เปิดโมเดล 'โควิดไทย' ทำไมอยู่นาน?

เปิดโมเดล 'โควิดไทย' ทำไมอยู่นาน?

เมื่อไหร่จะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ? โควิด-19 จะอยู่กับประเทศไทยไปนานขนาดไหน? ล้วนเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับคนไทยทุกคน เพราะต่อให้ตัวเลขผู้ป่วยยืนยันมีจำนวนลดน้อยลง แต่ด้วยระยะเวลาสถานการณ์ที่ยืดยาวต่อไป

3ปัจจัย”ไทยควบคุมโควิด-19

ศ.พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 แนะนำการใช้ชีวิตของประชาชนในช่วงสภาวะโควิด-19 ว่า นับจากเดือนพ.ย.2562 ถึงกลางเดือนเม.ย.2563 สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยถือว่าดีขึ้น ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบอยู่ 3 ด้าน คือ 1.พื้นฐานการบริการสาธารณสุขและการเฝ้าระวังโรคของประเทศไทยถือว่าเกรดเอ ในระดับโลก มีโรงพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญ ความรู้เรื่องระบาดวิทยา อีกทั้งมี อสม.อยู่ทั่วทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล เป็นเสมือนใยแมงมุมทั่วประเทศในการดูแลระบาดวิทยา การสืบดู เฝ้าระวังสุขภาพพื้นฐานของคนไทย

 2.มีระบบประกันสุขภาพพื้นฐานของคนไทยทุกคน หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค และ 3. ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีหัวใจ เวลาจะทำนโยบายให้เป็นจริงจะไม่ได้ยึดตามทฤษฎีอย่างเดียว แต่เน้นเรื่องชีวิตคน ความทุกข์ยากของคนร่วมด้วย

158738261536

หน่วงติดเชื้อสูญเสียน้อยอยู่ยาว

ศ.พญ.จิรพร  กล่าวต่อว่าการบริหารจัดการโควิด-19 ในโลกนี้ แบ่งออกเป็น 3 โมเดลใหญ่ๆ คือ โมเดล 1.ปกป้อง คุ้มครอง ได้แก่ประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และจีน เมื่อรู้ว่ามีโควิด-19 ระบาด จะปิดประเทศทันที เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโควิด-19 จากคนประเทศอื่นๆ เข้าไปในประเทศพวกเขา และค้นหาคนที่ติดในประเทศ รักษาด้วยระบบสาธารณสุขทางการแพทย์ที่เก่ง และเป็นประเทศที่เศรษฐกิจดีทำให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อกลุ่มเสี่ยงอย่างมีเป้าหมาย และทำงานอย่างเป็นระบบ

ส่วนโมเดลที่ 2 สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ โมเดลนี้จะใช้อยู่ในกลุ่มประเทศอิตาลี อังกฤษ อเมริกา สเปน และยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้มีผู้เชี่ยวชาญ คนเก่งด้านระบาดวิทยาเยอะมาก พวกเขาทราบดีว่าประเทศจะปลอดภัยจากโควิด-19 ได้ ต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ของประเทศขึ้น คือให้ประชากรประมาณ 60% ติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกัน ประเทศถึงจะปลอดภัยจากโควิด-19 และการติดโควิด-19 ใน1 ครั้ง คน 100 คน จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากและหายเองได้ 80% มีอาการปานกลาง 15 % มีอาการหนัก 5% เข้าไอซียู เสียชีวิตเพียง 2% เท่านั้น

158738261582

ฉะนั้น ประเทศเหล่าจะจัดการประเทศ โดยนำคนกลุ่มเปราะบาง เช่น คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไปปกป้องดูแลไม่ให้เผชิญโรค ส่วนกลุ่มประชากรธรรมดาทั่วๆ ไป ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ และประเทศของเขามีศักยภาพทางการแพทย์ระดับหนึ่ง ไม่สามารถรองรับได้หมด

ดังนั้น เพียง 1-2 เดือน ก็สามารถควบคุมทุกอย่างได้เป็นเหมือนการครอบแก้วในประเทศ ตราบใดที่ปิดอยู่ก็จะทำให้ประชาชนปลอดภัย แต่เมื่อใดที่เปิดครอบแก้วออก เชื้อโรคจากทุกทิศทุกทางก็สามารถเข้าไปในประเทศใหม่ได้ ตอนนี้จึงเห็นกราฟผู้ติดเชื้อในบางประเทศกำลังมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น หลังจากเปิดประเทศ เนื่องจากประเทศเหล่านี้จะไม่มีภูมิคุ้มกันเชื้อโรค ซึ่งอาจจะไม่ใช่การป้องกันที่ยั่งยืน

ใครติดเชื้อแล้วที่ยังทนได้ให้รักษาตัวเองในบ้าน จนกว่าจะทนไม่ไหวถึงจะโทรให้โรงพยาบาลไปรับ ทั้งนี้ รูปแบบการแพทย์ดังกล่าวอาจถูกมองว่าไม่มีหัวใจ เนื่องจากกลุ่มประเทศเหล่านี้มีคนตายเยอะแต่ระยะเวลาในการเกิดโรคจะอยู่ประมาณ 6 เดือน และคนของเขาจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ทั้งประเทศ

158738261899

ศ.พญ.จิรพร  กล่าวต่อไปว่าประเทศไทยใช้โมเดลที่ 3 หน่วงการติดเชื้อ หรือให้คนค่อยๆ ติด เช่นเดียวกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใจหินไม่พอ เศรษฐกิจไม่ได้ดีมาก และระบบสาธารณสุขมีความพร้อมจำกัด ทำให้อัตราการเสียชีวิตของคนในประเทศน้อยมาก แต่ข้อเสียคือ ระยะเวลาที่เกิดขึ้นยาวนาน

โดยอย่างเร็วที่สุดประมาณ 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่ง ส่วนอย่างช้าต้องอยู่กับโรคโควิด-19 ไปอีก 2-3 ปี หรือจนกว่าจะมีวัคซีน สิ่งที่จะตามมา คือ คนจะใช้ชีวิตอยู่ในแบบจำกัดอย่างเช่นปัจจุบันได้อีกนานแค่ไหน คนจะทนได้หรือไม่ โมเดลนี้ความเสียหายน้อย และเป็นการรักษาที่เป็นหัวใจ ดังนั้น สถานการณ์ของประเทศไทยขณะนี้อยู่ในสภาวะที่เอาอยู่ แต่ถ้าทำแบบนี้ต่อไปเศรษฐกิจไทยอาจล้ม

158738261652

ทำแผนที่แบ่งกลุ่มประชากรไทย

ศ.พญ.จิรพร  อธิบายการจัดกลุ่มว่าเมืองไทยถ้าจะเดินต่อไปข้างหน้า ต้องจัดทำแผนที่แบ่งกลุ่มประชากรไทย โดยการประเมินประชากร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก กลุ่มที่มีการติดเชื้อ หายแล้ว คนกลุ่มนี้จะมีภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 เป็นกองหน้าในการนำเศรษฐกิจปกติ เพราะเขาจะไม่มีการติดเชื้ออีกและใช้ชีวิตปกติได้

ส่วนกลุ่มที่ 2 กลุ่มคนใสสะอาด กลุ่มคนที่ไม่เคยติดเชื้อ และเป็นกลุ่มคนที่ทำงานได้ กลุ่มนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19 โดยที่ยังให้ออกมาทำงาน หรือใช้ชีวิตได้แต่ต้องปฏิบัติตัวเองตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และเมื่อใดที่ติดเชื้อต้องเข้าระบบการรักษา ต้องเอาแรงงานทั้ง 2 ส่วนนี้ มาใช้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์อย่างนี้

กลุ่มที่ 3 กลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนป่วย ซึ่งถ้าไม่ติดเชื้อก็ต้องดูแลอย่างดีป้องกันเชื้อโรค ส่วนคนที่ติดเชื้อก็ดูแลรักษาจนกว่าเชื้อจะหมดไป ตอนนี้ประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่ต้องทำแผนที่คนของตัวเอง เพื่อจะได้รู้ว่าใครทำอะไรได้บ้างดีกว่าปล่อยเวลาผ่านเลยไปในแต่ละวัน

สิ่งที่คนไทยมีมากที่สุดตอนนี้ คือ เวลา ที่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร และหลายคนกลับต่างจังหวัด ดังนั้น ไม่ต้องรอรัฐบาลว่าจะให้ทำอะไร แต่ละชุมชนสามารถคิดงาน สร้างอาชีพให้แก่กลุ่มของตนเอง โดยการสำรวจชุมชน ป่า แหล่งน้ำ ผลิตภัณฑ์ สินค้าของแต่ละชุมชนว่าจะต่อยอด รวมถึงแก้ปัญหาที่ชุมชนเคยเกิดขึ้น หลังโควิด-19 อาจจะได้เห็นแหล่งน้ำ ป่า ชุมชน และผลิตภัณฑ์ใหม่ของประเทศเกิดขึ้น ซึ่งการสร้างงานสร้างอาชีพได้แต่ยังคงต้องรักษามาตรการป้องกันโควิด-19 ควบคู่ไปด้วย

158738261733

ตั้งรพ.โควิด-19ลดเสี่ยงแพร่เชื้อ

ศ.พญ.จิรพร กล่าวอีกว่าเมืองไทยสิ่งที่ดีที่สุด ได้แก่ อาหาร ต้องเอาเวลาเหล่านี้ไปเพิ่มมูลค่าให้อาหาร ผัก ผลไม้ของไทย หรือของดีที่ไทย หากเอกลักษณ์ของชุมชน ขณะที่คนที่ต้องทำงานในกรุงเทพฯ ต้องใช้ดิจิตอลให้เกิดประโยชน์ว่าจะสร้างอาชีพใหม่ให้แก่ตนเองได้อย่างไรบ้าง ถ้าไม่รู้จะทำอาชีพอะไร ต้องใช้เวลานี้พัฒนาตนเอง ทักษะที่ตนเองอยากมี หรือทำในเรื่องที่ตนเองอยากทำ

ขณะที่แต่ละจังหวัดต้องจัดแบ่งกลุ่มคนในจังหวัด และดึงจุดเด่นศักยภาพของจังหวัดขึ้น เช่น ภูเก็ต แบ่งกลุ่มประชาชน จัดผังเมือง ให้บริการการท่องเที่ยว โดยนำคนกลุ่มหนึ่งที่ติดเชื้อและหายดีแล้วมาเป็นไกด์ เป็นทัวร์ ส่วนคนกลุ่มใสสะอาดมาอบรมให้ความรู้ในการป้องกันตนเอง และมาให้บริการ พร้อมจัดโรงแรมเป็น quarantine paradise รับนักท่องเที่ยวเกรดดี ต้องมีใบรับรองว่าไม่มีเชื้อโควิด-19 และให้กักตัว 14 วันในโรงแรมดังกล่าว จนกว่าจะปลอดภัยก็สามารถเที่ยวในภูเก็ตได้ และการเดินทางมาลงที่ภูเก็ตทันที เป็นต้น

วินัยดีเข้าใจกระบวนการปิด 5 รู

ศ.พญ.จิรพร กล่าวอีกว่าการกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนก่อนเกิดโควิด-19 ได้ อยู่ที่การปฎิบัติตัวของคนไทย ซึ่งการผ่อนมาตรการต่างๆ หากคนไทยยังไม่รู้วิธีการ์ดสูงของตนเองยังผ่อนมาตรการไม่ได้ ดังนั้น ถ้าคนไทยวินัยดี เข้าใจกระบวนการ ปิด 5 รู คือ ตา 2 ข้าง จมูก2 รู และ1 ปาก ซุกมือให้ดี ไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง ก็สามารถใช้ชีวิตปกติได้ ตอนนี้อุปกรณ์ เตียง และบุคลากรทางการแพทย์ในการรองรับผู้ป่วย เชื่อว่าเพียงพอ แต่ต้องอยู่ที่ความร่วมมือของประชาชนในการดำเนินการตามมาตรการต่างๆของรัฐอย่างเข้มข้น

158738273034

 รวมถึงการเลือกใช้หน้ากาก ซึ่งหน้ากากN95 ควรให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ใช้งาน และตอนนี้อาจารย์ก็ได้มีการทดลองนำหน้ากากN95 มาใช้ใหม่ โดยใช้การอบลมร้อน 70 องศาเซลเซียล ประยุกต์ใช้หม้ออบไก่ เบื้องต้น 1 ชื้น เมื่อเข้าสู่กระบวนการอบลมร้อนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 20 ครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากในการเพิ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์

แยกตึกรับผู้ป่วยโควิด-19เฉพาะ

รพ.จุฬาภรณ์กำหนดให้อาคารศูนย์การแพทย์ฯ เป็นอาคารที่เปิดให้บริการสำหรับคลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 และให้ผู้ป่วยอื่นๆ เข้ารับบริการรักษาที่อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อโควิด-19 เข้าไปในอาคารที่ไว้รองรับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด-19

158738276958

เปิดช่องทางให้คำปรึกษาโรค COVID-19 สำหรับผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และมีข้อสงสัยต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 จากบุคลากรทางการแพทย์ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล ปรึกษาแพทย์ได้ทาง COVID-19 Call Center โทร 06 4586 2420 และ 06 4586 2421 ทุกวันตั้งแต่เวลา 8:00 – 20:00 น.