ทุ่มงบ 1,740 ล้านบาทฝึกทักษะแรงงาน ปี 64

ทุ่มงบ 1,740 ล้านบาทฝึกทักษะแรงงาน ปี 64

รมช.แรงงาน ระบุจัดสรรงบปี 64 ประมาณ1,742 ล้านบาท อบรมพัฒนาทักษะแรงงานทั้งประเทศ ตั้งเป้ากว่า 4 ล้านคน เชิญชวนแรงงาน สมัครเข้าร่วมยกระดับมาตรฐานฝีมือ รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน

.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในปี 64 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ได้รับการจัดสรรจำนวน  1,742,087,000 ล้านบาท มีเป้าเหมายดำเนินการพัฒนาทักษะให้แก่กำลังแรงงานของประเทศจำนวนทั้งสิ้น 4,129,910 คน แบ่งเป็น การส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดำเนินการพัฒนาทักษะลูกจ้างของตนเอง จำนวน 4,000,000 คน และดำเนินการเอง จำนวน 129,910 คน

โดยจัดทำโครงการพัฒนากำลังคนสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการสร้างความเสมอภาคทางสังคม ตามแนวคิดสร้าง ยก ให้ รวมไทยสร้างชาติ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

เมื่อฝึกอบรมแล้วจะประสานกับกรมการจัดหางานในการหาตำแหน่งงานว่างให้แก่แรงงานที่ต้องการกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานแบบมีนายจ้าง แต่หากต้องการประกอบอาชีพอิสระแล้วไม่มีเงินทุนกพร.มีความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่งให้บริการสินเชื่อ โดยมี บสย.ค้ำประกันการกู้ยืมดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้แรงงานที่ผ่านการอบรม สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น จนสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ดูแลตนเองและครอบครัวต่อไป

รมช.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า กพร.มีหน่วยงานกระจายอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงานทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ ซึ่งรวมถึงแรงงานที่อยู่ในภาคการเกษตรด้วย การฝึกอบรมนั้น มีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว มีสาขาอาชีพให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่หรือโครงการพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำอาชีพที่ตลาดแรงงานมีความต้องการหรือต่อยอดสร้างรายได้ 

โดยมี บสย.ค้ำประกันการกู้ยืมดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้แรงงานที่ผ่านการอบรม สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น จนสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ดูแลตนเองและครอบครัวต่อไปเมื่อฝึกอบรมแล้วจะประสานกับกรมการจัดหางานในการหาตำแหน่งงานว่างให้แก่แรงงานที่ต้องการกลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานแบบมีนายจ้าง แต่หากต้องการประกอบอาชีพอิสระแล้วไม่มีเงินทุนกพร.มีความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่งให้บริการสินเชื่อ ซึ่งจะช่วยให้แรงงานที่ผ่านการอบรม สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น จนสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ดูแลตนเองและครอบครัวต่อไป

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกล่าวเพิ่มเติมว่า การฝึกอบรมนั้น มีตั้งแต่การฝึกทักษะให้กับแรงงานใหม่ ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อน ในหลักสูตรเตรียมเข้าทำงาน มีระยะเวลาการฝึก 2-4 เดือน และฝากฝึกในสถานประกอบกิจการอีก 1-2 เดือน เพื่อฝึกภาคปฏิบัติเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานจริง

สำหรับแรงงานที่มีพื้นฐานความรู้ในสาขาที่เข้าฝึกอบรมบ้างแล้ว สามารถสมัครเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรยกระดับฝีมือ ระยะเวลาการฝึกมีตั้งแต่ 18 ชั่วโมง ถึง 60 ชั่วโมง หรือกรณีที่เป็นผู้ว่างงาน แรงงานทั่วไป ที่ต้องการนำความรู้ไปประกอบอาชีพเสริมหรือประกอบอาชีพอิสระ หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพ กพร.มีหลักสูตรการฝึกระยะสั้นๆ เพียง 3 วัน (18 ชั่วโมง) ส่วนใหญ่เป็นสาขาอาชีพที่สามารถรับเหมางาน หรือเป็นอาชีพอิสระ เช่น การประกอบอาหาร การทำขนม ช่างก่อสร้าง ช่างปูกระเบื้อง ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องปรับอากาศ ช่างเชื่อม เป็นต้น

ปัจจุบันแต่ละจังหวัดได้ประกาศรับสมัครผู้สนใจเข้าฝึกอบรมแล้ว และจะเริ่มอบรมในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป อีกทั้งรอเงินงบประมาณที่กำลังจะโอนจัดสรรให้ด้วย โครงการที่จัดฝึกอบรมมีหลายโครงการที่สอดรับกับพื้นที่แต่ละจังหวัดด้วย อาทิ ทางภาคใต้จะมีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

จัดโครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ การพัฒนาทักษะแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และการพัฒนาทักษะแรงงานด้านการท่องเที่ยวและบริการ นอกจากนี้ ยังมีการฝึกเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงสร้างความเสมอภาคแก่แรงงานทุกกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

ผู้สนใจเข้ารับการพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือให้ได้รับอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง สมัครฝึกอบรมได้ที่สถาบันหรือสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วไประเทศ หรือดูรายละเอียดที่www.dsd.go.th เมนู สมัครฝึกอบรม หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 หรือกองสื่อสารองค์กร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 0 2245 4035