เดินหน้า โมเดลนำร่อง "ส่งพลาสติกกลับบ้าน"

เดินหน้า โมเดลนำร่อง "ส่งพลาสติกกลับบ้าน"

กว่า 10 จุดรับพลาสติกติดตั้งแล้วในห้างสรรพสินค้าบนถนนสุขุมวิท รองรับพลาสติกช่วงโควิดที่ประชาชนช่วยทำความสะอาดมาแล้ว

จากการเปิดเผยของเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network – TRBN), ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงมิถุนายนในปีนี้ จะมีการตั้งจุดรับพลาสติกจำนวน 10 จุดในถนนสุขุมวิท ได้แก่ Emporium, EmQuartier, Singha Complex, Bambini Villa, Broccoli Revolution, A Square, The Commons, Tesco Lotus สุขุมวิท 51, CP Fresh Mart สุขุมวิท 39, และVeggiology เพื่อรองรับรับขยะพลาสติก 2 ประเภท คือ พลาสติกยืดและพลาสติกแข็ง ที่ทำความสะอาดเรียบร้อยจากประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด และประชาชนต้องอยู่กับบ้านตามมาตรการป้องกันโรคของรัฐ

นอกจากนี้ ทางโครงการยังมีแอพพลิเคชั่น ECOLIFE เก็บแต้มสะสมแลกของสมนาคุณต่าง ๆ มีผู้สนับสนุนระบบ logistics ผู้ดำเนินธุรกิจ recycle/upcycle และ brand owners ที่มีนโยบายเรื่องการเรียกคืนขยะพลาสติกที่ชัดเจน รวมทั้งผู้สนับสนุนด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และมีนักวิชาการมาร่วมออกแบบการเก็บข้อมูลวิจัยถอดบทเรียน เพื่อการต่อยอดขยายผล

ทั้งนี้ TRBN และภาคีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทส. GC และบริษัทเอกชนชั้นนำต่างๆรวม 24 องค์กร เห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างครบวงจรและยั่งยืน ผ่านการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของทุกภาคส่วน จึงริเริ่มโครงการ "ส่งพลาสติกกลับบ้าน" โดยรณรงค์ประชาสัมพันธ์การ "แยกที่บ้าน ฝากทิ้งที่เรา" ช่วงเดือนก่อนหน้านี้ และให้ความรู้การคัดแยกขยะพลาสติกแก่ผู้บริโภคตั้งแต่ต้นทาง เพื่อความปลอดภัยของซาเล้งและพนักงานเก็บขยะ ลดปริมาณขยะพลาสติกสู่บ่อฝังกลบ และเพิ่มการนำพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการรับคืนและนำมา recycle/upcycle ของบริษัทเอกชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)

โครงการ "ส่งพลาสติกกลับบ้าน" ถือเป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายตลอดห่วงโซ่คุณค่าพลาสติก เพื่อ close loop นำพลาสติกจากผู้บริโภคส่งเข้าสู่กระบวนการจัดการให้สามารถแปรรูปกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ผู้บริโภคใช้อีกครั้ง เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน, TRBN ระบุ

158980111453

จากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบว่า ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกในช่วงการระบาดของโรคโควิด มีปริมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 จาก 5,500 ตันต่อวัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน

ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 2 ล้านตัน มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่หรือ recycle ประมาณ 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน ไม่ถูก recycle ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากขยะที่ขาดการคัดแยกที่ต้นทาง

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวขอบคุณภาคีในงานเปิดตัววันนี้ และกล่าวว่า วันนี้เห็นแล้วว่า เมื่อไม่เอาขยะไปทิ้งตามที่ต่าง ๆ ก็จะไม่มีใครเดือดร้อน ดังนั้น ถึงเวลาที่ต้องหาวิธีทำให้เป็น full circular economy

ด้วยแนวทางการทำงานในวันนี้ เราสามารถที่จะแปรรูปพลาสติกที่เราไม่ใช้แล้ว ตอนนี้เรามีความคิดว่าเราส่งพลาสติกกลับบ้าน มาเปลี่ยนพลาสติกให้เป็นบุญ เช่น ทาง GC นำพลาสติกมา upcycle มาเป็นเสื้อยืด ของเล่น วัสดุต่าง ๆ รวมไปถึงจีวรพระ ซึ่งเทคโนโลยีสามารถทำให้เต็ม loop ได้

ดังนั้น ต้องตัดคำว่า สะดวก สบาย ถ้าเราเอาคำนี้ออกไปได้ ปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง ล้นประเทศจะลดลง และส่งพลาสติกไปในที่ที่พลาสติกจะไป ไม่ว่า จะกลับบ้าน หรือ เปลี่ยนอะไรก็แล้วแต่” นายวราวุธกล่าว

158980150292

ผู้อำนวยการ TRBN พิมพรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา กล่าวว่า การจะทำให้ "เศรษฐกิจหมุนเวียน" เกิดได้จริง ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยการจับมือของหลายบริษัทตลอดห่วงโซ่พลาสติก และที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการคัดแยกพลาสติกที่ต้นทาง อีกทั้งการสนับสนุนผลักดันของภาครัฐ เพื่อนำพลาสติกใช้แล้วจากผู้บริโภคเข้าสู่กระบวนการ recycle แปรรูปเพื่อส่งกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคใช้อีกครั้ง หรือที่เรียกว่า ปิด loop

ทางด้าน GC ซึ่งริเริ่มโครงการร่วมกับภาคีพันธมิตร โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) คงกระพัน อินทรแจ้ง กล่าวว่า GC เชื่อมั่นในเรื่องความยั่งยืน และนำมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก ในการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยมีทางออกให้กับทุกคนคือBioplastics, แนวคิดพลาสติกมีประโยชน์ ที่ต้องใช้ให้เป็นและทิ้งให้ถูก (recycle/upcycle), การสร้างความร่วมมือในการสร้างระบบจัดการขยะนำร่อง, และการแชร์องค์ความรู้และสนับสนุนให้เกิดการขยายผล

158980152868