นายกฯมอบนโยบายส่วนราชการจัดทำงบประมาณ 2565 กรอบ 3.1 ล้านล้าน เน้นความคุ้มค่า-ลดรายจ่ายไม่จำเป็น

นายกฯมอบนโยบายส่วนราชการจัดทำงบประมาณ 2565 กรอบ 3.1 ล้านล้าน เน้นความคุ้มค่า-ลดรายจ่ายไม่จำเป็น

นายกฯมอบนโยบายจัดทำงบประมาณ65 3.1 ล้านล้านชี้ความจำเป็นขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อดูแลเศรษฐกิจ และผลกระทบจากวิด-19 จัดเก็บรายได้ปี 65 คาดลดลงจากปี 64 อีกกว่า 2.7 แสนล้าน ขอให้ส่วนราชการดำเนินการ 4 ข้อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ทำคำขอส่งสำนักงบฯ15 ม.ค.นี้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 วันนี้ (11ม.ค.) ว่า แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายฯปี 2565มีความต่อเนื่องจากงบประมาณประจำปี 2564 โดยยังคงเป็นงบประมาณแบบขาดดุลที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อวินัยทางการเงินการคลัง แต่การขาดดุลงบประมาณจะทำให้ประเทศก้าวพ้นจากวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและฟื้นฟูให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้ตามปกติตามศักยภาพ

ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ม.ค.2564 เห็นชอบกรอบงบประมาณฯ2565 จำนวน 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากงบประมาณปี 2564 1.859 แสนล้านบาท เนื่องจากข้อจำกัดในการจับเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี 2565 ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากการจัดเก็บรายได้ในปี 2564 ประมาณ 2.77 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 และการดำเนินการด้านภาษีของรัฐบาลที่จะต้องชะลอการดำเนินมาตรการทางด้านภาษีของรัฐบาลหลายมาตรการภายใต้แผนการปฏิรูปภาษี ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทำให้การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน  9.1 หมื่นล้านบาท

จากวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการทั้งหลายดำนินการใน 4 เรื่องคือ 1. บริหารงบประมาณรายจ่ายประจำอย่างประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และสอดคล้อง กับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยการน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน ให้มากขึ้น เช่น การประชุม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ทางออนไลน์และรายจ่ายประจำที่ยังไม่มีความจำเป็น เร่งด่วน สามารถชะลอการดำเนินการออกไปได้ ขอให้ชะลอไปก่อน นอกจากนั้น ควรประเมินผลสำเร็จ ของการดำเนินงานว่าสามารถส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดได้มากน้อยเพียงใด หากแผนงาน/ โครงการใดไม่สามารถก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดได้ก็ควรยกเลิก เพื่อนำงบประมาณไป ดำเนินการในแผนงาน/โครงการอื่นต่อไป

2.ให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุและคนพิการ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ ในการด ารงชีวิต และลดความเสี่ยงจากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังบุคคลอื่นและชุมชน

161033199821

3.ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจ การจัดบริการสาธารณะ ลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และประสิทธิผลของการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

และ 4.จัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยหน่วยรับงบประมาณที่มีเงินนอกงบประมาณ ต้องพิจารณานำเงินดังกล่าว เช่น เงินรายได้ เงินสะสมคงเหลือ มาใช้ในการดำเนินภารกิจของหน่วยงาน เป็นลำดับแรก ควบคู่กับการพิจารณาทบทวนเพื่อชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่มีความสำคัญ ในระดับต่ำหรือหมดความจำเป็น รวมทั้งต้องพิจารณาแหล่งเงินอื่นในการดำเนินโครงการลงทุน เช่น การร่วมลงทุน ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณภายใต้ข้อจำกัด ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายของประเทศ และทำให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ประเด็นสำคัญในการจัดทำคำของบประมาณปี พ.ศ. 2565 รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับประเด็นการพัฒนาตามแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ 4 ประเด็น ที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อให้สามารถรับมือและเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ประกอบด้วย

1.การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) โดยส่งเสริมการจ้างงาน ทั้งการจ้างงานใหม่ในพื้นที่ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ รักษาการจ้างงานในสาขา ที่ได้รับผลกระทบ และการสร้างงานที่สอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจในอนาคต -การช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพ SME แก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ส่งเสริมการปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ สนับสนุนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน/เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ และปรับโครงสร้างปัจจัยแวดล้อม - การกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังเมืองหลักและเมืองรอง ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ สร้างตำแหน่งงานในภูมิภาค และสร้างจุดเด่นทางเศรษฐกิจของแต่ละภาค/กลุ่มจังหวัด

2.การยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ครบวงจร โดยขยายช่องทางการตลาด แพทย์แผนไทย/ปัจจุบัน ยกระดับคุณภาพสินค้า บริการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และเน้นคุณภาพ โดยส่งเสริมการลงทุนและรูปแบบ การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเมืองรองและท้องถิ่น - การยกระดับภาคการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง โดยสร้างแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล พัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหาร โดยส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งเสริมผู้ประกอบการ ปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ การปรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ โดยสนับสนุนการปรับตัว ของผู้ประกอบการ/แรงงาน และช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

3.การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) โดยการยกระดับ ปรับทักษะ และส่งเสริมการเรียนรู้โดยส่งเสริมแรงงานให้ได้รับการฝึกอบรมทักษะ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานโดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ส่งเสริมการเข้าถึง เทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของแรงงาน -การขยายและพัฒนาระบบหลักประกันทางสังคม โดยช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยคนยากจน/ กลุ่มเปราะบาง ผลักดันแรงงานให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม พัฒนาระบบช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคม - การเสริมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ โดยพัฒนาระบบปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะ ภูมิคุ้มกันร่างกาย/จิตใจ กระจายบริการสาธารณสุข และปฏิรูประบบ ประกันสุขภาพ

และ 4.การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) โดย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ โดยพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัล และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์  การปรับปรุงกฎหมายและส่งเสริมภาครัฐดิจิทัล

โดยปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลแบบบูรณาการ น าเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการประชาชน และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ  การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม โดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ภาคการผลิตเป้าหมาย และแก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรค การเสริมสร้างความมั่นคงและการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูล ในการบูรณาการระบบการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการความเสี่ยงในพื้นที่ และส่งเสริมให้ครัวเรือนบริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ -การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีการพัฒนา โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วม ของ อปท. ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคส่วนอื่น ๆ ในการพัฒนาประเทศ ตามแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ

สุดท้ายนี้ ขอให้หน่วยรับงบประมาณ น าประเด็นสำคัญทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้ว มาใช้ประกอบ การจัดทำคำขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และจัดส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 15 มกราคม 2564