บอร์ดเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ไฟเขียวดึงเอกชนร่วมลงทุนผลิต-ขาย ยุทโธปกรณ์

บอร์ดเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ไฟเขียวดึงเอกชนร่วมลงทุนผลิต-ขาย ยุทโธปกรณ์

บอร์ดเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ไฟเขียวสถาบันป้องกันประเทศเดินหน้าร่วมทุนเอกชนพีพีพีพัฒนาอาวุธนำร่อง 4 จาก 9 ประเภท ทั้งเรือตรวจไกลฝั่ง อากาศยานไร้คนขับ รถยางหุ้มเกราะ 4คูน4 /อาวุธปืนและเครื่องกระสุน หนุนตั้งนิคมที่กาญจนบุรี เตรียมหารือบีโอไอขอสิทธิประโย

พล.อ.พอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานว่าที่ประชุมฯเห็นชอบส่งเสริมให้มีการผลิตและขายยุทโธปกรณ์โดยส่งเสริมให้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) โดยเป็นการนำร่องใน 4 เทคโนโลยีจาก 9 เทคโนโลยีที่ภาครัฐจะมีการสนับสนุนตาม พ.ร.บ.เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.2562 ประกอบไปด้วย 

1.โครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) 2.โครงการยานเกราะล้อยาง 4 คูน 4 3.โครงการอากาศยานไร้คนขับ (UAV) และ4.โครงการผลิตอาวุธปืนและกระสุนปืน 

ทั้งนี้การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นไปในลักษณะเปิดกว้างให้มีการร่วมลงทุนระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการนำเข้าเทคโนโลยีและสินค้าตามเป้าหมายจากต่างประเทศรวมทั้งผลิตเพื่อส่งออกโดยตั้งเป้าที่จะส่งออกไปยังประเทศต่างๆในอาเซียนก่อนเป็นลำดับแรก 

161183669481

โดยในระยะแรกการลงทุนร่วมกับเอกชนจะเป็นไปในลักษณะการสนับสนุนการผลิต รวมถึงการวิจัยเทคโนโลยีในพื้นที่การผลิตของภาคเอกชนหรือพิจารณาจากพื้นที่ที่เอกชนมีอยู่แล้วต้องการที่จะมีการผลิตเทคโนโลยีที่ภาครัฐสนับสนุนก็สามารถที่จะติดต่อเข้ามาเพื่อเสนอโครงการที่จะร่วมมือกับสถาบันฯได้ 

สำหรับโครงการในระยะต่อไปที่จะมีการส่งเสริมการผลิตในประเทศเพิ่มเติม เช่น โครงการจรวดเพื่อความมั่นคง โครงการยานเพราะล้อยาง 8 คูน 8 โครงการปืนใหญ่และกระสุน และโครงการซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหาร เป็นต้น 

พล.อ.พอพล กล่าวต่อว่า การตั้งนิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ปัจจุบันมีโครงการที่จะจัดตั้งขึ้นที่ บริเวณหนองกระทุ่ม​ ต.หนองกุ่ม​ อ.บ่อพลอย​ จ.​กาญจนบุรี​ โดยมีเนื้อที่​ 3,500 ไร่​ โดย​พื้นที่​ดังกล่าว​มีความพร้อมเนื่องจากเป็นที่

ราชพัสดุแต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจัดทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ซึ่งยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน 

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้จะมีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อกำหนดสิทธิประโยชน์การลงทุนในพื้นที่นี้เมื่อมีความชัดเจนและมีการก่อสร้างนิคมฯแล้วเสร็จจะสามารถดึงดูดการลงทุนของภาคเอกชนในการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวได้ทันที

161183671519

โดยปัจจุบันในพื้นที่ดังกล่าวคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐประจำประเทศไทย(จัสแมกไทย)ได้พร้อมจะให้การสนับสนุนในโครงการนี้ด้วยเพื่อให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนไทยและต่างประเทศในพื้นที่ดังกล่าวในอนาคต

ส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)นั้นมีสิทธิประโยชน์รองรับไว้แล้ว แต่ต้องดูความเหมาะสมและความพร้อมของสถานที่ในการลงทุนด้วย 

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับระดับของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในโลกแบ่งเป็น Tier 1 สมบูรณ์แบบ คือสามารถพัฒนาองค์ความรู้ถึงระดับสูงสุด เช่น สหรัฐ รัสเซีย จีน ยุโรปตะวันตก

Tier 2 ไม่สามารถพัฒนาต่อได้ คือ ข้อจำกัดบางประการ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง เช่น เกาหลีใต้ อินเดีย บราซิล สิงคโปร์ แคนาดา แอฟริกาใต้ และTier 3 ผลิตได้เพียงบางส่วน คือ ซ่อมบำรุงและสร้างยุทโธปกรณ์บางประเภท เช่น ไทย

161183673214