ยูเอ็นเปิดแผนช่วยเหลือประเทศเสี่ยงล่มสลายจากโควิด-19

ยูเอ็นเปิดแผนช่วยเหลือประเทศเสี่ยงล่มสลายจากโควิด-19

องค์กรระหว่างประเทศกว่า 60 องค์กรเรียกร้องให้รีบช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศที่ยากจนที่สุดที่กำลังถูกโควิดคุกคามอยู่ในเวลานี้

คนนับพันๆ ล้านในประเทศกำลังพัฒนากำลังยักแย่ยักยันอยู่กับเศรษฐกิจที่อาจดำดิ่งเนื่องจากการระบาดของโรคโควิดที่กระทบทั้งเศรษฐกิจและสร้างภาระหนักอึ้งแก่ระบบสาธารณสุขของประเทศ นอกเหนือไปจากหนี้สินที่มีอยู่เดิมแล้ว ยูเอ็นกล่าว

รายงานฉบับใหม่ที่จัดทำขึ้นโดย หน่วยเฉพาะกิจองค์กรต่างประเทศของยูเอ็น จากการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างยูเอ็น และไอเอ็มเอฟ (IMF) เวิลด์แบงค์ (World Bank) และอีกกว่า 60 องค์กรระหว่างประเทศที่พยายามช่วยกันจัดทำแผนเพื่อช่วยรัฐบาลเลี่ยงหายนะเศรษฐกิจโลก

แผนดังกล่าวรวมถึงการสร้างความเข้มแข็งโดยการเสริมความต้องการพื้นฐานต่างๆให้ประชาชน อาทิ อาหารและยา การเสริมทรัพยากรเพื่อประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเตรียมตัวรับมือได้ดีขึ้น และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

"เรายังห่างไกลจากการมีความช่วยเหลือแบบแพคเกจให้กับประเทศกำลังพัฒนาที่จะสามารถเอาไวรัสอยู่และดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่จำเป็นคือความช่วยเหลือแบบครบครันอย่างน้อยๆ 10% ของ GDP โลก” เลขาธิการยูเอ็น แอนโตนิโอ กูเตอเรส กล่าว

รายงานฉบับใหม่นี้ ยังร้องขอให้ธนาคารยอมให้ทั้งธุรกิจและบุคคลประนอมหนี้ไปก่อน และให้องค์กรที่เกี่ยวข้องลดการกีดกันทางการค้าลง

ข้อเสนอเชิงนโยบายนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกถูกกระทบอย่างหนักโดยโควิด นักลงทุนต่างถอนการลงทุนมูลค่ากว่าเก้าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯออกจากตลาดไปแล้ว ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่สุดที่ไหลออกที่เคยมีมา ในช่วงเวลาที่ประเทศต่างๆกลับต้องการมันมากที่สุดในเวลานี้

“ใน 75 ปีมานี้ ยูเอ็นไม่เคยเห็นหายนะขนาดนี้ และมาตรการที่เร่งด่วน เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อคนนับล้าน” นาวิด ฮานิฟ ผู้อำนวยการการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเอ็นกล่าว (UN DESA)

รายงานยังระบุถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและธุรกรรมและการศึกษาในช่วงของการระบาดและการล็อคดาวน์

กว่าครึ่งของคนเกือบแปดพันล้านคนไม่ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต นั่นหมายถึงพวกเขาไม่มีทางเลือกในการทำงานที่บ้านเหมือนคนอื่นๆ แรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มที่เสี่ยงอย่างมากที่จะสูญเสียรายได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวนี้ และรัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนาก็ไม่ได้มีทรัพยากรที่จะช่วยในเรื่องความต้องการพื้นฐาน

“มันมีความชัดเจนว่าเรามีวิกฤติมนุษย์ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจและหนี้สิน เราขอให้ประชาคมโลกรีบจัดการเรื่องนี้โดยเร่งด่วน” ชาริ สไปเกล หัวหน้าด้านโยบายการวิเคราะห์ และการพัฒนาของ UN DESA บอกอัลจาซีร่า

หนำซ้ำ วิกฤติหนี้ จะแย่หนักไปอีกจากราคาที่ลดลงของน้ำมันและสินค้าอื่นๆ

“แม้แต่ก่อนหน้าวิกฤติ อย่างน้อย 44 ประเทศที่พัฒนาแล้วก็เริ่มมีความเสี่ยงด้านหนี้สินแล้ว โดยต้องใช้กว่า 25% ของเงินทุนเพื่อจ่ายหนี้ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาได้กู้ยืมเงินเพิ่มในช่วงที่ดอกเบี้ยยังต่ำ แต่เวลานี้ความต้องการน้ำมันโลกกลับตกลง ห่วงโซ่การผลิตถูกกระทบ และราคาสินค้าก็กำลังล้มระเนระนาด” สไปเกลกล่าว

รายงานได้ร้องขอการพักหนี้อย่างเร่งด่วนให้กับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดและประเทศที่มีรายได้น้อยอื่นๆ และประเทศต่างๆ จำเป็นต้องสร้างความมั่นคงทางด้านการเงินขึ้นมาใหม่ และร่วมกันสร้างระบบที่ปลอดภัยทางการเงิน โดยเฉพาะกับตลาดที่เกิดขึ้นใหม่

เพื่อต่อสู้กับไวรัส รัฐบาลจำเป็นต้องขยายการลงทุนด้านสาธารรณสุขเพิ่ม ในขณะที่ต้องพยุงธุรกิจเล็กๆให้ไปต่อได้

ประเทศพัฒนาแล้ว จำเป็นต้องรับฟังเรื่อง "เงินช่วยเหลือระหว่างประเทศ" (ODA) ที่ตัดลดไป โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดมากที่สุด

ในปี 2561 ODA ลดลงไปกว่า 4.3 % และ ODA สำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดถูกลดลงไปกว่า 2.2 %แล้ว