'กองทุน' ทั่วโลกแห่ลดค่าฟี ชู 'นโยบายภาษี' กระตุ้นลงทุน

'กองทุน' ทั่วโลกแห่ลดค่าฟี ชู 'นโยบายภาษี' กระตุ้นลงทุน

“มอร์นิ่งจากกำไรส่วนต่าง หากถือครองต่อ พร้อมใช้นโยบายภาษีกระตุ้นการลงทุนต่อเนื่อง ผลสำรวจชี้ไทยใช้กฎเกณฑ์และภาษีกระตุ้นลงทุนอยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกสตาร์” เผยกองทุนทั่วโลกมีแนวโน้มเก็บค่าฟีจากนักลงทุนต่ำลง  บางประเทศยกเว้นเก็บภาษี 

นางสาวชญานี จึงมานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ซ(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาประสบการณ์การลงทุนทั่วโลก Global Investor Experience (GIE) ใน 26 ตลาดการลงทุนในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งสำรวจทุก2ปี พบว่า นักลงทุนไทยสามารถเข้าถึงการลงทุนเพื่อประโยชน์ทางภาษีได้หลายแบบ  อย่างไรก็ตาม ยังมีต้นทุนการขายที่เก็บจากผู้ลงทุน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับผลประโยชน์ตอบแทน (Soft Dollars ) ทำให้ได้รับคะแนนด้านการใช้กฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษี  (Regulation and Taxation)  ที่ระดับค่าเฉลี่ย ( Average ) เท่ากับการศึกษาครั้งก่อน 

 ทั้งนี้ การศึกษาจัดทำขึ้นก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานที่กำกับดูแลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการลงทุน รวมทั้งช่วยเหลือธุรกิจและนักลงทุนให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปได้  โดยด้านสภาพคล่องเป็นประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศให้ความสำคัญ นอกเหนือจาก ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ แล้ว หลายประเทศใช้เกณฑ์จำกัดสัดส่วนการลงทุนสำหรับหลักทรัพย์สภาพคล่องต่ำ และมักมีการเปิดเผยข้อมูลการลงโทษต่อสาธารณะเมื่อมีผู้กระทำผิด

จากผลการศึกษา  มอร์นิ่งสตาร์ให้คะแนนระดับสูงสุด (Top ) แก่เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร แสดงถึงการมีกฎเกณฑ์และการจัดเก็บภาษีที่เป็นมิตรกับตลาด และให้คะแนนระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ( Below Average) แก่ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ญี่ปุ่น นิวชีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากยังต้องปรับปรุงระเบียบแบบแผนในด้านกฎเกณฑ์และภาษี

รวมถึงให้คะแนนระดับค่าเฉลี่ย (Average) แก่เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี เกาหลี เม็กซิโก สิงค์โปร อเมริกาใต้ สเปน สวิสเซอร์แลน์ ไต้หวันและไทย เนื่องจากมีการกำกับดูแลกฎเกณฑ์และภาษีที่เพียงพอ เอื้อประโยชน์และส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดการลงทุน

นายแอรอน ชาปิโร หัวหน้าฝ่ายงานวิจัยเชิงนโยบาย มอร์นิ่งสตาร์ เปิดเผยว่า  จากการศึกษาพบว่าผู้มีอำนาจควบคุมในสหรัฐฯ และแคนาดามีการใช้ระบบที่มีประสึทธิภาพ แต่แนวทางการปฏิรูปไม่ได้ก้าวทันตามประเทศอื่นทั่วโลก ทำให้สหรัฐฯ และแคนาดายังคงได้คะแนนระดับ Below Average อย่างต่อเนื่องในการศึกษาหัวข้อนี้

ขณะเดียวกันจากการศึกษายังพบว่า แนวโน้มการใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเพื่อปกป้องคุ้มครองนักลงทุน ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2560 ในหลายตลาดมีการกระตุ้นให้ประชาชนทุกกลุ่มลงทุนเพื่อประโยชน์ทางภาษี หรือมีการใช้กฎเกณฑ์เพื่อให้ค่าธรรมเนียมกองทุนต่ำลง เช่น บังคับการเปิดเผยข้อมูล 

แม้กองทุนในหลายประเทศยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมการขายจากค่าใช้จ่ายกองทุน แต่ก็มีแนวโน้มที่ลดลง เช่น มีการห้ามเก็บค่าคอมมิชชั่นในออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร ขณะเดียวกันในฮ่องกง หากตัวกลางได้รับผลประโยชน์ไม่ว่ารูปแบบตัวเงินหรือรูปแบบใดจากผู้ออกกองทุน จะไม่ถือว่าเป็นตัวกลางอิสระ ขณะที่สิงคโปร์และฮ่องกงที่ไม่เก็บภาษีใด ๆ จากผู้ลงทุนกองทุนรวม และในหลายตลาดยกเว้นการเก็บภาษีจากกำไรส่วนต่างหากผู้ลงทุนยังถือครองหน่วยอยู่