพและคนเมือง รายได้ปานกลางถึงสูง อายุ 35ปีขึ้นไป โดยที่ในช่วงต้นของมหกรรมกีฬาแห่งมวลมมนุษยชาติ ผู้ชมชาวไทยให้ความสนใจกับกีฬาแบดมินตัน เทควันโด จักรยาน ปิงปอง และยิงปืนมากที่สุด เพราะเป็นรายการที่มีนักกีฬาของไทยเข้าร่วมการแข่งขัน นอกเหนือจากประเภทกีฬาที่มีนักกีฬาของไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จากข้อมูลในโอลิมปิกในครั้งที่ผ่านๆมา คนไทยให้ความสนใจและติดตามรับชมประเภทกีฬาเช่น ว่ายน้ำ, ยิมนาสติก, เทนนิส, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล เป็นต้น

“จากการรายงานข่าวของสื่อ หรือการติดตามข่าวด้วยตัวผู้ชมเอง คนไทยตั้งหน้าตั้งตาตั้งความหวังอันเต็มเปี่ยม เฝ้าจอเพื่อรอคอยโมเมนท์ที่ไทยจะคว้าชัยชนะครองเหรียญอีกครั้ง ให้ได้เฮกันลั่นเมือง เหมือนครั้งที่น้องเทนนิสได้มอบความสุขเล็กๆให้เราในเวลาวิกฤติ”