หลักสูตร DIPS สร้างนักนวัตกรรมตอบโจทย์ยุคดิจิทัล

หลักสูตร DIPS สร้างนักนวัตกรรมตอบโจทย์ยุคดิจิทัล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงเข้ามามีอิทธิพลต่อกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น

บทบาทครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่ก่อนเริ่มกระบวนการออกแบบ การผลิต และต่อเนื่องไปจนกระทั่งถึงประสบการณ์ผู้ใช้ ดังนั้นการผลิตนักศึกษาในรูปแบบเดิม จึงไม่สามารถตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจ และสังคมและการใช้ชีวิตในอนาคต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงพัฒนาหลักสูตร Design Innovation Practice School (DIPS) หรือ นวัตกรรมการออกแบบ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากการเรียนการสอนและการเรียนรู้ในห้องเรียนสู่Platform การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (The Experiential Learning Platform) ซึ่งเป็น Platform การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการออกแบบผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์จริง โดยเปิดรับนักศึกษาใหม่แล้ว จะเริ่มเรียนในปีการศึกษา2564  

160890147349

เดิมการผลิตนักศึกษาก็เพื่อจบออกไปประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่ง แต่หลักสูตรรูปแบบใหม่ DIPS นี้ นักศึกษาเมื่อเรียนจบไปแล้ว จะมีทักษะที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง จากการการทำงาน และมีความสามารถในการเป็น Innovation Creator ที่พร้อมจะสามารถประกอบอาชีพใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรเขาก็จะปรับตัวเข้ากับอาชีพใหม่ได้ผศ.พรยศ ฉัตรธารากุล อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าว

ผศ.พรยศ อธิบายว่า เพราะโลกเทคโนโลยีเปลี่ยนทุกอย่าง การเรียนการสอนแบบเดิมไม่เพียงพอ เช่น เมื่อก่อนเรียนโปรแกรม Industrial Design คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม เช่นออกแบบเฟอร์นิเจอร์ แก้วน้ำ จาน ชาม แต่วันนี้การออกแบบ เป็นเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ขอบเขตของงานออกแบบและนวัตกรรมขยายใหญ่ขึ้นเป็นอย่างมาก รวมถึงต้องมีการผสานองค์ความรู้ด้านต่าง เข้ามาใช้ในการสร้างนวัตกรรม

เป็นที่มาของคำว่า Design Innovation ที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งโฟกัสการส่งเสริมให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานระดับสากล ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้าน Solution, Service, Product, Digital Platform รวมถึง Protocol ต่าง ได้ ขณะเดียวกันการออกแบบยังต้องมองให้ครอบคลุมถึงการแก้ไขปัญหาให้กับสังคม หรือองค์กรนั้นๆ ด้วย นักศึกษาที่จบไปสามารถทำงานได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนการทำงานได้ตามสถานการณ์เพราะเขาเป็น Creative Innovator

160890153155

หลักสูตร DIPS เป็นความร่วมมือกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมทั้งด้าน ผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยี และ Digital Platform อาทิ Jacob Jensen Design จากประเทศเดนมาร์ก และ DeTao Masters Academy ในประเทศจีน ตลอดจนบริษัทชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาในหลักสูตร DIPS จะไปเรียนรู้  ทำงานอยู่ในบริษัทเหล่านี้ ตั้งแต่ชั้นปี 1 จนกระทั่งเรียนจบ

บริษัทพันธมิตรที่ร่วมมือกับ มจธ. มีความโดดเด่นในแต่ละธุรกิจ อาทิ JACOB JENSEN DESIGN STUDIO (JJD) เป็นสตูดิโอออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากบริษัทประเทศเดนมาร์ก มีความเชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์, DeTao Masters Academy ที่ มจธ.ได้มีความร่วมมือด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ใน Studio ระดับโลก ที่ตั้งอยู่ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน นอกจากนี้ มจธ. ยังได้ดำเนินการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย และบริษัทผู้นำด้านการออกแบบ UX/UI จากประเทศญี่ปุ่นลุล่วงไปมากกว่า 80% และพร้อมจะเปิดตัวในต้นปี 2564 ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักศึกษาได้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ การทำงาน และศึกษาวัฒนธรรมการทำงานในระดับสากล ส่งผลให้นักศึกษามี Mobility และ Universality ในการทำงานสูงผศ.พรยศ กล่าว

สำหรับการเรียนในหลักสูตร DIPS จะให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบ Workshop มากกว่าการบรรยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่จะต้องเข้าร่วม Workshop ในเนื้อหาต่าง ค่อนข้างมาก หากแต่จะเต็มไปด้วยการเรียนรู้การใช้ความรู้ต่าง การออกภาคสนามการทำงานร่วมกับผู้อื่น และเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2 - 3 นักศึกษาจะใช้เวลาเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงาน อุปกรณ์การทำงาน และสภาพจริงในบริษัทมากขึ้น ภายใต้การดูแลประเมินผล และปรับบทบาทการทำงานของอาจารย์และผู้ประสานงานจากบริษัท เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และพัฒนาความสามารถด้านต่าง ได้อย่างต่อเนื่อง

ผศ.นิมิต เหม่งเวหา อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกล่าวว่า ครึ่งปีแรกนักศึกษาจะเริ่มเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ทั้งใน Design Studio และ Workshop เป็นการบูรณาการความรู้ความเข้าใจพื้นฐานและเป็นการแนะนำโอกาสหรือแนวทางการทำงานในสถานประกอบการที่มีความร่วมมือในเทอมสองนักศึกษาจะได้สัมผัสและเปิดประสบการณ์กับบริษัทในสถานที่ทำงานจริง บรรยากาศการทำงานจริงของบริษัทแต่ละราย ก่อนที่นักศึกษาจะตัดสินใจเลือกว่าจะเรียนรู้ร่วมกับบริษัทใด เมื่อนักศึกษาได้ทำงานในสถานที่ของบริษัทฯ อาจารย์ในรายวิชาต่าง จะไม่ได้ทำหน้าที่สอนแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะร่วมกับบริษัทในการทำหน้าที่กำหนดกรอบในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาในเทอมนั้นๆ  ซึ่งนักศึกษาจะไม่มีการสอบกลางภาค ปลายภาคเหมือนนักศึกษาทั่วไป แต่จะได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่อง  

การเรียนของนักเรียนจะไม่เป็นกิจวัตรที่ต้องเรียนเหมือนเดิม จากที่จะต้องรับงานจากอาจารย์ผู้สอนแล้วไปทำงานมาส่ง แต่การเรียนในหลักสูตร DIPS  นักศึกษาจะต้องรับงานจากลูกค้าจริงๆ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ โจทย์คือลูกค้าและสถานการณ์ นักศึกษาจะต้องคุยกับทีมงาน เรียนรู้และทำงานร่วมกับทีมงาน หากในกรณีที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆเพิ่มเติมในหลักสูตร อาทิ การร่วม Workshop ในต่างประเทศ นักศึกษาก็ต้องปรึกษาทีมงานเพื่อที่จะบริหารจัดการเนื้องานและเวลาการทำงานที่ได้รับจากบริษัทผศ.นิมิต กล่าว