‘BRR’ครึ่งปีหลังพร้อมลุยธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ลั่นปีนี้พลิกมีกำไร

‘BRR’ครึ่งปีหลังพร้อมลุยธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ลั่นปีนี้พลิกมีกำไร

‘น้ำตาลบุรีรัมย์’ ทุ่มงบ600ล้านบาทใน3ปีปั้นธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย เป็นNew-S Curve คาดกลางปีนี้ลุยขยายตลาดต่างประเทศ หนุนปีนี้พลิกกลับมีกำไรจากปีก่อนขาดทุน82ล้านบาท และวางเป้าหมายในปี66มีรายได้โต้เท่าตัวแตะ700ล้านบาท ด้านธุรกิจผลิตน้ำตาล-โรงไฟฟ้าโตต่อเนื่อง ดันรายได้ปีนี้ฟื้นโต10% และกำไรเพิ่มชัดเจน

นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR เปิดเผยว่า สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้บริษัทเปิดตัวธุรกิจกลุ่มบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยอย่างเป็นทางการ ภายใต้ บริษัท ชูการ์เคน อีโคแวร์ จำกัด จะเป็นธุรกิจ New S-Curve มาต่อยอดสร้างความมั่นคงของรายได้ จากการสิ่งที่เหลือจากการปลูกอ้อนและการผลิตน้ำตาลหรือชานอ้อยมาพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ

โดยใช้งบลงทุนรวมทั้งสิ้นราว 600 ล้านบาท เป็นงบลงทุนเพิ่มเติมในปี 2564-2566 ราว 244 ล้านบาท จะผลักดันการสร้างโรงงานเยื่อใหญ่ ผลิตภาชนะบรรจุภัณฑ์สีน้ำตาล เครื่องจักร 14 เครื่องเพิ่มเติม จำนวน 44 ล้านบาทในปี 2564 และเพิ่มเครื่องจักรอีก 14 เครื่อง ขยายกำลังผลิต จำนวน 200 ล้านบาทในปี 2566 ซึ่งงบลงทุนที่เหลือใช้ลงทุนสร้างโรงงานบ้างส่วนไปแล้วก่อนหน้านี้

สำหรับธุรกิจดังกล่าว คาดว่า ในช่วงกลางปีนี้จะเริ่มผลิตเพื่อส่งออกในตลาดต่างประเทศได้ เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ด้วยกำลังการผลิต 300 ล้านชิ้นต่อปี ปัจจุบันได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าโดยเฉพาะสหรัฐ และจำหน่ายผ่านช่องทางโมเดลเทรดในประเทศ ขณะเดียวกันจะต่อยอดพัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ เช่น ภาชนะใส่อาหารแช่แข็ง และขายโนฮาว์ในการพัฒนาไปในตลาดต่างประเทศได้ด้วย ด้วยจุดแข็งเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่าในตลาด ต้นทุนของเยื้อที่ 19,000 -20,000บาท ต่ำกว่าในตลาดอยู่ที่ 28,000 บาทและต้นทุนภาชนะบรรจุภัณฑ์สีน้ำตาลอยู่ที่ 0.4 บาท ถือว่า ต่ำกว่าในตลาดอยู่ที่ 0.6 บาท รวมถึงยังสามารถกำหนดราคาขายที่สูงขึ้นได้ ซึ่งจะทำกำไรได้ดีขึ้น


บริษัทตั้งเป้าหมายธุรกิจผลิตภัณฑ์จากชานอ้อยคาดว่าในปีนี้จะพลิกกลับมาเป็นกำไรเติบโตได้ราว 20% จากปีก่อนขาดทุนอยู่ 82 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ชะลอการส่งออกและปรับโมเดลมาลงทุนโรงงานเยื่อใหญ่ ผลิตภาชนะบรรจุภัณฑ์สีน้ำตาลที่ทำกำไรได้เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีรายได้ที่ 350 ล้านบาทในปี 2565 ซึ่งจะรับรู้รายได้ราว 50% มาก่อนในปีนี้และในปี 2566จะผลักดันรายได้เพิ่มขึ้นเท่าตัวหรืออยู่ที่ 700 ล้านบาท ทำให้เพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจภัณฑ์จากชานอ้อยใน 3 ปีข้างหน้าเป็น 18% จากปัจจุบันยังเป็นสัดส่วนที่น้อยของรายได้รวม

"ธุรกิจภัณฑ์จากชานอ้อย เยื้อสีน้ำตาล ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ มีมูลค่ารวมกว่า 50,000 ล้านบาท มากกว่าในไทยมีมูลค่าเพียง 500 ล้านบาท ดังนั้นจะเน้นทำตลาดส่งออกในต่างประเทศเป็นหลักสัดส่วน 90%ที่เหลือ 10%เป็นในประเทศ"

นายอนันต์ กล่าวว่า ขณะเดียวกันในปีนี้บริษัท ยังมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง รองรับจังหวะราคาตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 16 เซนต์ต่อปอนด์สูงสุดในรอบ 4 ปีหรือเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกหลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทำให้มีความต้องการบริโภคน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้นราว30% สวนทางผลผลิตทั่วโลกลดลงจากปัญหาเอลนีโญ และประเทศผู้ส่งออกเบอร์ 1 อย่างประเทศบราซิล ได้เพิ่มสัดส่วนน้ำตาลไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้นทำให้ซัพพลายในตลาดลดลง

นอกจากนี้ บริษัทพร้อมเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนตามนโยบายภาครัฐ หรือโครงการ Quick Win กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ อีก 1 โรง โดยบริษัทสนใจเข้าประมูลน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงกลางปีนี้ ซึ่งจะใช้งบลงทุนในปีนี้อีกราว 18 ล้านบาท จากปัจจุบันที่บริษัท ได้จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟภ. รวม 16 เมกะวัตต์ ที่ดำเนินการภายใต้กองทุนโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์

ดังนั้น บริษัทตั้งเป้าหมายในปีนี้ คาดว่ากำไรเติบโตชัดเจนมากขึ้นและรายได้รวมกลับมาเติบโต 18% จากในปี 2563 มีพลิกกลับมามีกำไรอยู่ที่ 6.17 ล้านบาทและรายได้อยู่ที่ 3,892 ล้านบาท ลดลง 21.21% โดยมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจผลิตน้ำตลาดถึง 70% อีก 30% มาจากธุรกิจโรงไฟฟ้า ธุรกิจปุ๋ย และธุรกิจผลิตภัณฑ์จากชานอ้อย