ก.ล.ต.เดินหน้า '4ยุทธศาสตร์' ขับเคลื่อนตลาดทุนสู่ 'ความยั่งยืน'

 ก.ล.ต.เดินหน้า '4ยุทธศาสตร์' ขับเคลื่อนตลาดทุนสู่ 'ความยั่งยืน'

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แถลงแผนยุทธศาสตร์ปี2563 ภายใต้หัวข้อ “ขับเคลื่อน เปลี่ยนผ่าน ก้าวนำสู่ความยั่งยืน” โดยมีคณะกรรมการก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมถึงผู้บริหารในแวดวงตลาดทุนมาร่วมรับฟังคับคั่ง

"ไฮไลท์"สำคัญอยู่ที่ การบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนตลาดทุนไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า” โดย “รื่นวดี สุวรรณมงคล” เลขาธิการสำนักงานก.ล.ต.

เลขาธิการก.ล.ต. เริ่มฉายภาพจาก พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่  (ฉบับที่ 6) มีจุดเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญคือ การระบุในพ.ร.บ.ว่า แผนการทำงานของก.ล.ต.ต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนั้นแผนงานของ ก.ล.ต.ในอีก 3 ปีข้างหน้า จึงต้องสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีเป้าหมายพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เกิดความความยั่งยืน

ทั้งนี้เชื่อว่า สถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน มีประเด็นใหญ่ที่กำลังเผชิญหน้า 4 ด้าน ได้แก่ 1.กระแส ESG  (การทำธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ที่เพิ่มขึ้น 2.การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น 3.พัฒนาการของเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ4.ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและภาวะดอกเบี้ยต่ำยาวนาน

 จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ ก.ล.ต.ต้องมาขบคิด เพื่อทำให้ผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งที่ผ่านมาก.ล.ต.ได้มีการเชื่อมโยงกับตลาดภูมิภาคต่างๆเพื่อยกระดับการระดมทุนของไทยให้มีคุณภาพมากขึ้นและสามารถระดมทุนได้ในวงกว้างขึ้น

ขณะที่ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่างรวดเร็ว สวนทางกับแรงงานภาคเอกชนในระบบที่มีการออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เพียงสัดส่วน 20% เท่านั้น ดังนั้น ก.ล.ต.จึงต้องมุ่งเน้นสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกคนรู้จักการออมและการลงทุนระยะยาว เพื่อเตรียมพร้อมรองรับสำหรับการเกษียณมากขึ้น 

นอกจากนี้ พัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ก.ล.ต.ต้องพยายามสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อป้องกัน,ยับยั้ง และดำเนินการกับการกระทำผิดรูปแบบใหม่ รวมถึงรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์มากยิ่งขึ้น

 สำหรับยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปี2563-2565) เลขาธิการก.ล.ต. ระบุว่า ก.ล.ต.ได้ปักธงไว้ 4 ด้าน  ประกอบด้วย  1.ด้านความยั่งยืน ซึ่งในส่วนนี้ก.ล.ต.จะเน้นสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยและการเติบโตแบบความยั่งยืน (ESG) มากขึ้น  

2.ด้านการเข้าถึง ซึ่งมุ่งหวังประชาชนอยู่ดีมีสุขทางการเงิน มีการออมและการลงทุนระยะยาวที่เพียงพอรองรับการเกษียณอายุ รวมถึงสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ โดยมีเครื่องมือที่หลากหลายให้ภาคธุรกิจเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ด้านการแข่งได้และเชื่อมโยง โดยมีแผนจะสร้างกลไกและกติกาที่เป็นธรรมกับผู้ลงทุน โดยจะนำดิจิทัลเทคเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับการประกอบธุรกิจ และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดทุนเพื่อช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง รวมถึงมีการกำกับดูแลและรักษาความเชื่อมั่น เป็นธรรม และมีความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ โดยอนาคตอาจมีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ และกฎเกณฑ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น

 และ4.ด้านความเชื่อถือได้ โดยจะทำให้ตลาดทุนไทยเกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  สิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกันความเสี่ยงของระบบ โดยจะมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเป็นตัวชี้วัดหรือตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่หมาะสม ซึ่งเบื้องต้นได้มีเริ่มทดลองใช้แล้วและคาดว่าจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการก.ล.ต. (บอร์ด) ได้รับทราบภายในวันที่ 5 มี.ค.2563

นอกจากนี้ ก.ล.ต.ยังได้ตั้งเป้าหมายแผนงานที่ต้องบรรลุผลภายในปี 2565  ซึ่งในด้านของความยั่งยืนต้องมีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อให้มีบริษัทที่ได้คะแนน ESG ดีและจำนวนมูลค่า ESG product เพิ่มขึ้น 20%

ขณะที่ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่างรวดเร็ว สวนทางกับแรงงานภาคเอกชนในระบบที่มีการออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เพียงสัดส่วน 20% เท่านั้น ดังนั้น ก.ล.ต.จึงต้องมุ่งเน้นสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกคนรู้จักการออมและการลงทุนระยะยาว เพื่อเตรียมพร้อมรองรับสำหรับการเกษียณมากขึ้น 

นอกจากนี้ พัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ก.ล.ต.ต้องพยายามสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อป้องกัน,ยับยั้ง และดำเนินการกับการกระทำผิดรูปแบบใหม่ รวมถึงรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์มากยิ่งขึ้น

 สำหรับยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปี2563-2565) เลขาธิการก.ล.ต. ระบุว่า ก.ล.ต.ได้ปักธงไว้ 4 ด้าน  ประกอบด้วย  1.ด้านความยั่งยืน ซึ่งในส่วนนี้ก.ล.ต.จะเน้นสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยและการเติบโตแบบความยั่งยืน (ESG) มากขึ้น  

2.ด้านการเข้าถึง ซึ่งมุ่งหวังประชาชนอยู่ดีมีสุขทางการเงิน มีการออมและการลงทุนระยะยาวที่เพียงพอรองรับการเกษียณอายุ รวมถึงสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ธุรกิจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ โดยมีเครื่องมือที่หลากหลายให้ภาคธุรกิจเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ด้านการแข่งได้และเชื่อมโยง โดยมีแผนจะสร้างกลไกและกติกาที่เป็นธรรมกับผู้ลงทุน โดยจะนำดิจิทัลเทคเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับการประกอบธุรกิจ และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดทุนเพื่อช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง รวมถึงมีการกำกับดูแลและรักษาความเชื่อมั่น เป็นธรรม และมีความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ โดยอนาคตอาจมีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ และกฎเกณฑ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น

 และ4.ด้านความเชื่อถือได้ โดยจะทำให้ตลาดทุนไทยเกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  สิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกันความเสี่ยงของระบบ โดยจะมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเป็นตัวชี้วัดหรือตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่หมาะสม ซึ่งเบื้องต้นได้มีเริ่มทดลองใช้แล้วและคาดว่าจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการก.ล.ต. (บอร์ด) ได้รับทราบภายในวันที่ 5 มี.ค.2563

นอกจากนี้ ก.ล.ต.ยังได้ตั้งเป้าหมายแผนงานที่ต้องบรรลุผลภายในปี 2565  ซึ่งในด้านของความยั่งยืนต้องมีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อให้มีบริษัทที่ได้คะแนน ESG ดีและจำนวนมูลค่า ESG product เพิ่มขึ้น 20%

ด้านการเข้าถึงนั้น มีเป้าหมายเพิ่มจำนวนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เพิ่มขึ้น 8% และจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนรวมต้องเพิ่มขึ้น 15% ส่วนด้านแข่งได้และเชื่อมโยง ต้องทำให้ธุริจเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ สามารถเข้าถึงการระดมทุนในตลาดทุน,ทบทวนกฎหมาย (regulatory guillotine) เพื่อสามารถลดระยะเวลาหรือกระบวนการและต้นทุนที่ไม่จำเป็นได้จริง และสุดท้ายด้านเชื่อถือได้ ต้องลดระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย (enforcement case) อย่างน้อย 5%

อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามว่าแผนยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต.ครั้งนี้จะส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยขับเคลื่อนสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านและก้าวไปสู่ความยั่งยืนได้หรือไม่ ท่ามกลางสภาวะการลงทุนในปัจจุบันมีความท้าทายจำนวนมาก