เลิกดอง!โจทย์ PUBAT กระตุ้นอ่าน ปลุกมหกรรมหนังสือฯสะพัด200ล.

เลิกดอง!โจทย์ PUBAT กระตุ้นอ่าน  ปลุกมหกรรมหนังสือฯสะพัด200ล.

ภารกิจสำคัญของสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) มุ่งตอกย้ำคนไทยรักการอ่าน การอ่านคือความเท่ ปลุกมหกรรมงานหนังสือระดับชาติ ชวนหนอนนังสือ Noกองดอง พร้อมเผยโควิด-19 กระทบอุตฯหนังสือ 18,000 ล้านบาท หดตัว 30-40%

โลกดิจิทัลที่เข้ามมาดิสรัปธุรกิจดั้งเดิมมากมาย รวมถึงธุรกิจสิ่งพิมพ์ กระเทือนอุตสาหกรรมหนังสือ คนอ่านหนังสือลดลง เพราะหันไปเสพเนื้อหา(Content)ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แทน แต่นั่นไม่ได้ทำให้บรรดาสำนักพิมพ์ต่างๆที่ทำธุรกิจด้วยความรัก(Passion)ยอมแพ้ต่ออุปสรรค เพราะตราบใดที่ยังมีลมหายใจและกำลังใจในการฮึดสู้ ผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด

ทว่า ปี 2563 โจทย์รับมือดิจิทัล ดิสรัปชั่น คนอ่านหนังสือน้อยลงเป็นเรื่องหนักหนาแล้ว ยังเผชิญโรคโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก ประเทศต้องล็อกดาวน์ ธุรกิจหลายหมวดต้องหยุดให้บริการ เช่นเดียวกับร้านหนังสือที่อาศัยห้างค้าปลีกเป็นหน้าร้าน และคนออกจากบ้านน้อยลง เพราะผวาไวรัสร้าย ส่งผลให้ธุรกิจหนังสือ 8 เดือนที่ผ่านมาหดตัวลงไปร่วม 30-40% ครั้นเข้าโค้งสุดท้ายไตรมาส 4 ปี 2563 กำลังซื้อผู้บริโภคไม่สดใสนัก เศรษฐกิจยังชะลอตัว ทำให้การฟื้นตัวของธุรกิจเป็นเรื่องยากและใช้เวลาเป็นปีจึงจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ นี่เป็นสิ่งที่  โชนรังสี   เฉลิมชัยกิจ”  นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) สะท้อนภาพโลกของหนอนหนังสือ 

ต้นปีเจอผลกระทบโรคโควิดจนจัดงานใหญ่ประจำปีอย่าง มหกรรมหนังสือระดับชาติ” หรือ Book Expo Thailand ในพื้นที่หรือออนกราวด์ไม่ได้ จึงยกทั้งงาน ระดมสำนักพิมพ์ไปอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ให้หนอนหนังสือชอปปิงกัน มียอดผู้เข้าร่วมงานกว่า 6 แสนราย ส่วนใหญ่เป็น คนรุ่นใหม่” ที่เข้าไปซื้อหนังสือ

ช่วงโควิดทำให้ประชาชนอยู่บ้าน ยังเห็นการอ่านหนังสือประเภทวรรณกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ เนื่องจากเป็นการคลายเครียด เหล่านี้เป็นวิถีปกติใหม่ (New Normal) ที่เกิดขึ้น สอดคล้องกับความพยายามของสมาคมฯ ที่จะเคลื่อนทัพสู่ออนไลน์มากขึ้น

ปัจจุบันธุรกิจคลายล็อกดาวน์ ประชาชนใช้ชีวิตนอกบ้านปกติ มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 25 จึงกลับมาจัดออนกราวด์เต็มตัวอีกครั้งระหว่างวันที่ 30 ..-11 ..นี้ ที่ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้คอนเซปต์Noกองดองหนึ่งในคำฮิตและคนรักการอ่านบนโลกออนไลน์ติดแฮชแท็ก(#)กันจำนวนมาก เพราะเพียงได้ซื้อหนังสือก็มีความสุข แม้จะซื้อไปดองไว้ก็ตามที

“No กองดอง แฮชแท็กนี้ถูกใช้เป็นกระแสอย่างมาก ทำให้สมาคมใช้เป็นโจทย์ของงานนี้ กระตุ้นให้คนอ่าน สร้างประสบการณ์ใหม่ให้คนคิดกำลังจะอ่าน ให้เป็นการสะสมไมล์เหมือนการวิ่งมาราธอน

สำหรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งนี้ มี 262 สำนักพิมพ์เข้าร่วมงาน จำนวน 746 บูธ แบ่งเป็น 7 โซน ทั้งหนังสือนิยาย/วรรณกรรม หนังสือต่างประเทศ หนังสือการศึกษา หนังสือทั่วไป เป็นต้น ยุคนี้มีช่องทางเดียวแค่ออฟไลน์ไม่ได้ ต้องเชื่อมออนไลน์จึงมี www.thaibookfair.com ด้วย

ไฮไลท์เด่นคือการเปิดตัวเว็บแอพพลิเคชั่น Noกองดอง ตรงคอนเซปต์งาน ชวนให้ผู้บริโภคอ่านหนังสือที่ซื้อมาให้จบ พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวแบ่งปันผู้อื่นด้วย เช่น หากเจอคำพูดเด็ด โดนใจ นำไปแชร์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆต่อไป มีการตั้งเวลาเพื่ออ่านหนังสือเก็บเป็นข้อมูล และการแบ่งปันข้อมูลยังทำให้เห็นเทรนด์ของหนังสือที่ได้รับความนิยมของนักอ่านด้วย เป็นต้น

สำหรับปี 2563 แนวโน้มหนังสือพิมพ์ออกใหม่ คาดมีราว 6,000-8,000 ปก จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีราว 14,000 ปกต่อปี หรือราว 40 ปกต่อวัน ส่วนหนังสือที่ได้รับความนิยมอ่านยังเป็นนิยาย แต่ที่โดดเด่นเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพ..-มิ..ที่ผ่านมา ได้แก่ หนังสือการเมือง หนังสือประวัติศาสตร์ ขณะที่หนังสือประเภท How to ยังขยายตัวต่อเนื่อง

นอกจากนี้ คาดการณ์ปี 2563 ธุรกิจหนังสือจะหดตัว 30-40% จากมูลค่าตลาดราว 18,000-20,000 ล้านบาท ส่วนงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 25 คาดว่าจะมีคนเข้าร่วมงานทั้งออนกราวดน์และออนไลน์รวมกว่า 9 แสนราย มีเม็ดเงินสะพัดราว 200 ล้านบาท จากปกติเงินสะพัดราว 500 ล้านบาท

ผลกระทบโรคโควิดระบาด ทำให้สำนักพิมพ์ชะลอลงทุน ไม่ตีพิมพ์หนังสือใหม่ หากตีพิมพ์จะดูจังหวะและหนังสือประเภทไหนจะจำหน่ายได้ ส่วนที่กระทบถึงขั้นปิดตัวเลย มีหลักสิบราย แต่มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นหลักสิบรายเช่นกัน ในสถานการณ์วิกฤตินี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องบริหารจัดการคือมีไข่ในตะกร้าหลายใบ กระจายความเสี่ยง เช่น มีคอนเทนท์เสิร์ฟทุกแพลตฟอร์มทั้งหนังสือ อีบุ๊ก บล็อก ทีวี ส่วนการขายต้องหลากหลายช่องทาง เช่น ออนไลน์มีโซเชียลคอมเมิร์ซของตัวเอง และไปอยู่บนอีมาร์เก็ตเพลสต่างๆ เพราะในวิกฤตินี้ กว่าทุกอย่างจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ คาดว่าต้องใช้เวลา 2 ปี