เปิดเหตุเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 153ราย

เปิดเหตุเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนโควิด 153ราย

ไทยฉีดวัคซีนกว่า 10 ล้านโดส มีเหตุเสียชีวิต 210 ราย สรุปผลแล้ว 153 รายไม่มีเกี่ยวข้องวัคซีน แต่ 8 รายไม่สามารถสรุปได้ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ อีก 4 รายไม่ทราบจริงๆเพราะข้อมูลไม่พอ

เมื่อวันที 15 ก.ค. 2564 ในการเสวนาวิชาการ วัคซีนโควิด19สำหรับสื้อมวลชน ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด19 สะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-14ก.ค. 2564 พบว่ามีรายงานผู้มีอาการไม่พึงประสงค์ฯจำนวน 585,213 ราย คิดเป็น 4.32%ของผู้รับวัคซีนทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ ปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีด เหนื่อยอ่อนเพลียไม่มีแรง ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ซึ่งในที่สุดจะหายไปเอง บางคนใช้เวลาสั้นบางคนใช้เวลายาว อย่าตกใจ


แต่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนเกิดขึ้น อาจจะรุนแรงเข้ารับการรักษาในรพ.หรือเสียชีวิตเกิดขึ้น โดยกรณีการเสียชีวิตภายใน 30 วันหลังฉีดเกิดขึ้น 1.6 ต่อแสน โดยทั้ง 2 ส่วนนี้มีรายงานรวม 3,760 ต่อแสนโดส แยกเป็นเข้าเกณฑ์ร้ายแรง 1,231 ต่อแสนโดส เป็นฉีดซิโนแวคเข็มที่ 1 จำนวน 684 ต่อแสนโดส เข็มที่ 2 จำนวน 168 ต่อแสนโดส ฉีดแอสตร้าฯเข็มที่ 1 จำนวน 474 ต่อแสนโดส เข็มที่ 2 จำนวน 6 ต่อแสนโดส และซิโนฟาร์ม เข็มที่ 1 ต่อแสนโดส ซึ่งกรณีของซิโนฟาร์มยังมีการฉีดไม่มากเท่าซิโนแวคและแอสตร้าฯ


เสียชีวิต 210 ต่อแสนโดส ซิโนแวค เข็มที่ 1 จำนวน 46 ต่อแสนโดส เข็มที่ 2 จำนวน 19 ต่อแสนโดส แอสตร้าฯ เข็มที่ 1 จำนวน142 ต่อแสนโดส เข็มที่ 2 จำนวน 2 ต่อแสนโดส และซิโนฟาร์ม เข็มที่ 1 จำนวน 1 ต่อแสนโดส ผู้ป่วยในอื่นๆเช่น ไข้ 2,319 ต่อแสนโดส ซิโนแวค เข็มที่ 1 จำนวน 772 ต่อแสนโดส เข็มที่ 2 จำนวน 289 ต่อแสนโดส แอสตร้าฯ เข็มที่ 1 จำนวน 1,228 ต่อแสนโดส เข็มที่ 2 จำนวน 12 ต่อแสนโดส และซิโนฟาร์ม เข็มที่ 1 จำนวน 12 ต่อแสนโดส


ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าวอีกว่า ทุกกรณที่เสียชีวิตจะมีผการพิจารณาร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านระบบประสาท ระบบหัวใจ โรคเลือด ถูมิแพ้ โรคติดเชื้อและอื่นมีครบทุกระบบ รวมถึง ปรึกษาพยาธิแพทย์ที่ดูผลชันสูตรด้วย จากจำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับรายงาน 210 ราย อยู่ระหว่างการติดตามข้อมูลสอบสวนโรคเพื่อนำเข้าพิจารณาในคณะผู้เชี่ยวชาญ 57 ราย และสรุปผลการพิจารณาแล้ว 153 ราย สรุปได้ว่า ที่เกิดจากการเกี่ยวกับวัคซีนหรือการฉีดวัคซีนแน่นอนนั้น ไม่มี

แต่มี 8 ราย ที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ โดยทราบเหตุเสียชีวิตแน่ แต่เป็นการเสียชีวิตใน 3-4 วันหลังรับวัคซีน หรือเพราะวัคซีนไปกระตุ้น ในจำนวนนี้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 7 ราย ทุกรายมีเส้นเลือดอุดตัน อาจเป็นไปได้ว่าถ้าไม่ไปฉีดวัคซีนแล้วจะไม่เสียชีวิตหรือไม่ เพราะพอฉีดวัคซีนแล้วไข้ขึ้นก็ไปกระตุ้นทำให้เสียชีวิต จึงตีความ ไม่สามารถสรุปได้ว่าไม่เกี่ยวข้อง และเลือดออกในสมอง 1 ราย


มี 4 รายข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ ไม่ทราบจริง เพราะมีข้อมูล ว่าเสียชีวิตจากอะไร ส่วนใหญ่เป็นกรณีที่เสียชีวิตที่บ้านแต่ไม่มีการชันสูตรจะเผาเลย จึงต้อง ขอร้องญาติว่าต้องขอชันสูตร และรายงานผลชันสูตรเข้ามาส่วนกลาง เพราะถ้าเห็นสัญญาณเตือนมีการเสียชีวิตมากขึ้น จากล็อดใด ชนิดใด โรคอะไร จะได้รีบจัดการลงไปดูละเอียด แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่เจอที่เกี่ยวข้องชัดเจน ส่วนอีก 93 ราย ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน แต่เป็นเหตุการณ์ร่วมจากภาวะโรคร่วม อาทิ โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด 35 ราย เลือดออกในสมอง 14 ราย ภาวะปอดอักเสบรุนแรง 13 ราย ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 6 ราย เลือดออกในช่องท้อง 3 ราย รับประทานเห็ดพิษทำให้ตับวาย 2 ราย และลิ่มเลือดอุดตันในปอด 1 ราย เป็นต้น


“ฉีดไป 13 ล้านโดส สิ่งหนึ่งจะทำ คือ อาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้น อัตราการเกิดก่อนการใช้วัคซีนคืออะไร เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีอัตราการเกิดโรคนี้สูงกว่าเดิมหรือไม่ เท่าที่เบื้องต้น ขณะนี้ยังไม่สูงกว่าเดิม และจะมีการพิจารณาเช่นนี้ในทุกโรค และจับตามองอย่างใกล้ชิ”ศ.พญ.กุลกัญญากล่าว




ศ.นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 นี้ รุนแรงกว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนเมื่อ 100 ปี ก่อน คาดว่า การจะหยุดการระบาดของโควิด ได้ต้องใช้เวลา ประมาณ 3 ปี โดยการหยุดโควิดได้ ต้องอาศัยเรื่องของวัคซีนเป็นหลัก เพราะวัคซีน สามารถลดตาย ลดนอนรพ. ลดการเจ็บปาวยหนัก และ ลดการติดเชื้อให้มีการอาการน้อย หรือเกิดการแพร่เชื้อน้อยลง ซึ่งจะเห็นว่าในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก อย่างอังกฤษ พบว่า อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งต้องมีการลำดับความสำคัญการรับวัคซีนให้ดี โดยผู้ที่ต้องได้รับวัคซีนก่อนเพื่อลดอัตราการตายและเสียชีวิต คือในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ ย้ำปัจจุบันยังไม่มีข้อห้ามในการรับวัคซีนในผู้ป่วยทุกกลุ่ม เพราะวัคซีนออกแบบมาเพื่อให้ปลอดภัย อาการที่เกิดขึ้นจากการรับวัคซีนเป็นส่วนน้อยและไม่นานก็หายได้ ทุกคนควรรับวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นคนป่วยโรคใดก็ตาม หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีระดับภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง ก็ควรรับ