ติงอาชีวะอย่าเปิดหลักสูตรหวังแต่รายได้

ติงอาชีวะอย่าเปิดหลักสูตรหวังแต่รายได้

รมว.ศธ.ติงอาชีวะอย่าเปิดหลักสูตรหวังรายได้ แนะกล้าปรับเปลี่ยน โล๊ะหลักสูตรไม่ตอบโจทย์โลกปัจจุบันและอนาคต เตรียมยกระดับมาตรฐานช่างอากาศยาน -ธุรกิจการบิน จี้วิทยาลัยอาชีวะในจ.ภูเก็ตจับมือเอกชน ดึงทักษะ ศักยภาพจากเอกชนให้เต็มที่ ไม่ใช่เข้ามาเพียงทำcsr

"ธุรกิจการบิน" เป็นอีกหนึ่งสาขาที่ได้รับความสนใจจากเด็กนักเรียนนักศึกษา โดยเฉพาะในจังหวัดการท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต  ซึ่งก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลให้ประเทศทั่วโลกนั้น "ภูเก็ต"เป็นจังหวัดที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 47,000 ล้านบาท รองจากกรุงเทพฯ มีเที่ยวบินมาสู่จังหวัดวันละ317เที่ยวบิน มีนักท่องเที่ยว 50,000กว่าคนต่อวัน  ทำให้สถาบันอาชีวศึกษาในจ.ภูเก็ต มีการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับธุรกิจการบิน

โดยขณะนี้วิทยาลัยอาชีวะภูเก็ต และวิทยาลัยเทคนิคถลาง ได้จัดการเรียนการสอนทั้งในสาขางานบริการภาคภูเก็ตพื้น หรือสาขาช่างอากาศยานและธุรกิจการบิน รวมถึงสถานศึกษาอื่นๆให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการในอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์ประเทศ

วันนี้ (2 ..2563)ที่วิทยาลัยอาชีวะภูเก็ต .ภูเก็ต นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการนโยบายรัฐบาลกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน  โดยได้ติดตามการดำเนินงานนโยบายการจัดการอาชีวศึกษายกกำลังสอง ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต .ภูเก็ต  

นายณัฎฐพล กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาคือเรื่องสำคัญที่ประเทศต้องการที่จะสามารถยกระดับประเทศในอนาคตได้ ซึ่งตนมีโจทย์สำคัญที่อยากจะยกระดับจังหวัดและสร้างอาชีพด้วยระบบการศึกษา ดังนั้นไม่สามารถยกระดับจังหวัดได้หากคุณภาพการศึกษายังไม่ดีพอ โดยขอให้ผู้บริหารการศึกษากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันต้องเพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ให้มากขึ้น เพราะอยากให้จังหวัดภูเก็ตเป็นโมเดลพื้นฐานในการยกระดับการศึกษาทั้งจังหวัดให้ได้

เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมและพึ่งพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถึง 97% ดังนั้น จึงต้องเร่งเตรียมความพร้อมให้เด็กด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย ปรับหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพราะพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ฝากความหวังกับการศึกษาอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ อยากให้อาชีวศึกษากล้าปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยหลักสูตรจะต้องทำให้มีความทันสมัยมีมาตรฐานสากล เช่นสาขาวิชาการบัญชี ซึ่งวิทยาลัยแต่ละแห่งมีการรับนักศึกษาจำนวนมาก แต่ในอนาคตคาดว่าอีก 3 ปีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะเข้ามาแทนที่ อาชีวะควรจะปรับหลักสูตรใหม่ให้เชื่อมโยงกับโลกปัจจุบันด้วย เป็นต้น รวมถึงไม่อยากให้วิทยาลัยเปิดหลักสูตรหวังเพียงรายได้ให้เด็กมาเรียนแต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วย

"อนาคตวิทยาลัยอาชีวศึกษาอาจจะต้องยุบบางสาขาและคัดเลือกสาขาวิชาที่มีความพร้อมมาสร้างความเป็นเลิศของวิทยาลัย รวมถึงภาษาอังกฤษของผู้เรียนอาชีวศึกษาจะต้องมีมาตรฐานและเด็กจะต้องสื่อสารได้ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะให้ผู้เรียนอาชีวะมีศักยภาพด้านภาษาอย่างเต็มที่ แต่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมเทคนิคภาษาศัพท์เฉพาะวิชาชีพให้มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มขีดความสามารถด้านภาษาของผู้เรียนได้ ส่วนการจัดการศึกษาในรูปแบบทวิภาคีอยากให้ภาคเอกชนไม่ใช่เข้ามาทำแค่โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ csr แต่ต้องดึงศักยภาพของภาคเอกชนมาสร้างความเข้มแข็งและความเข้มข้นให้แก่วิทยาลัยอาชีวศึกษาให้มากกว่านี้"รมว.ศธ.กล่าว

ด้านนายวิทยา เกตุชู ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต กล่าวว่า ทางวิทยาลัยได้มีการนำนโยบายอาชีวะยกกำลังสอง โดยได้มีการทำความร่วมมือกับภาคเอกชนในทุกหลักสูตร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากภาคเอกชน เพราะต้องยอมรับว่าวิทยาลัยอาชีวะ มีจะมีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ ห้องเรียนที่ทันสมัย แต่ในเรื่องของการพัฒนานักเรียนนักศึกษาต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน เนื่องจากภาคเอกชนมีความพร้อมและมีองค์ความรู้ ทักษะใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชนจริงๆ นอกจากนั้น ทางวิทยาลัยได้มีการเน้นเรื่องการโรงแรม อุตสาหกรรมอาหาร การจัดการศึกษานานาชาติ ภาษาอังกฤษและไอที

รวมถึงอุตสาหกรรมด้านเรือยอร์ชและธุรกิจการบิน ที่มีความต้องการกำลังคนมากขึ้น ฉะนั้น ทุกหลักสูตรที่ทางวิทยาลัยได้เปิดการเรียนการสอน ภายใต้ความร่วมมือกับทั้งวิทยาลัยด้วยกัน และภาคธุรกิจ ทำให้เด็กนักเรียนนักศึกษาของเราเมื่อจบการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้จริง และรู้จักการปรับตัว เปลี่ยนแปลง อีกทั้งได้มีการขยายรูปแบบการเรียนการสอนการศึกษาอาชีวะยกกำลังสองไปสู่วิทยาลัยอื่นๆต่อไป

ขณะที่ นาวาอากาศตรีบัญชา ชุนสิทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน  เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (.กรอ.อศ) กลุ่มอาชีพช่างอากาศยาน กล่าวว่า วิชาช่างอากาศยาน เป็นสาขาใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งวิทยาลัยอาชีวศึกษามีอยู่จำนวน6แห่งที่จัดการเรียนการสอน คือ วิทยาลัยเทคนิคถลาง วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี วิทยาลัยการอาชีะขอนแก่น และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ซึ่งจากการดำเนินการสร้างกำลังคนด้านนี้ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น คือต้องทำงานแข่งกับต่างประเทศ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการยกระดับเป็นมาตรฐานสากล โดยในปี 2563 สอศ.ได้มีความร่วมมือกับการบินไทยในการเปิดโอกาศให้เด็กเรียนในวิทยาลัย1ปี และไปทำงานกับสายการบิน 1ปี ซึ่งเป็นการทำงานไม่ใช้ฝึกงาย และจะทำให้เด็กอาชีวะได้มาตรฐานระดับโลกนอกจากทักษะความเป็นช่างแล้ว ต้องมีทักษะภาษาอังกฤษ

"ขณะนี้ วิทยาลัยอาชีวะในกลุ่มช่างอากาศยานทั้ง6แห่งกำลังสร้างมาตรฐานระดับสากล ทั้งทักษะช่างและภาษาอังกฤษ ซึ่งจากการที่ทำงานมา สิ่งที่กำลังต้องการมากสุด คือ ครู เพราะครูเป็นเรื่องเดียวที่แม้จะต้องใช้เงินมาสร้างครูแตาไม่สามารถซื้อคนมาให้ทำอาชีพนี้ได้ โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในอาชีพนี้ เพราะรายได้ของผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในอาชีพช่างอากาศยานรายได้ค่อนข้างสูง การเพิ่มครูเชี่ยวชาญค่อนข้างยาก เช่นเดียวกับการพัฒนาครูในสถาบันที่ทำงานสายช่างให้ผันตัวมาเรียนรู้และสอนช่างอากาศยาน เป็นเรื่องยาก ฉะนั้น ในปี2564 เรามีเป้าหมายจะผลักดันให้ทางกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)และสอศ.ให้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาตรี แก่เด็กอาชีวะที่เรียนสายช่างอากาศยานกลับมาเป็นครู  ซึ่งตอนนี้มีเด็กเรียนจบช่างอากาศยานจากวิทยาลัยอาชีวะไปแล้ว4รุ่น ควรมีการผลักดัน ส่งเสริมให้เด็กกลุ่มช่างอากาศที่เรียนจบมีความเชี่ยวชาญและรักในความเป็นครู มาเป็นครูอาชีวะช่างอากาศยาน"นาวาอากาศตรีบัญชา กล่าว

อย่างไรก็ตาม เมื่อวิทยาลัยอาชีวะมีระดับมาตรฐานสากล อย่าเพียงสร้างช่างอากาศยานตอบโจทย์อุตสาหกรรมในประเทศ หรือต่างประเทศ แต่ต้องมีการกระจายให้ทั่วอาเซียน เพราะเด็กไทยไม่เป็นสองรองใคร แทนที่จะตั้งใจผลิตคนไปทำงานต่างประเทศ เป็นการมุ่งให้คนในอาเซียนมาเรียนช่างอากาศยานในวิทยาลัยอาชีวะด้วย