รัฐบาลสั่งโละกฎหมาย 'อุปสรรคธุรกิจ' ปี64 ตั้งเป้า 85%

รัฐบาลสั่งโละกฎหมาย 'อุปสรรคธุรกิจ' ปี64 ตั้งเป้า 85%

รัฐบาลรับลูกธนาคารโลก - ภาคเอกชน ดันไทยขึ้นท็อปเท็นยาก-ง่ายธุรกิจ ส่งหนังสือเวียนแจงหน่วยราชการ ตั้งเป้าปลดล็อกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคให้ได้ 85% ภายในปี 2564

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ส่งหนังสือเวียนถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.)และหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงานให้รับทราบเรื่อง "การปลดล็อกด้านกฎหมายและฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการ ประกอบธุรกิจ"หรือการทำ “Regulatory Guillotine” ตามที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้รายงานให้ที่ประชุม ครม.รับทราบว่าจากข้อเสนอเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ 1 ใน 10 กลุ่มประเทศของโลกตามการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Busines) ตามการจัดอันดับของธนาคารโลกซึ่งเป็นเป้าหมายของรัฐบาลรวมทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับตามเป้าหมายดังกล่าว 

ทั้งนี้ครม.รับทราบการรายงานทั้งหมดแล้ว และได้มีมติให้การดำเนินการปลดล็อกด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ หรือ Regulatory Guillotine ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลและตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการของหัวหนส่วนราชการทุกหน่วย เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมโดยเร็วและให้สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน ป.ย.ป. ร่วมกันประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการปลดล็อกด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจหรือ Regulatory Guillotine ให้ทุกภาคส่วนทราบ และดำเนินการปลดล็อกด้านกฎหมายที่ยังเป็นอุปสรรคให้แล้วเสร็จได้ไม่น้อยกว่า85% ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการในด้านต่างๆสามารถทำได้ตามเป้าหมายรัฐบาลให้ความสำคัญกับการปลดล็อกด้นกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวก โดยที่ผ่านมาเรื่องของการจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)ได้ดำเนิการมาระยะหนึ่งแล้ว จนทำให้อันดับของประเทศไทยในปีนี้ขึ้นสู่อันดับที่ 21จากเดิมในอันดับที่26 และในเรื่องนี้คณะกรมการวมภาคอกชน 3 สถาบัน ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสหกรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศึกษาวิจัยว่ามีกฎหมายทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ฉบับใดที่สมควรปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกโดยเร่งด่วน 

ซึ่งทีดีอาร์ไอได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 1,094  กระบวนงาน สมควรที่ ครม.จะมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานขับคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทรศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวมาดำเนินการขับเคลื่อนให้มีการยกเลิก(cut) กฎหมายที่ไม่มีการใช้แล้ว ปรับเลี่ยนกฎหายที่ทันสมัยให้เหมาะสม (chang) รวบรวมกฎหมายหรือกฎระเบียบที่มีควมชื่มโยงกัน (combine) เพื่อให้เข้ถึงง่าย หรือยกร่างกฎหมายหรืกฎระเบียบในเรื่องที่มีความจำเป็นแต่ยังไม่มีกฎหมายหรือกฎระเบียบรองรับ (create) และอาจใช้เรื่องนี้เป็นตัวชี้วัด (KPI) หนึ่งในการประเมินหน่วยงานด้วยก็ได้

ทั้งนี้ในการประชุม ครม.เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ครม.ได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน รวมทั้งสร้างความสามารถในการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ 2528 โดยเสนอให้มีการตรา พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและ

การประมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562 ที่กำหนดให้หวยงานของรัฐที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมาย ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายในความรับผิดชอบทุกฉบับอย่างช้าในทุกๆ 5ปี นับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับเพื่อให้กฏหมายทุกระดับเหมาะสมแก่กาลสมัย ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวต่อไป 

160888860268

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าทีดีอาร์ไอได้เคยมีการประเมินว่าการปรับปรุงและยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัยจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและภาคธุรกิจ โดยจะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ปีละประมาณ 1.42 แสนล้านบาทต่อปี  แบ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน1.33 แสนล้านบาทต่อปี หรือลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณ 55.2%  และลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจปีละประมาณ 9 พันล้านบาทต่อปี หรือลดลงประมาณ 24.4%   ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ที่ประชาชนและภาคธุรกิจจะได้รับในทางเศรษฐกิจจากการที่สามารถยกเลิกกฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นลงได้ 

สำหรับกฎหมายที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องมีการปรับปรุงหรือจัดทำใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศได้นำเสนอให้นายกรัฐมนตรีทราบแล้วมีกว่า 45 ฉบับ แบ่งเป็น13 ด้าน  โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วยกฎหมาย 7 ฉบับได้แก่ 1.การปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 2.ปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 3.ปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

4.ร่างพ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. ... 5.ร่าง พ.ร.บ.ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ... 6.ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2560 และ 7.ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2562 เป็นต้น 

LAZADA ช้อปต่อไม่มีพัก โปรโมชั่นส่งท้ายปี