"SDG Solutions Lab"ครั้งแรกในไทย

"SDG Solutions Lab"ครั้งแรกในไทย

ESCAP ผนึก ม.มหิดล พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการความยั่งยืน SDG Solutions Lab การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม แก้ปัญหา

ครั้งแรกในประเทศไทย คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)โดยนางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา เลขาธิการบริหาร พร้อมด้วยนาย อัดนัน เอช.อาเลียนี  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการยุทธศาสตร์และแผน ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) กับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย .นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันพัฒนา ศูนย์ปฏิบัติการ “SDG Solutions Lab” ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหา มุ่งสู่ความสำเร็จและเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สำนักงานสหประชาชาติ .ราชดำเนินนอก

.นพ.บรรจง กล่าวว่า จากพระราชปณิธานของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หรือ เจ้าฟ้ามหิดล ผู้ทรงก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล สร้างสรรค์วิสัยทัศน์อันเป็นสากลของการอุดมศึกษา ไว้ว่า ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การเรียน แต่อยู่ที่การนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์แห่งมนุษยชาติ และพระราชดำรัสนี้ เปรียบเสมือนแสงสว่างนำทางให้มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาความก้าวหน้าสู่ความเป็นสากลและมีความหลากหลาย ดังนั้น ผู้จบการศึกษาจากที่นี่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของโลก ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก และการมีส่วนร่วมกับสังคม

ในยุคของโลกาภิวัตน์และโลกที่เชื่อมต่อสัมพันธ์กัน เราตระหนักดีว่าความสำเร็จทางวิชาการและความเป็นเลิศทางจริยธรรมต้องอาศัยสัมพันธภาพอันแน่นแฟ้นกับประชาคมโลก การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการให้การศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และ ESCAP สหประชาชาติ ครั้งนี้

เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา นวัตกรรุ่นใหม่และผู้ประกอบการ สู่การพัฒนาอันท้าทาย ทั้งนี้ เนื่องจากสหประชาชาติเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพและประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการวิกฤติการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ดียิ่ง และมีความตื่นตัวด้านสาธารณสุข การศึกษาและวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมไทยและโลก

 นางอาร์มิดา กล่าวว่า เป้าหมายของศูนย์ปฏิบัติการ SDG Solutions Lab จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มและระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัพ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาระหว่างเครือข่ายสหประชาชาติ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาวิชาการและสังคม ศูนย์ปฏิบัติการจะเชื่อมโยงนวัตกรและเม็นเทอร์จากทั่วโลก รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์และแหล่งความรู้ได้ทั่วโลก

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ กล่าวว่า ในข้อตกลงความร่วมมือนี้ มีระยะเวลา 3 ปี โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะวางแผน จัดเตรียมและจัดทำกิจกรรมและความร่วมมือการมีส่วนร่วมกับเยาวชนคนรุ่นใหม่และนักแก้ปัญหา เพื่อประสิทธิผลของโครงการ ที่เน้นในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน สาระสำคัญของความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่าย คือ ร่วมกันพัฒนายุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของSDG Solutions Lab, สร้างเสริมเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการ, บริหารจัดการด้านทุนสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการในระยะยาว, บริหารจัดการเครือข่ายในการมีส่วนร่วมกับโครงการทดลองและกิจกรรมของศูนย์ปฏิบัติการ

ร่วมสร้างสรรค์และทดสอบกิจกรรมโครงการของศูนย์ปฏิบัติการ, สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงสถานที่สำหรับใช้ประโยชน์หรือกิจกรรมของศูนย์ปฏิบัติการ ทั้งนี้ จะเป็นผลดีต่อการพัฒนานวัตกรรมและสตาร์ทอัพ และรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนและความมั่นคงทางสุขภาพตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ตลอดจนพัฒนาการแพทย์และสุขภาพซึ่งมีบทบาทสำคัญท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด -19 และวิถีโลกที่เปลี่ยนไป