สำรวจภาวะ ‘ตลาดแรงงานไทย’ แนวโน้มว่างงานพุ่ง vs ได้งานทำเพิ่ม?

สำรวจภาวะ ‘ตลาดแรงงานไทย’ แนวโน้มว่างงานพุ่ง vs ได้งานทำเพิ่ม?

กระทรวงแรงงานเผยสถิติ "ตลาดแรงงานไทย" ช่วง ส.ค.63 ผู้มีงานทำจะเพิ่มขึ้น 4.3 แสนคน ขณะที่ผู้ว่างงานยังคงเพิ่มขึ้น ราว 3.42 แสนคนจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านแรงงานไทยในต่างแดนยังคงทำงานอยู่อีก 1.2 แสนคน

สถานการณ์แรงงานไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 อย่างมาก ทั้งแรงงานในประเทศและแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ล่าสุดกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้รายงานสถานการณ์ตลาดแรงงานเดือนสิงหาคม 2563 แม้สถานการณ์ผู้มีงานทำจะเพิ่มขึ้น 4.3 แสนคน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 1.14% ที่ทำให้ภาพรวมผู้มีงานทำรวมอยู่ที่ 38.05 ล้านคน โดยอยู่ในภาคเกษตร 12.13 ล้านคน และนอกภาคการเกษตร 25.92 ล้านคน โดย 6 อันดับแรก ได้แก่

  • ขายส่ง-ขายปลีก 6.24 ล้านคน
  • การผลิต 5.89 ล้านคน
  • ที่พักแรม 2.94 ล้านคน
  • ก่อสร้าง 2.26 ล้านคน
  • บริการราชการ 1.75 ล้านคน
  • การขนส่ง 1.39 ล้านคน

160404734026

แต่ในทางกลับกัน ผู้ว่างงานยังคงเพิ่มขึ้น ราว 3.42 แสนคน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ภาพรวมผู้ว่างงานอยู่ที่ 7.24 แสนคน คิดเป็น 89.53% โดยแยกเป็น

1.ผู้ที่ไม่เคยทำงาน 2.95 แสนคน

  • อุดมศึกษา 1.57 แสนคน
  • ปวช./ปวส. 0.44 แสนคน
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย 0.33 แสนคน
  • มัธยมศึกษา ตอนต้น  0.45 แสนคน
  • ประถมศึกษา 0.15 แสนคน
  • ต่ำกว่าประถมศึกษา 0.01 แสนคน

2.ผู้ที่เคยทำงาน 4.29 แสนคน

  • เกษตรกรรม 0.42 แสนคน
  • การผลิต 1.37 แสนคน
  • การบริการ 2.5 แสนคน

ขณะเดียวกันความต้องการแรงงานในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 มีอยู่ราว 37,826 อัตรา จากนายจ้างและสถานประกอบการ 1,652 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 35.75% หรือราว 13,523 อัตรา ต้องการแรงงานในระดับ ปวช.และ ปวส. รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษา 13,460 อัตรา ตามด้วยประถมศึกษา 6,451 อัตรา และปริญญาตรี 4,392 อัตรา

กลุ่มงานที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

1.กลุ่มผู้บริการ 1,100 อัตรา เช่น ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายตลาด เจ้าหน้าที่บริการของหน่วยงานรัฐบาล ผู้จัดการฝ่ายบริหาร และผู้จัดการฝ่ายบุคคล

2.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ 1,061 อัตรา เช่น นักการตลาด วิศวกรคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ นักสำรวจ และเจ้าหน้าที่บริหารงานลูกค้า


3.ช่างเทคนิค 6,646 อัตรา เช่น ตัวแทนขายบริการธุรกิจ พนักงานบริการลูกค้า ช่างเทคนิควิศวกรรมโยธา และตัวแทนขายผลิตภัณฑ์

4.เสมียน เจ้าหน้าที่ 5,603 อัตรา เช่น เจ้าหน้าที่จัดเก็บเอกสาร เจ้าหน้าที่บันทึกสินค้าคงคลัง เจ้าหน้าที่เก็บเงิน พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่คลังสินค้า

5.พนักงานบริการ 4,070 อัตรา เช่น พนักงานขายของหน้าร้าน ผู้นำเสนอสินค้า พนักงานเสิร์ฟ พนักงานรักษาความปลอดภัย และแม่บ้านสำนักงาน

160404741146

นอกจากนี้ในส่วนของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งสถิติตั้งแต่มกราคม-สิงหาคม 2563 มีสัดส่วนลดลงต่อเนื่อง โดยช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ยังคงมีแรงงานที่ทำงานอยู่ 120,194 คน ส่วนใหญ่คือ แรงงานทั่วไป แรงงานด้านการผลิต และแรงงานด้านการเกษตร โดย 5 ประเทศที่แรงงานไทยยังคงทำงานอยู่มากที่สุด

1.ไต้หวัน 58,013 คน

2.อิสราเอล 20,999 คน

3.เกาหลีใต้ 19,041 คน

4.ญี่ปุ่น 5,039 คน

5.มาเลเซีย 1,668 คน