บทเรียนพ่ายคา 'เมืองคอน' ปชป.ปรับแผนสู้ เล็งแก้มือ 'ชุมพร'

บทเรียนพ่ายคา 'เมืองคอน' ปชป.ปรับแผนสู้ เล็งแก้มือ 'ชุมพร'

นโยบาย "คนละครึ่ง-เราชนะ-บัตรคนจน" โกยแต้มมากกว่า "ประกันรายได้" แถม "พรรคกล้า"แบ่งฐานเสียง ปรับแผนสู้ ชูผลงานพรรคแก้ทาง

"ชัยชนะ เดชเดโช" ..นครศรีธรรมราช เขต 1ในฐานะผู้อำนวยการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เขตเลือกตั้ง 3 นครศรีธรรมราช ให้สัมภาษณ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงผลเลือกตั้งซ่อม นครศรีธรรมราช เขต 3 ซึ่ง ปชป.เจ้าของพื้นที่เดิมพ่ายให้กับพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง โดย "อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ" จากพรรคพลังประชารัฐ ได้ 48,701 คะแนน เฉือนชนะ "พงศ์สินธุ์ เสนพงศ์" จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ 44,632 คะแนน ไปกว่า 4 พันคะแนน

"ชัยชนะ" บอกว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องผลคะแนนที่เพิ่มขึ้นมาหมื่นคะแนน แต่บทเรียนความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ต้องยอมรับว่าพรรคพลังประชารัฐได้ยกทัพหลวง ตั้งแต่รัฐมนตรี ..มาในพื้นที่เลือกตั้งทั้งหมด โดยสิ่งที่ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ แพ้ไป 4 พันคะแนน เพราะประชาชนพอใจในนโยบายของนายกรัฐมนตรี ทั้งจากโครงการเราชนะ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือโครงการคนละครึ่ง ซึ่งเป็นโครงการที่ถูกใจประชาชนในเรื่องนี้

นอกจากนี้ การที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งมีโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรกร หรือโครงการค่าตอบแทนเยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัยสำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ก็มีประชาชนที่เห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน แต่ต้องยอมรับอีกว่าเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่สุดท้ายผลงานที่ออกมานั้นก็เป็นของรัฐบาลทำให้พรรคพลังประชารัฐได้เปรียบตรงนี้ ไม่ว่าเราจะทำอย่างไร

โดยเฉพาะโครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง หรือโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็มีประชาชนได้การดูแลจากโครงการนี้กว้างกว่าโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรกร ทั้งชาวสวนยาง หรือชาวนา ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์แพ้ไป 4 พันคะแนน

"การเลือกตั้งพื้นที่เขต 3 นครศรีธรรมราชครั้งนี้แตกต่างจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 24 มี..2562 แน่นอน เพราะการเลือกตั้งซ่อมไม่ได้มีจุดเปลี่ยนว่าใครแพ้หรือชนะนายกรัฐมนตรีหรือรัฐบาลจะเปลี่ยนหรือไม่ ทำให้เป็นการเลือกตั้งที่อยู่คนละบริบทเช่นกัน" ผอ.เลือกตั้งซ่อม เขต 3 เมืองคอน ปชป.ระบุ

ส่วนยุทธศาสตร์การรณรงค์หาเสียง หรือการปราศรัยของประชาธิปัตย์ "ชัยชนะ" ยืนยันว่า ทำอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับพรรคการเมืองอื่น เพียงแต่ว่าประชาชนมีความหวังกับโครงการที่นายกรัฐมนตรีดำเนินการที่ผ่านมา

ขณะที่การเลือกตั้งซ่อมที่อาจเกิดขึ้นที่ .ชุมพร นั้น เขาชี้ว่า ประชาธิปัตย์ต้องแก้ปัญหาในเรื่องนโยบายที่ทำอยู่ หรือที่นโยบายแกนนำพรรครัฐบาลทำอยู่ด้วย เพื่อทำอย่างไรให้ประชาชนทราบว่า เป็นผลงานที่พรรคประชาธิปัตย์ทำร่วมกับรัฐบาลเช่นกัน อย่างไรก็ตามในฐานะที่ตนดูแล .นครศรีธรรมราช ไม่มีความหนักใจในการเลือกตั้งใหญ่อีก 2 ปีข้างหน้า เพราะมั่นใจว่าจะนำ ..ของพรรคได้ครบทั้ง 8 คน

ขณะที่แหล่งข่าวจากกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์อีกผู้หนึ่ง เปิดเผยว่า สำหรับการถอดบทเรียนการเลือกตั้งนั้น ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องพื้นที่ และข้อจำกัดของเวลาในการหาเสียงและลงไปทำความเข้าใจกับประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 3 โดยเฉพาะการตั้งเวทีปราศรัย ซึ่งเป็นจุดแข็งของพรรคโดยตลอด แต่การเลือกตั้งครั้งนี้มีเวลาที่จำกัด ทำได้เพียงปราศรัยใหญ่เพียง 2 วันเท่านั้น ในพื้นที่ทั้ง4 อำเภอ และต้องกระจายแกนนำไปในจุดชุมชนต่างๆ

"ส่วนกรณีเสียงสนับสนุน "พรรคกล้า" (กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ซึ่งเป็นอดีตรองหัวหน้า ปชป.) ก็อาจจะเกี่ยวโยงได้ส่วนหนึ่งว่า เป็นฐานเสียงเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ได้มีอะไรบอกได้ว่า โหวตเตอร์ทั้งหมดเลือกจากปัจจัยอะไร

ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นแกนนำพรรครัฐบาล ก็มีกำลังความเป็นพรรคใหญ่มากกว่าพรรคขนาดกลางอย่างประชาธิปัตย์อยู่แล้ว แต่ประชาธิปัตย์จะทำงานหนัก เพื่อเดินหน้าสู้ต่อไป" แหล่งข่าวระบุ

ด้าน "สาทิตย์ วงศ์หนองเตย" ..ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการ "เจาะลึกทั่วไทย inside thailand" ทาง อสมท.ว่า เมื่อแพ้แล้วต้องมองทะลุความแพ้ให้เห็นว่า ปัจจัยมาจากอะไร ความจริงการเลือกตั้งครั้งนี้คนในพรรคหลายคนเห็นสัญญาณนี้มาตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อต้นปี 2562 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ ..ลดลงเหลือ 22 คน จากเดิมที่เคยมี ..ภาคใต้สูงสุด 53 คน เมื่อ ..ลดลงก็เห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงที้เกิดขึ้นแล้วในบริบททางการเมืองภาคใต้ สิ่งหนึ่งที่เรียกร้องพรรคประชาธิปัตย์เร่งรีบในการถอดบทเรียนการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ แต่จากการไปเข้าร่วมรัฐบาลอาจทำให้ไม่มีเวลามาทบทวนบทเรียนในการทำพื้นที่

"เมื่อสังเกตจากแนวทางการหาเสียงในภาคใต้จากการเลือกตั้งซ่อมครั้งที่ผ่านมา ผมเป็นคนหนึ่งไปช่วยปราศรัยอยู่ด้วย มีแนวทางที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก รวมไปถึงการเข้าหาเครือข่ายในพื้นที่เช่นกัน ผมคิดว่าเป็นจุดอ่อนครั้งสำคัญที่ทำให้เราพ่ายแพ้การเลือกตั้งครั้งนี้สาทิตย์ ระบุ

"สาทิตย์" กล่าวอีกว่า ส่วนวิธีการหาเสียงพรรคยังใช้แบบวิธีการเดิมที่เคยใช้ เช่น การจัดรถแห่หาเสียง หรือการจัดปราศรัย แต่ในขณะเดียวการเข้าหากลุ่มต่างๆ เช่นกลุ่มนี้มีปัญหาที่ดินทำกิน หรือมีปัญหาพืชผลทางการเกษตร หากเข้าไปหาคนทุกกลุ่มจะสัมผัสปัญหาได้มากขึ้น ทำให้จุดนี้คิดว่าประชาธิปัตย์ต้องปรับครั้งใหญ่ เพราะตั้งแต่การชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ในปี 2555-2557 การเมืองเปลี่ยนไป โดยมีพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเข้ามา ซึ่งต้องยอมรับว่า พล..ประยุทธ์ขึ้นมาตั้งแต่กปปส.ชุมนุมปี 2556-2557 แล้วคนภาคใต้จำนวนมากก็ไปชุมนุมด้วย ดังนั้น พล..ประยุทธ์ จึงต่างกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นเหมือนฝั่งตรงข้ามของภาคใต้

"เราต้องมองทะลุจุดนี้ มองข้ามความพ่ายแพ้ และอารมณ์ความรู้สึก ต้องมองหาเหตุผลว่าที่พลาดครั้งนี้ไป แล้วพลังประชารัฐบอกว่าไปสนับสนุนพล..ประยุทธ์ แล้วทำไมความรู้สึกผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์ตลอดหลายสิบปี จึงทำให้พล..ประยุทธ์แย่งชิงไปได้ ผมมองว่าจุดนี้เป็นการเข้าถึงมวลชนที่รับรู้ปัญหา เพราะที่ทำมาครั้งที่แล้วได้ผลต้องยอมรับว่าคืออนาคตใหม่ ต่อ 1 เขตได้หมื่นเสียงขึ้นไป เพราะเข้าถึงปัญหาสาทิตย์ กล่าว

161529663346

"สาทิตย์" กล่าวด้วยว่า ส่วนผลสะเทือนจากนโยบายจ่ายเงิน แจกเงินของพล..ประยุทธ์ไปถึงทุกกลุ่ม ขณะที่โครงการประกันรายได้เกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์เข้าถึงเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่เป็นเจ้าของสวนยาง สวนปาล์ม ทำให้ต้องกลับมาทบทวนใหม่ทั้งบริบทว่า ยุทธศาสตร์ในการเดินทั้งภาคและเข้าถึงกลุ่มต่างๆ ควรทำอย่างไร คิดว่าเป็นบทเรียนใหญ่ แล้วครั้งถัดไปที่คิดว่าจะมีการเลือกตั้งที่ .ชุมพร ซึ่งเป็นเมืองเกษตร แม้ว่าฐานเสียงของนายชุมพล จุลใส ..ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ จะหนาแน่นเข้มแข็ง แต่ถ้าเผชิญวิธีการที่พรรคพลังประชารัฐใช้ก็ไม่ง่ายนัก

"คะแนนที่ออกมาแพ้ชนะกัน 3 พันกว่าคะแนนต้องใช้คำว่าสูสีมาก แต่การชนะ 3 พันกว่าคะแนนต้องมีการจัดการพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมองให้ทะลุเข้าไปแล้วกระแสความนิยมในตัว พล..ประยุทธ์ หรือนโยบายที่จ่ายผ่านเราชนะ หรือโครงการต่างๆ มีผลมากจึงต้องไปหาคำตอบว่าคนอีกจำนวนมากก็ยังผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าพูดกันตรงๆ จะทำมาหากินกับบุญเก่าคงไม่ได้ ต้องสร้างใหม่ แล้วพรรคต้องยอมรับว่าบริบททางการเมืองต่อผู้นำทัพ และขุนพลในภาคใต้เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่สาทิตย์ ระบุ

"สาทิตย์" กล่าวอีกว่า จากเดิมที่พรรคประชาธิปัตย์มีนายชวน หลีกภัย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี นายอาคมเอ่งฉ้วน เคยออกโรงแต่วันนี้เราเหลือใครที่เป็นคนชูโรงให้คนภาคใต้ เพราะฉะนั้นต้องปรับฐานใหญ่พอสมควร ส่วนการตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลก็มีส่วนแน่นอน เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ใช่พรรคแกนนำ ดังนั้นเมื่อทำอะไรไปคนที่เป็นพรรคแกนนำย่อมจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนั้น แล้วคนใต้ชอบการต่อสู้ทางการเมืองที่เข้มข้นก็ต้องยกประเด็นการเมือง ดังนั้นต้องขับเคลื่อนในประเด็นการเมืองที่เข้มข้นด้วย

ผู้ดำเนินรายการถามว่า การที่ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐขึ้นปราศรัยด้วยนั้น แต่ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีลูกกระตุกอารมณ์อะไร จะมีส่วนถึงผลการเลือกตั้งด้วยหรือไม่ "สาทิตย์" ระบุว่า ตนอยู่บนเวทีปราศรัยใหญ่ในวันศุกร์ด้วย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์จัดปราศรัย 2 ที่ใน .จุฬาภรณ์ และ .ชะอวด ส่วนพลังประชารัฐจัดที่เดียว ต้องยอมรับว่าที่พรรคประชาธิปัตย์จัดปราศรัยเพราะขาดแม่เหล็ก และยุทธศาสตร์หาเสียงก็ไม่ได้กระชากใจเขา แต่ขณะที่พลังประชารัฐต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่ของคนทางนั้นที่คนที่เคยเห็นแต่ในทีวีมาปรากฏตัว อาจดูอึกทึกครึกโครม

"แต่ฝั่งพลังประชารัฐกับผู้ที่มาปราศรัยก็ใช่ว่าจะเป็นแม่เหล็กทั้งหมด แต่เขาก็มีการจัดการพิเศษผ่านเครือข่ายกลไกอำนาจรัฐต่างๆต้องยอมรับว่าสิ่งนี้คนในพื้นที่เขาก็รับรู้อยู่ด้วย ซึ่งในยุคคุณทักษิณ ก็เคยใช้เครือข่ายอำนาจรัฐ แต่ครั้งนี้ทำไม่ได้ผล เพราะว่าใจที่มีให้กันตอนนั้น 100% แต่ใจตอนนี้ 100% แบบนั้นหรือเปล่า เมื่อผลการเลือกตั้งที่ชี้ออกมา จะเติมใจต่อใจกลับมาให้ 100% ต้องทำอย่างไร ต้องตอบตรงนี้ให้ได้สาทิตย์ กล่าว