เล็งขยายพื้นที่ 'ล็อกดาวน์' เพิ่ม หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงต่อเนื่อง

เล็งขยายพื้นที่ 'ล็อกดาวน์' เพิ่ม หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงต่อเนื่อง

ศบค.เล็งขยายพื้นที่ "ล็อกดาวน์" เพิ่ม ปรับมาตรการคุมเข้ม หลังพบยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นต่อเนื่อง พร้อมทบทวนมาตรการสาธารณสุขด่วน

วันนี้ (16 ก.ค. 64) พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)​ แถลงว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประจำวันที่ 16 ก.ค. 2564 ว่า พบ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,186 ราย จำแนกเป็นติดเชื้อในประเทศ 9,692 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 615ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 15 ราย  ทำให้มีผู้ป่วยสะสมระลอกใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2564 จำนวน  353,044 ราย  หายป่วยกลับบ้าน 5,730 ราย หายป่วยสะสม 244,431 ราย

ทั้งนี้ มี ผู้เสียชีวิต เพิ่มอีก 67 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 3,005 คน อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 มีจำนวน 381,907 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสมรวม 3,099 คนแล้ว

162642439981

ส่วนผู้ป่วยรักษาอยู่ในโรงพยาบาลในขณะนี้ มี 106,961 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 60,838 ราย และโรงพยาบาลสนาม 46,113  ราย อาการหนัก 3,367 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 847 ราย

162643975133

  • เล็งขยายพื้นที่ 'ล็อกดาวน์'เพิ่ม พร้อมปรับมาตรการคุมเข้ม

พญ. อภิสมัย กล่าวต่อว่า  ที่ประชุมศบค.นัดพิเศษ ได้มีการประเมินสถานการณ์หลังประกาศไปแล้ว 5 วัน โดยมีการรายงานจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) มี 2-3 มาตรการที่ได้เน้นย้ำกับประชาชน

ส่วนแรก กระทำความผิด 217 ราย ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามออกจากเคหะสถาน 158 ราย ห้ามรวมกลุ่ม 59 ราย ถูกดำเนินคดี 45ราย ส่วนที่เหลือเจ้าหน้าที่ได้ตักเตือน

จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคม พบมีการเดินทางไปมาหาสู่กัน และ เดินทางข้ามจังหวัด แม้แต่ในพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม นอกจากนี้ ในที่ประชุมมีการหารืออาจเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นมากขึ้นและต้องติดตามการรายงานในเร็วนี้ มาตรการล็อกดาวน์ที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นไปตามสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นการล็อกดาวน์บางพื้นที่ มีการควบคุมเข้มงวดเฉพาะ 10 จังหวัด ไม่ใช่ทั้งประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความเดือนร้อนน้อยที่สุด แต่เมื่อมีการรายงานมาตรการ 5 วันที่ผ่านมาแล้ว พบว่าการบังคับใช้มาตรการยังน่าเป็นห่วง

นอกจากนั้น  ผอ.ศบค. ได้ให้คณะแพทย์ที่ปรึกษา ทบทวน มาตรการสาธารณสุข เพื่อนำเสนออย่างเร่งด่วน ขอให้ประชาชนและสื่อมวลชนติดตาม อาจจะมีการปรับมาตรการ เข้มข้นมากขึ้นจากนี้ด้วย

  • ผู้เสียชีวิตโควิด 67 ราย ส่วนใหญ่ติดเชื้อจาก 'คนในครอบครัว'

ส่วนผู้รับ วัคซีน ข้อมูล 28 ก.พ.- 15 ก.ค.2564 มีผู้รับวัคซีนฉีดแล้ว 13,823,355 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1จำนวน 10,424,925 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 3,398,430 ราย

สำหรับ ผู้ป่วย โควิด 19 เสียชีวิต ทั้ง 67 ราย แบ่งเป็น กทม. 33  ราย สมุทรปราการ  ปทุมธานี จังหวัดละ 5ราย  นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา สงขลา สมุทรสาคร จังหวัดละ 2 ราย และ เชียงราย เพชรบุรี ตราด นราธิวาส ร้อยเอ็ด สกลนคร  อำนาจเจริญ และอุดรธานี จังหวัดละ 1 ราย

162642442425

ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง  โรคไต โรคปอด  โรคอ้วน หลอดเลือดสมอง  มะเร็ง และไม่มีโรคประจำตัว ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ได้แก่ คนอื่นๆ คนในครอบครัว เข้าไปในสถานที่แออัดพลุกพล่าน  อาศัย/เดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาด อาชีพเสี่ยง และระบุได้ไม่ชัดเจน

  • 17 จังหวัดยังพบ 'ผู้ติดเชื้อรายใหม่' มากกว่า 100 ราย 

สำหรับค่ากลางระยะเวลาวันที่ทราบผลติดเชื้อจนถึงเสียชีวิต พบว่าเสียชีวิตที่บ้าน 1 ราย (จ.ยะลา อยู่รพ.สนาม 3 วัน ไม่มีอาการจึงกลับไปปอเนอะ วันรุ่งขึ้นเพื่อนพบนอนเสียชีวิต) ไม่เกิน 6 วัน 25 ราย (37%) มากกว่า 14 วัน 22 ราย ( 33%)

อย่างไรก็ตาม  ในขณะนี้ยังมีการเดินทางผ่านช่องทางธรรมชาติอย่างผิดกฎหมาย โดยเป็นมีผู้ที่เดินทางมาจากเมียนมาร์ มี 5 ราย  เพศชาย 4 ราย เพศหญิง 1 ราย  โดยทั้งหมดมีสัญชาติไทย  ประกอบอาชีพพนักงานออนไลน์ 4 ราย และรับจ้าง 1 ราย

สำหรับผู้ป่วยรายใหม่วันที่  16 ก.ค.3564 ใน 10 จังหวัดอันดับแรก ได้แก่  กรุงเทพฯ 2,195 ราย สมุทรสาคร 653 ราย  สมุทรปราการ 607  ราย ราย ชลบุรี 530 ราย นนทบุรี 456 ราย ฉะเชิงเทรา 374 ราย ยะลา264 ราย ปทุมธานี 243 ราย นครปฐม 202 ราย และปัตตานี 191  ราย

ทั้งนี้ แผนที่แสดงจังหวัดการพบผู้ติดเชื้อรายวันที่ 16ก.ค.2564 พบว่า ขณะนี้จังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดง หรือมีผู้ป่วยมากกว่า 100 ราย  17 จังหวัด พื้นที่สีส้ม หรือมีผู้ป่วย 51-100 ราย 22 จังหวัด พื้นที่สีเหลือง หรือมีผู้ป่วย 11-50 ราย 30 จังหวัด และพื้นที่สีเขียว มีผู้ป่วย 1-10 ราย มี 8 จังหวัด

162642444280