ธุรกิจเอสเอ็มอีเริ่มฟื้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหนุน

ธุรกิจเอสเอ็มอีเริ่มฟื้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหนุน

เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 กระจายในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีผลกระทบต่อสภาพคล่องมาก เพราะผลจากการล็อคดาวน์และกำลังซื้อที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เอสเอ็มอีพยายามเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยเหลือการเข้าถึงสินเชื่อ

โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในกลุ่มค้าขายทั่วไปเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดบ้างแล้ว โดยเฉพาะผลจากโครงการคนละครึ่งก็ยิ่งทำให้กำลังซื้อเนเศรษฐกิจฐานรากฟื้นตัว ซึ่งได้ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน และทำให้เอสเอ็มอีขายสินค้าได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ยอดขายโดยรวมของเอสเอ็มอียังไม่ได้กลับมาเหมือนเดิม ยังคงลดลงจากภาวะปกติประมาณ 30% ซึ่งบางส่วนที่ยอดขายลดลงมาจากการการเลือกสินค้าเข้ามาขายลดลง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

“ในภาคเศรษฐกิจของเอสเอ็มอีขณะนี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดจากวิกฤตโควิดไปแล้ว ถ้าไม่มีการแพร่ระบาดรอบ 2 ภายในประเทศ ธุรกิจเอสเอ็มอีก็จะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่ยอดขายจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมก็ตเองใช้เวลาอีกพอสมควรจนกว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะยุติ เพราะในช่วงโควิดประชาชนต่างซื้อของลดลง”

ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวโดยเฉพาะรายเล็ก เนื่องจากไม่ใช้กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าที่เข้าโครงการ “ไทยเที่ยวไทย” เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่เข้าโครงการนี้จะเลือกไปโรงแรมขนาดใหญ่มากกว่า รวมทั้งนักท่องเที่ยวไทยยังไม่สามารถทดแทนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติล้วนแต่ยังคงย้ำแย่ ดังนั้นภาครัฐควรจะต้องปรับปรุงโครงการไทยเที่ยวไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

ส่วนผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบ 2 ในพื้นที่ภาคเหนือ และอีกหลายจังหวัดนั้น หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ ยังไม่สามารถจำกัดพื้นที่ได้ จะส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีภาคการท่องเที่ยวทันที โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นการซ้ำเติมธุรกิจท่องเที่ยวให้ย่ำแย่ลงไปอีก โดยรัฐบาลควรสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาชนไประมาท แต่ไม่ถึงกับตื่นตระหนก และพยายามจำกัดการระบาดให้อยู่ในวงแคบ ให้กระทบต่อเศรษฐกิจภาคส่วนอื่น ๆ น้อยที่สุด ให้สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ

“ในช่วงเดือน ม.ค.2564 จะเป็นเดือนสุดท้ายสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ของรัฐบาล ซึ่งเอสเอ็มอีจะต้องเริ่มมาผ่อนจ่ายชำระหนี้ให้กับธนาคารต่างๆ"

ดังนั้นหากโควิดกลับมาแพร่ระบาดในช่วงดังกล่าวและรัฐบาลต้องประกาศล็อกดาวน์รอบ 2 ก็จะยิ่งซ้ำเติมเอสเอ็มอีอย่างรุนแรงทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ ส่งผลให้มีโอกาสที่จำนวนเอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้นอีก

สำหรับภาวะเอสเอ็มอีในปี 2564 หากไม่มีการระบาดรอบ 2 มองว่าเอสเอ็มอีจะเริ่มลงทุนเปลี่ยนระบบการผลิตและการบริหารจัดการ โดยมุ่งปรับตัวตามตลาดที่เปลี่ยนไปหลังการระบาด รวมทั้งจะปรับเปลี่ยนมาสู่เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกด้าน ตั้งแต่ระบบการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด และการบริการ ที่จะเข้มข้นมากกว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด รวมทั้งจะเกิดผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเทค เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับธุรกิจที่เปลี่ยนไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขนาดเล็กยังมีจุดอ่อนในเรื่องของบุคลากร ที่ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจำทำทุกอย่างเอง ตั้งแต่การควบคุมการผลิต การตลาด การขาย ทำให้ไม่มีเวลาไปให้น้ำหนักในเรื่องดิจิทัลได้เต็มที่ และเทคโนโลยีนี้ยังคงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดำเนินการ โดยเฉพาะในด้านดิจิทัลที่เกี่ยวชข้องกับการค้าออนไลน์

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจึงได้จัดทำ “โครงการ 1 จังหวัด 1 เทรดเดอร์” เพื่อสนับสนุนให้แต่ละจังหวัดเกิดบริษัทเทรดเดอร์เข้ามาจัดหาสินค้าจากเอสเอ็มอีและโอท็อปไปจำหน่ายผ่านทางออนไลน์และหน้าร้านค้าปกติ ซึ่งจะเพิ่มช่องทางการค้าออนไลน์ให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ยังไม่เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล หรือตลาดออนไลน์ และการตัดส่งสินค้า ซึ่งจะทำให้เอสเอ็มอีรายเล็กเหล่านี้ขายสินค้าได้มากขึ้น และในอนาคตหากมีความเข็มแข็งก็สามารถเข้ามาดำเนินการด้านการค้าออนล์เองก็ได้ ซึ่งการที่มีช่องทางการค้าหลายช่องทางก็ยิ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น

“ในขณะนี้ โครงการ 1 จังหวัด 1 เทรดเดอร์ ประสบความสำเร็จมีเทรดเดอร์เข้ามาช่วยเปิดตลาดออนไลน์ให้ผู้ประกอบการรายเล็กแล่วกว่า 50 จังหวัด แต่ละจังหวัดจะมีเอสเอ็มอีเทรดเดอร์เป็นตัวแทนขายสินค้าอิสระให้กับเอสเอ็มอีภายในจังหวัด ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้มแข็งขึ้น”