แผนรับแรงเหวี่ยง “เบร็กซิท” เร่งเจรจาเอฟทีเอทั้งยุโรปและยูเค

แผนรับแรงเหวี่ยง “เบร็กซิท” เร่งเจรจาเอฟทีเอทั้งยุโรปและยูเค

หลังสหราชอาณาจักร (ยูเค)และสหภาพยุโรป (อียู) สามารถเจรจาสรุปความตกลงทางการค้าหลัง Brexit (A post-Brexit trade deal) หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันมากว่า 4 ปีครึ่ง ในช่วงบ่ายวันที่ 24 ธ.ค. 2563

หลังสหราชอาณาจักร (ยูเค)และสหภาพยุโรป (อียู) สามารถเจรจาสรุปความตกลงทางการค้าหลัง Brexit (A post-Brexit trade deal) หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันมากว่า 4 ปีครึ่ง ในช่วงบ่ายวันที่ 24 ธ.ค. 2563  ซึ่งเหลือเพียง 7 วันก่อนที่จะสิ้นสุด Transition period  ในวันที่ 31 ธ.ค.2563  สาระโดยสรุปข้อตกลง ด้านการค้า Brexit trade deal จะทำให้ไม่มีการกำหนดภาษีระหว่าง ยูเคและอียูจะไม่มีมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน (No tariff and no NTBs) และยูเค ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของอียูด้วย

อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมได้ประเมินโยบายและมาตรการทางการของยูเคที่จะส่งผลต่อการส่งออกของไทยภายหลังเบร็กซิท คือ 1.ยูเคจะกเลิกภาษีศุลกากรที่เก็บกับสินค้านำเข้าคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 48% ของรายการสินค้าทั้งหมด ซึ่งประเทศที่ยังไม่มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับยูเค รวมถึงไทยจะได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว

2. ยูเคจะดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 2-10% เป็นสัดส่วน 30% ของรายการสินค้าทั้งหมด 3. ยูเคยังคงเก็บภาษีนำเข้า 12-70% กับสินค้าประมาณ 10% ของรายการสินค้าทั้งหมด และ 4.ยูเคจะช้มาตรการภาษีเฉพาะหรือกำหนดโควตานำเข้า กับสินค้าประมาณ 10% ของรายการสินค้าทั้งหมด 

“จะเห็นว่ายังมีสัดส่วนกลุ่มสินค้าที่ไทยจะเสียเปรียบประเทศที่มีเอฟทีเอกับยูเค เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ อยู่อีกจำนวนหนึ่งดังนั้น เพ่ื่อไม่ให้เสียโอกาสทางการค้าทั้งในตลาดยูเคเอง และตลาดอียู การทำเอฟทีเอกับทั้งสองฝ่ายจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในขณะนี้ ”

160912837533

สำหรับความคืบหน้าการทำเอฟทีเอกับอียู ล่าสุด เตรียมเสนอกรอบเจรจาให้จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณา ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จากนั้นเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติให้ไทยไปเจรจากับอียูต่อไป คาดว่าน่าจะเป็นช่วงต้นปี 2564

ส่วนคืบหน้าการเตรียมเข้าสู่การทำเอฟทีเอไทย-ยูเคอยู่ระหว่างการหารือกับยูเคเพื่อจัดทำรายงานการทบทวนนโยบายการค้าร่วม (Joint Trade Policy Review) และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) กับยูเค ในระดับรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นเวทีหารือส่งเสริมความร่วมมือและแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และ ยังได้มอบให้บริษัท โบลลิเกอร์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด) ศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำเอฟทีเอระหว่างไทยและยูเค ตลอดจนจัดรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอระดับนโยบายพิจารณาตัดสินใจในเรื่องการเจรจาเอฟทีเอกับยูเคต่อไป

พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า( สนค.) กล่าวว่า ผลการเจรจาเบร็กซิทนี้ทำให้บรรยากาศการค้าและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศผ่อนคลายมากขึ้น กรณีนี้จะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยจะช่วยบรรเทาปัญหาศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดโควิด-19

คาดว่าภายหลังเบร็ทซิท นโยบาย Global Britain ของยูเค นั้นจะให้ความสำคัญในการดำเนินการความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่และมีมุมมองบวกต่อเอเชีย เนื่องจากล็งเห็นความสำคัญของอินโด-แปซิฟิก ในการเป็นโอกาสในการสร้างความเติบโตให้แก่หลายภาคส่วนของประเทศ ซึ่งไทยและอินโดนีเซียเป็นที่เป้าหมายสำคัญที่ยูเค ต้องการทำเอฟทีเอ ด้วย และนโยบาย UK Global Champion on Free Trade มุ่งที่จะจัดทำเอฟทีเอกับประเทศคู่ค้าให้ครอบคลุมสัดส่วนการค้าสหราชอาณาจักรให้ได้ถึง 80 % ในระยะเวลา 3 ปี

"ผลกระทบของเบร็กซิทต่อการค้าระหว่างไทยกับยูแคและอียู คือการส่งออกสินค้าของไทยไปยูเคจะได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด เพียง 1.1% แต่จะมีผลกระทบทางอ้อมด้วย จากรายได้ที่ลดลงของประเทศที่มีการเชื่อมโยงทางการค้ากับยูเค"

สุภาวดี แย้มกมล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ( สคต.) ณ กรุงลอนดอน (ทูตพาณิชย์)  เผยว่า สินค้าจากประเทศคู่ค้านอกยุโรปรวมถึงไทย ส่งไปยูเคจะเสียภาษีต่ำกว่าสินค้าที่ส่งไปยุโรปซึ่งเป็นผลดีต่อไทยและเบร็กซิทยังส่งผลให้ยูเค สามารถเจรจาความตกลงทางการค้ากับประเทศคู่ค้านอกอียูได้ โดยที่ผ่านมายูเคมีข้อตกลงทางการค้าหลายฉบับ ครอบคลุมการค้ากับประเทศคู่ค้ากว่า 50 ประเทศ โดยในอาเซียนก็ได้สรุปเอฟทีเอกับสิงคโปร์และเวียดนาม

"ในส่วนของไทยนั้น อยู่ระหว่างเจรจาจัดทำ Joint Trade Review คาดว่าจะสรุปได้ ก.พ. 2564 โดยจะเป็นแนวทางส่งเสริมความสัมพันธ์ทางธุรกิจการค้าระหว่างกัน และอาจต่อยอดไปถึงการเจรจาเอฟทีเอต่อไป"

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไทยควรเร่งเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ทั้งกับยูเคและอียู ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็กำลังเร่งเจรจา และเอกชนก็อยากให้เกิดขึ้น เพราะเอฟทีเอไทย-อียู ไทยจะได้ประโยชน์ และอังกฤษก็น่าจะเปิดโอกาสให้ไทยคุยเรื่องเอฟทีเอได้ง่ายขึ้น การที่ยูเคออกจาก อียู น่าจะเป็นผลบวกกับไทยที่ทำให้เจรจาทั้งกับอังกฤษ และอียูได้ดีขึ้น

 โดยรัฐบาลควรเร่งเจรจาขอตกลงเหล่านี้ให้เร็วที่สุด เพื่อชะลอความเสียเปรียบการด้านการค้า และการดึงดูดการลงทุนกับประเทศคู่แข่งในอาเซียน รวมทั้งไทยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว จะเจรจาได้ง่ายขึ้นไม่ติดข้อจำกัดของอียู และการค้าระหว่างไทยกับอียูก็ใหญ่พอสมควร ก็จะต้องพึ่งพาอาศัยกันจะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

“ในภาวะโควิด ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปที่เศรษฐกิจได้รับความเสียหายมาก ทำให้ต้องเร่งเปิดตลาดค้าขายกับภูมิภาคอื่นโดยเฉพาะอาเซียนที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ทำให้การเจรจาเปิดเอฟทีเอกับทั้งอังกฤษ และยุโรปได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่าย”

สำหรับ10 เดือนแรกของปี 2563 ารค้าไทยกับยูเค มีมูลค่า 4,104 ล้านดอลลาร์หรือ 1.1% ของการค้าไทยทั้งหมดของไทย โดยไทยส่งออกมูลค่า 2,578 ล้านดอลลาร์หรือ 1.3% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และไทยนำเข้า 1,529 ล้านดอลลาร์หรือ 0.9% ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า1,052 ล้านดอลลาร์