ดัชนีเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ6เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้น

ดัชนีเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ6เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้น

ดัชนีเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนเม.ย.ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาค ผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่ ดัชนีRSIระยะ 6เดือนข้างหน้าบ่งชี้เชื่อมั่นดีขึ้นในหลายภูมิภาค

นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิมหภาค(สศค.)เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ(RSI)ภูมิภาคประจำเดือนเม.ย. 2564 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลัง จังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนี ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า ดัชนีRSI เดือนเม.ย. 2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาค เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)

อย่างไรก็ตาม ดัชนีRSI ยังบ่งชี้ว่า แนวโน้มความเชื่อมั่นในอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือน ข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นได้ในหลายภูมิภาค โดยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 58.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่น เศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม

เนื่องจาก ความต้องการสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นในส่วนของภาคอุตสาหกรรมได้รับปัจจัยบวกจากการเริ่มฉีดวัคซีนที่กระจายตัวในหลายประเทศ ซึ่งคาดว่าจะ ส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย

ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของภาครัฐ ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลาง อยู่ที่ 56.5 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในอนาคตเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรภาคอุตสาหกรรม

เนื่องจากภาคเกษตรได้ปัจจัยบวกจากปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมได้ปัจจัยบวกจากการลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 53.3 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเล็กน้อยใน อนาคต โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจาก ได้รับปัจจัยบวกจากสภาพอากาศที่จะเข้าสู่ ฤดูฝน ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเกษตร นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าทั้งในและต่างประเทศยังมีอยู่ อย่างต่อเนื่อง

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 53.1 แสดงถึงความเชื่อมั่น เศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคการจ้างงาน เนื่องจากเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตร ประกอบกับนโยบายการให้ความช่วยเหลือภาคการเกษตรจากภาครัฐ

ดัชนีความเชื่อมั่น อนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 52.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคการจ้างงาน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร ประกอบกับ การมีมาตรการช่วยเหลือภาคเกษตรจากภาครัฐ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ ภาคตะวันตกอยู่ที่ 52.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก ภาคเกษตรและภาคการจ้างงาน เนื่องจากภาคเกษตรได้รับปัจจัยบวกจากฤดูเพาะปลูก ประกอบกับภาครัฐมีนโยบาย สนับสนุนภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 42.4 แสดงถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตร

ทั้งนี้ ดัชนี < 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ชะลอกว่าปัจจุบัน” ดัชนี = 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นคาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้าต่อภาวการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในระดับ “ทรงตัว”และ > 50 หมายถึง แนวโน้มความเชื่อมั่นดีขึ้น 162104941378