เมื่อ 'ผู้ก่อการร้าย' ระดมทุน 'สกุลเงินดิจิทัล'

เมื่อ 'ผู้ก่อการร้าย' ระดมทุน 'สกุลเงินดิจิทัล'

คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีความห่วงกังวลถึงสถานการณ์ผู้ทำผิดกฎหมายจะหาทางขยายประโยชน์จากสกุลเงินดิจิทัล ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากสหรัฐยึดเงินดิจิทัลได้จากกลุ่มก่อการร้าย

สหรัฐประกาศเมื่อ ส.ค.2563 ว่าได้ยึดเงินดิจิทัลมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย 3 กลุ่ม โดย ฮามาส (Hamas) อัลกออิดะห์ หรืออัล-ไคดา (Al-Qaeda) และกลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State) เดิมคือ ISIS มีประวัติเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางไซเบอร์

ขณะที่คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force on Money Laundering : FATF) เน้นย้ำถึงความกังวลว่าผู้ทำผิดกฎหมายจะหาทางขยายประโยชน์จากทรัพย์สินเสมือนจริง หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า “สกุลเงินดิจิทัล” ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามผู้ก่อการร้ายที่พยายามหาประโยชน์จากสกุลเงินดิจิทัล

(ทั้งนี้ Cryptocurrency คือ “สินทรัพย์ดิจิทัล” (Digital Asset) ประเภทหนึ่ง หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า “สกุลเงินดิจิทัล” เนื่องจากไม่มีลักษณะทางกายภาพที่จับต้องได้แบบเดียวกันกับสกุลเงินทั่วไป เช่น ดอลลาร์หรือเงินยูโร โดยทั่วไป Cryptocurrency ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมหรือจัดการโดยหน่วยงานทางการเงินหรือธนาคารใดๆ เหมือนสกุลเงินแบบดั้งเดิม แต่เป็นการ “ควบคุมด้วยตนเอง” ผ่านการใช้เทคนิคการเข้ารหัสที่มีความซับซ้อนและหลากหลายรูปแบบ

นอกจากนี้ผู้ใช้ภายในเครือข่ายจะมีส่วนร่วมกันทั้งระบบในกระบวนการขับเคลื่อนของสกุลเงินดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นลักษณะของการ “ยืนยันธุรกรรม” ของผู้ใช้ในเครือข่ายสกุลเงินดิจิทัลให้แก่กันและกัน สืบค้นที่ https://admiralmarkets.com/th/education/articles/cryptocurrencies/trading-cryptocurrency-guide)

ไม่บ่อยครั้งนักที่จะมีตัวอย่างเอกสารเกี่ยวกับการถือครองสกุลเงินดิจิทัลของผู้ก่อการร้าย โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ก่ออาชญากรรม แต่ในปี 2562 ที่ผ่านมากลุ่มผู้ก่อการร้ายมุ่งแสวงหาและเก็บความมั่งคั่งในสกุลเงินเสมือนจริงเช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดย ส.ค.2563 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DOJ) ประกาศว่าได้ยึดเงินจำนวนหลายล้านดอลลาร์ในบัญชีสกุลเงินดิจิทัลมากกว่า 300 บัญชีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรก่อการร้ายต่างประเทศ (FTO) ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าว

ในปี 2562 ปีกทหารของฮามาสได้เริ่มรณรงค์ระดมทุนออนไลน์ในสกุลเงินดิจิทัล โดยใช้สื่อสังคมเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริจาคโดยไม่เปิดเผยตัวตน ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่ว่าการไม่เปิดเผยตัวตนมักเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกชื่อผิด แผนการของฮามาสถูกเปิดเผยโดยมีบัญชีสกุลเงินดิจิทัล 150 บัญชีถูกยึด

สำหรับอัลกออิดะห์ก็ใช้สื่อสังคมเป็นเครื่องมือดึงดูดความสนใจของผู้บริจาคเพื่อสนับสนุนกิจกรรมในซีเรีย DOJ ได้ยึดบัญชีสกุลเงินดิจิทัลของอัลกออิดะห์มากกว่า 100 บัญชี ทั้งฮามาสและอัลกออิดะห์สนใจสกุลเงินดิจิทัลก่อนการประกาศของ DOJ แต่กระแสการระดมทุนดิจิทัลได้รับความสนใจน้อยกว่าแหล่งเงินทุนอื่นๆ กลุ่มไอเอสมีส่วนเกี่ยวข้องในประกาศของ DOJ เช่นเดียวกับฮามาสและอัลกออิดะห์

บุคคลที่เชื่อมโยงกับแผนการสกุลเงินดิจิทัล ISIS ไม่ใช่คนหน้าใหม่ ในปี 2560 Zoobia Shahnaz ให้เงินจำนวน 85,000 ดอลลาร์แก่ ISIS โดยใช้บัตรเครดิตวงเงินสูงสุดซื้อบิทคอยน์ จากนั้นแปลงให้เป็นเงินสด เพื่อทำให้ธุรกรรมของเธอดูคลุมเครือ สองปีก่อนหน้านั้น Shahnaz Ali Shukri Amin สารภาพว่าให้การสนับสนุนไอเอส โดยแสดงให้ผู้คนเห็นวิธีการรับและส่งบิทคอยน์ไปยังกลุ่ม

ความพยายามใช้สกุลเงินดิจิทัลล่าสุด Murat Cakar แฮ็กเกอร์ของไอเอส (ซึ่งเชื่อมโยงกับ Shahnaz) ได้สร้างเว็บไซต์หาเงินจากการขายอุปกรณ์ป้องกันตัว (PPE) รวมทั้งหน้ากาก N95 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความยากลำบากในการจัดหาเงินทุน ใน ส.ค.2563 กลุ่มผู้ก่อการร้ายจึงเริ่มหาทางถือครองทรัพย์สินเสมือนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเอสมีแนวโน้มพยายามสะสมความมั่งคั่งผ่านปฏิบัติการทางไซเบอร์ ซึ่งบางส่วนอาจเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล

เมื่อ พ.ค.2563 FATF ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศได้เน้นย้ำถึงความเป็นไปได้ที่ผู้ก่อการร้ายสนใจสกุลเงินดิจิทัล โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจนำไปสู่การ “การใช้บริการทางการเงินและทรัพย์สินเสมือนจริงออนไลน์ในทางที่ผิดเพิ่มขึ้น เพื่อปกปิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนผิดกฎหมาย”

หลังการประกาศของ DOJ ไม่ถึงเดือน FATF ได้เผยแพร่รายงานอีกฉบับเกี่ยวกับตัวชี้วัดธงแดง โดยสังเกตว่านักการเงินและนักฟอกเงินของผู้ก่อการร้ายอาจใช้ทรัพย์สินเสมือนจริง โดยมีข้อบ่งชี้จากรูปแบบการทำธุรกรรมไม่ซ้ำกันไปจนถึงข้อมูลความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงการใช้สินทรัพย์เสมือนจริงในทางที่ผิด

สำหรับหน่วยข่าวกรองทางการเงิน ผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือนจริงและสถาบันการเงิน เครื่องชี้วัดเหล่านี้ให้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการต่อต้านการใช้สกุลเงินดิจิทัลของผู้กระทำผิดกฎหมายหลายกลุ่ม แม้จะมีแนวทาง FATF และประกาศ DOJ สหรัฐใน ส.ค.2563 เพื่อยึดและริบทรัพย์สินทางการเงินของกลุ่มฮามาส กลุ่มอัลกออิดะห์ และกลุ่มรัฐอิสลาม แต่ผู้ก่อการร้ายก็มีแนวโน้มที่จะสะสมและจัดเก็บความมั่งคั่งในสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้น

มีแนวโน้มว่าโลกยังจะยังคงพึ่งพาการดำเนินธุรกิจในแบบ “เสมือนจริง” ต่อไป แม้มีการแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตลอดปี 2564 การที่ผู้บริโภคใช้สกุลเงินดิจิทัลมากขึ้นในชีวิตประจำวัน โอกาสของผู้ก่อการร้ายก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องปกปิด (cover) และซ่อนเร้น (concealment) ท่ามกลางปริมาณการทำธุรกรรมโดยรวมที่เพิ่มขึ้น

การลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลสำหรับกลุ่มก่อการร้ายย่อมมีความเสี่ยงจากความผันผวน ในอดีต ณ วันที่ 4 ธ.ค.2563 ราคา 1 บิทคอยน์มีมูลค่ามากกว่า 19,000 ดอลลาร์เทียบกับมูลค่าประมาณ 7,000 ดอลลาร์ในช่วงต้นปี เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเราสามารถหา 1 บิทคอยน์ในราคา 30 เซ็นต์ จึงเป็นไปได้มากที่นักการเงินของผู้ก่อการร้ายจะได้รับผลกำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์เสมือนจริง

มูลค่าบิทคอยน์พังทลายหลายครั้ง ที่เป็นข่าวดังมากที่สุดช่วงสามวันในปี 2556 มูลค่าสินทรัพย์เสมือนลดลงมากกว่าร้อยละ 87 ความไม่แน่นอนและการถอดรหัสรวมทั้งเหรียญ (coin) ที่เรียกว่า Monero, ZCash และ Dash ทำให้เกิดความเสี่ยงสำหรับผู้ก่อการร้ายที่พึ่งพาทรัพย์สินเสมือนจริง

ปัจจุบันบริษัทเอกชนมีบทบาทช่วยเหลือรัฐบาลสหรัฐติดตามการทำธุรกรรมทรัพย์สินเสมือนของผู้ก่อการร้าย แสดงให้เห็นถึงอนาคตของการต่อสู้กับการจัดหาเงินทุนของกลุ่มก่อการร้ายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการฟอกเงิน ผู้สนใจเรื่องนี้ดูเอกสารวิจัยของบริษัท RAND เพิ่มเติม (www.rand.org/content/dam/rand/pubs/research_reports/RR3000/RR3026/RAND_RR3026.pdf)