แจกคูปอง Re Skill-Up Skill ชู non degree พัฒนากำลังคน

แจกคูปอง Re Skill-Up Skill  ชู non degree พัฒนากำลังคน

เมื่อเทคโนโลยี ข้อมูล ส่งผลให้ใครๆ ก็สามารถหาความรู้ เติมเต็มทักษะในอาชีพของตนเองได้โดยไม่ต้องรอให้มีประสบการณ์ หรืออายุงานมาก “หลักสูตรประกาศนียบัตร(non degree)” จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการรีสกิล อัพสกิล พัฒนาคนทุกช่วงวัย

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย จึงต้องสร้างหลักสูตรที่ตอบโจทย์ทักษะแห่งอนาคตให้ได้ไม่น้อยกว่า 500 หลักสูตรจัดงาน Future Career Expo2020 เพื่อมอบของขวัญให้กับนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ ประมาณช่วงปลายเดือน มี.ค.

โดยหลักสูตร non degreeกว่า 500 หลักสูตร ครอบคลุมกว่า 100 ทักษะแห่งอนาคตทั้งด้าน Hard Skill และSoft Skill สนับสนุนให้เกิดทักษะแห่งอนาคต สร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองให้กับคนไทย และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้แจกคูปองรีสกิล และอัพสกิลมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท ให้ผู้สนใจที่มาร่วมงานนำคูปองมาใช้สมัครเป็นส่วนลดหลักสูตร

158256216259

วานนี้ (24 ก.พ.2563) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดสัมมนา "การจัดทำหลักสตรประกาศนียบัตร(non degree) เพื่อการยกระดับทักษะกำลังคนของประเทศ” โดยมีสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่าตามที่กระทรวงอว.ได้กำหนดหลักสูตรและสาขาการศึกษาเป้าหมาย และจัดทำกลไกการพัฒนาบุคลากรทักษะสูงร่วมกับภาคเอกชน และดำเนินการรับรองประกาศหลักสูตรและสาขาการศึกษาเป้าหมายร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ดังนั้น การประชุมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศครั้งนี้ ถือเป็นการKick off เพื่อปรับบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างคน

158256216233

  • สร้างคนป้อน12อุตสาหกรรม

โดยสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดทำรายละเอียดหลักสูตร non degree ทักษะเพื่ออนาคตของอุตสาหกรรม S-Curve หรือ Future Skill Set ใน 12 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมพัฒนาทักษะและกำลังคน เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำแนวทางไปผลิตหลักสูตรnon degree เป็นทักษะอนาคตและที่ต้องของตลาด

“ภารกิจสร้างคนถือเป็นวาระแห่งชาติ โดยอว.ให้ความสำคัญการศึกษาตลอดชีวิตมากกว่าการศึกษาแบบการศึกษาขั้นสูง วันนี้สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องตอบโจทย์จะไม่โฟกัสกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีในระบบเพียง 3-4 ล้านคน แต่ต้องโฟกัสกลุ่มคนทำงาน กว่า 38 ล้านคน รวมถึงกลุ่มสูงอายุ 11 ล้านคน ให้มีการพัฒนารีสกิล อัพสกิลและทักษะใหม่ๆ เพื่อรับกระแสความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่ส่งผลให้อาชีพเก่ากำลังจะถูกทดแทน”สุวิทย์ กล่าว

  • มุ่งทักษะการทำงาน

สัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานกรรมการบริหารการส่งเสริมและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะชั้นสูง ตามความต้องการของประเทศ กล่าวว่าการรีสกิล อัพสกิลในภาคเอกชนมีความสำคัญมาก เพราะเห็นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมาโดยตลอด และส่งผลต่อการใช้แรงงานในปัจจุบัน ตอนนี้แรงงานหน้าใหม่ลดลงเกือบ 20 เท่า บริษัท สถานประกอบการใช้คนลดลงแต่ปริมาณงานกลับได้มาก ยิ่งมีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ตำแหน่งต่างๆ หายไป โดยเฉพาะตำแหน่งผู้ปฎิบัติงาน อย่าง ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ เนื่องจากเทคโนโลยีสามารถบูรณาการและทำงานแทนคนกลุ่มนี้ได้ ทำให้นี้คือเหตุผลหลักในการรีสกิล อัพสกิล คนในวัยทำงาน

158256216383

 

“ภาคธุรกิจส่วนใหญ่จะโฟกัสในการรีเทรนพนักงานของตนเอง ซึ่งภาคธุรกิจ เอกชนมองว่าผู้ที่จะมารีเทรนพนักงานบุคลากรได้ดี คือ มหาวิทยาลัย ดังนั้น หลักสูตรnon degree การรีสกิล อัพสกิลจะเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาคน โดยเฉพาะกลุ่มคน skill Manpower หรือคนที่มีอายุ 22 ปี เป็นต้นไป ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพให้รองรับงานที่เพิ่มขึ้นมาทั้งมองเห็นและมองไม่เห็น ซึ่งเพิ่มมากกว่าเดิมถึง 60 % การหารือครั้งนี้จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของมหาวิทยาลัยที่จะก้าวออกมาจากการสอนแบบเดิม คือ เรียน 4 ปี รับใบปริญญามาสู่การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นnon degreeทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ที่มุ่งเน้นให้เกิดทักษะในการทำงานมากกว่าความรู้ที่จบในห้องเรียน”สัมพันธ์ กล่าว

ชูหลักสูตร non degree

ผศ.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่าสอวช.ได้มีการพัฒนาระบบสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นระบบการศึกษาแบบ non degree ที่จะเกี่ยวกับมาตรฐาน และสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกรมสรรพากร อว.ในการกำหนดทักษะเป้าหมาย หรือ Skill set ว่าความต้องการของภาคเอกชน ผู้ประกอบการมีทิศทางอย่างไร เพื่อให้ระบบการจัดการเรียนการสอน non degree ของมหาวิทยาลัยเกิดความสอดคล้อง ซึ่งจะเป็นการจัดรูปแบบ แนวทางให้มหาวิทยาลัย และสถานประกอบการเข้าถึงระบบ

158256216145

หลักสูตรที่ผ่านการรับรอง เมื่อทางผู้ประกอบการส่งคนมาฝึกกับทางมหาวิทยาลัยก็สามารถนำเงินที่เข้ารับการอบรมไปลดหย่อนภาษี ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยต้องจัดทำรายละเอียดหลักสูตร และต้องผ่านการพิจารณารับรองจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในสาขาวิชาชีพ และผู้เชี่ยวชาญจากอว. จะเป็นการพัฒนาหลักสูตรอบรมเทรนนิ่งที่มหาวิทยาลัยสามารถบริหารจัดการให้ยั่งยืนได้ด้วยตนเอง ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนเท่านั้น

  • พัฒนากำลังคนรองรับEEC

จากการสำรวจข้อมูลการศึกษาความต้องการบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) พบว่าภายใน 5 ปีนี้ จะมีความต้องการบุคลากรใน 10 อุตสาหกรรมใหม่ ประมาณ 475,000คน ครอบคลุมทุกระดับการศึกษาตั้งแต่อาชีวศึกษาจนถึงปริญญาเอก โดยแบ่งเป็นความต้องการแรงงานในระดับอาชีวศึกษา 253,000 คน ปริญญาตรี 212,000 คน และปริญญาโท-เอก8,600 คน รวมทั้งตำแหน่งงานใหม่นอกเหนือจากพื้นที่เขตEECกว่า5 แสนตำแหน่ง

158256216379

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านพัฒนาการศึกษา บุคคลากร และเทคโนโลยี กล่าวว่ารูปแบบการพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดการศึกษาตอบโจทย์ EEC นั้น สามารถบูรณาการไปสร้างคนในหลักสูตร non degree ได้ โดยในส่วนของของกลุ่มการศึกษาพื้นฐาน การจัดการศึกษาในEEC จะเน้นเพิ่มการศึกษาด้าน Coding จัดปรับด้านภาษาและการสึกษา เพิ่มการศึกษากลุ่ม STEM ส่วนกลุ่มการศึกษาอาชีวะและอุดมศึกษานั้นต้องปรับทิศทางสู่ Demand Driven Education หรือการจัดการศึกษาใหม่ หลักสูตรที่เน้นผลิตกำลังคนให้มีทักษะสูง มีความพร้อมในการทำงาน สร้างระบบการเรียนต่อเนื่อง ปรับสร้างระบบธนาคารหน่วยกิต และจัดการเรียนการสอน 3 แบบคือ EEC MODEL ทวิภาคี และแบบทั่วไป