โควิด-19 จะทำให้การจับมือทักทายกันจบลงหรือไม่?

โควิด-19 จะทำให้การจับมือทักทายกันจบลงหรือไม่?

การจับมือทักทายกันในโลกธุรกิจและการเมืองเป็นสิ่งที่ทำกันมาเป็นพันๆปี แต่ผู้เชี่ยวชาญกำลังบอกให้คนลองทบทวนธรรมเนียมทักทายกันของโลกนี้

สหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มากที่สุดแล้วในเวลานี้ โดยมีผู้ป่วยถึงกว่า 550,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 22,000 รายแล้ว

คนต่างพยายามพากันอยู่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการติดต่อปฎิสัมพันธ์กัน และทำตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่าง แอนโทนี่ ฟอว์ซีย์ หัวหน้าสถาบันโรคติดต่อและภูมิแพ้แห่งชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในคนสำคัญในการต่อสู้โรคระบาดของสหรัฐฯ ซึ่งได้บอกกับ วอลล์สตรีท จัวนัล อาทิตย์ที่แล้ว ว่า “ผมคิดว่า เราไม่ควรจับไม้จับมือทักทางกันอีกแล้ว พูดตรงๆ”

ถ้าคนทำตามสิ่งที่ฟอว์ซีย์แนะนำจริง มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมเลยทีเดียว

ต้องไม่ลืมว่าการจับไม้จับมือ เป็นการทักทายที่เป็นสากลในวงการธุรกิจทั่วโลก ในวงการเมือง และในสังคมทั่วไปโดยมันเป็นแบบนี้มานานไม่รู้กี่ปี
แต่ท่ามกลางการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิดที่ทำให้คนนับล้านพากันเลี่ยงการติดต่อปฏิสัมพันธ์กัน การทบทวนวิธีการจับมือทักทายจึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร

“เมื่อคุณยื่นมือไปจับทักทายกัน นั่นคือคุณกำลังยื่นอาวุธชีวภาพเลยทีเดียว” เกรกกอรี่ โปแลนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อของเมโยคลินิก หนึ่งในสถาบันการวิจัยทางการแพทย์ที่ใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ กล่าว “มันเป็นธรรมเนียมที่ไม่ทันยุคและไม่อยู่ในวิธีคิดของโลกของทฤษฎีเชื้อโรคเอาเสียเลย”

แต่เราจะทำอย่างไรกับมันได้ การเว้นระยะห่างตอนแรกก็ดูจะเป็นอะไรที่ยาก แล้วการจับไม้จับมือกันล่ะ จะเป็นไปได้ไหม แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริง อะไรที่จะมาแทนมันได้บ้าง

ทำไมเราถึงต้องจับมือทักทายกัน?

จากอียิปต์โบราณ เมโสโปเตเมีย จนถึงกรีก หรือบาบิโลน และวรรณกรรมอมตะของโฮเมอร์ ภาพวาดหรือวรรณกรรมที่ปรากฏได้แสดงถึงการจับมือหรือการผายมือแสดงถึงความไว้วางใจต่อกัน

แม้ผู้เชี่ยวชาญไม่รู้ว่ามันเริ่มมาจากไหน แต่การผายมือหากันมันแสดงให้คนอื่นเห็นว่าไม่มีอาวุธอะไรในมือและสามารถไว้ใจได้

บรรดาปราชญ์ในสังคมได้ศึกษาท่าทางของมนุษย์มาเป็นเวลานาน และพบว่า ในวัฒนธรรมกรีกและโรมัน มันเป็นสัญญลักษณ์แสดงถึงความใกล้ชิด และการปฎิสัมพันธ์กันของคน

ในงานคลาสสิคอลอาร์ตอื่นๆ ท่าทางเหล่านี้พบในพิธีแต่งงาน หรือสถานการณ์ที่สะท้อนการทำงานน่วมกันหรือการย้ำถึงความสัมพันธ์

ทุกวันนี้ การจับมือกลายเป็นภาษาสากลในการทักทายกันไปเสียแล้ว

“แม้การจับมือกันในเวลานี้ จะไม่ได้ใช้บอกว่าในมือไม่ได้ถืออาวุธอะไรมา แต่มันก็ช่วยสื่อถึงเจตนาดี” ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤกรรมองค์กร ศาสตราจารย์ จูเลียน่า ชโรเดอร์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คเลย์กล่าว

“มันเป็นการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ที่สำคัญมากในโลกธุรกิจ ในเวลาที่คนต้องพบปะกันเพื่อหวังผลตอบแทนสูง”

งานวิจัยของเธอพบว่า คนจะเต็มใจทำงานกับคนที่ยื่นมือมาจับคนอื่นครั้งแรกมากกว่า เพราะมันแสดงถึงความน่าไว้ใจ ความร่วมมือ และการทำตามกันไปตลอด

เพราะเหตุนี้ มันจึงถูกใช้เป็นสัญญลักษ์แสดงออกในการถ่ายรูปที่เป็นทางการของงานใหญ่ๆ อย่างเช่น การประชุม G 20

แต่การจับมือทักทาย ก็ใช่ว่าเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทุกที่ ในประเทศอย่างญี่ปุ่นก็ชอบโค้งคำนับกันมากกว่า หรือในยุโรปอย่างอิตาลีหรือฝรั่งเศสก็ชอบหอมแก้มกันไปมา

แต่ธรรมเนียมใดๆ ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาได้เช่นกัน

ไข้กาฬโรคทำให้ฝรั่งเศสเลิกหอมแก้มกันมานับศตวรรษ แล้วจับมือทักทาย?

ทิเซียน่า คาสซิเอโร่ ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยโตรอนโต กล่าวว่า การจับไม้จับมือกัน เป็นความรู้สึกพื้นฐานที่คนอยากจะแสดงออกคือความไว้ใจกับคนอื่น และการเรีกร้องให้เลิกจับมือทักทายของฟอว์ซี่ต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญนี้

เธอกล่าวว่า เธอเข้าใจที่เขาเรียกร้อง เพราะต้องการให้คนปลอดภัยจากโรค และเธอก็เชื่อว่าคนจะหยุดจับไม้จับมือกันไปพักเหมือนกัน

“เพราะเราจะวิตกจริตกันไปพักหนึ่ง” เธอกล่าว

โปแลนด์เห็นด้วยกับเธอที่ว่า มันต้องเป็นอะไรที่ใหญ่แบบนี้ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเราได้

ในการจับมือ ถ้าใครซักคนพยายามยื่นมือไปจับ แต่อีกคนไม่เอาด้วย มันจะทำให้อีกคนรู้สึกไม่ดี และพฤติกกรมอะไรแบบนี้ที่อาจช่วยทำให้การจับมือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่สุด

ชโรเดอร์กล่าวว่า มันอาจมีบ้างที่จะมีช่วงเวลาที่รู้สึกไม่สะดวกใจกับการที่จะไม่จับมือกันอีก แต่ในสหรัฐฯ หลายคนเริ่มไม่ยอมจับมือแล้ว

“มันเริ่มเกิดขึ้นแล้ว แม้คนจะเริ่มแสดงออกปนเปกันไปเพราะไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไรดี ที่จะแสดงออกแทนธรรมเนียมสัมผัสขั้นสูงอย่างจับมือ ฉันคิดว่า มันเป็นไปได้ที่เราจะแสดงออกอย่างอื่นแทนการจับไม้จับมือที่แสดงถึงความรู้สึกนึกคิดได้พอๆกัน”

แล้วมันคืออะไรล่ะ?
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มันไม่ใช่การจับมือที่สำคัญ แต่เป็นสิ่งที่มันช่วยสื่อต่างหาก นั้นคือ ความร่วมมือและความเชื่อมโยงกัน
จริงๆแล้ว มีการทักทายแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการโค้งคำนับ ไปจนถึงการแตะจมูกกันที่เป็นวิธีที่แทนได้
วิธีทักทายอื่นๆ นี้ จะว่าไปเป็นอะไรที่คนทำกันเป็นปกติมากกว่าอีก และการจับไม้จับมือกันอาจหายไปเอง ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีการระบาดของโรคหรือไม่

“ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการในโลกธุรกิจ การจับมือทักทายเลยกลายเป็นการแสดงออกที่เป็นทางการ” คานิน่า บลันชาร์ด ศาสตราจารย์ด้ายการสื่อสารเพื่อการจัดการที่มหาวิทยาลัยเวสเทริ์น ออนตาริโอกล่าว

“ถ้าเราดูในเชิงตัวเลข อย่างในจีนหรืออินเดียที่มีประชากรกว่าครึ่งของโลก พวกเขาอาจใช้วิธีจับมือทักทาย แต่พวกเค้าก็มีวิธีทักทายของเขาเองด้วย ลองคำนวณตัวเลขดู จะเห็นเลยว่าวิธีทักทายอื่นเป็นสิ่งที่คนทำเป็นปกติมากกว่า

และเมื่อประเทศเหล่านี้มีอิทธิพลต่อโลกมากยิ่งขึ้น ธรรมเนียมปฏิบัติของพวกเขาก็อาจกลายเป็นธรรมเนียมปฎิบัติสากลซักวันหนึ่ง บลันชาร์ดกล่าว

แม้มนุษย์กำลังเผชิญกับวิกฤติของโรคโควิด เรายังต้องการการเขื่อมโยงปฎิสัมพันธ์กัน

“คนจะปรับตัว” บลันชาร์ดกล่าว “ฉันไม่ได้บอกว่าจะยินดีหรืออะไรที่การจับไม้จับมือทักทายกันจะหายไป แต่ฉันคิดว่า มันจะไม่เป็นประเด็นที่จะต้องมาถกอะไรกันอีกแล้ว”
“แล้วถ้ามนุษย์จำเป็นที่จะต้องปรับตัว มันก็เป็นสิ่งที่พวกเขาทำกันได้อยู่แล้ว”