ซีพีเอฟ ถอดบทเรียน ส่งองค์ความรู้สู่เยาวชน

ซีพีเอฟ ถอดบทเรียน ส่งองค์ความรู้สู่เยาวชน

“การพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นคำที่ได้ยินอย่างหนาหูในยุคปัจจุบันนี้ แต่ความหมายและการกระทำที่แท้จริง สามารถหาได้จากที่ไหนและเป็นผลในทางปฎิบัติจริงได้หรือไม่

“การพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นคำที่ได้ยินอย่างหนาหูในยุคปัจจุบันนี้ แต่ความหมายและการกระทำที่แท้จริง สามารถหาได้จากที่ไหนและเป็นผลในทางปฎิบัติจริงได้หรือไม่ การกำหนดโครงการในลักษณะเพื่อสังคมหรือ ซีเอสอาร์ กับ โครงการลักษณะเพื่อความยั่งยืน มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่เนื้อในที่แท้จริงกับแตกต่างกันอย่างมากเช่นกัน 

ว่าด้วยความยั่งยืนคือการมีรากฐานที่มั่นคงและสมบูรณ์แบบ ในที่นี้คือการพัฒนาที่ตัวเด็กและเยาวชนซึ่งการพัฒนาด้านใดก็ไม่เท่าการพัฒนาด้านอาหารการกินที่ดีและสมบูรณ์เพราะผลที่ได้คือทรัพยากรมนุษย์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมสู่การเรียนรู้ในอนาคต

อดิเรก ศรีประทักษ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่าซีพีเอฟ ร่วมกับมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทได้ดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนต่อเนื่องสู่ปีที่ 30 แล้ว เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยแข็งแรงของเด็กและเยาวชนไทยอย่างยั่งยืนกว่า 150,000 คน ใน 824 โรงเรียนทั่วประเทศ

ตลอด “3 ทศวรรษ” ของโครงการฯ (ปี 2532 – ปัจจุบัน) นอกจากจะเป็นแหล่งผลิตไข่ไก่เพื่ออาหารกลางวันให้นักเรียนอย่างเพียงพอแล้ว ยังช่วยพัฒนาให้โรงเรียนเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมทักษะด้านการเกษตร สร้างความมั่นคงทางอาหารในโรงเรียนและชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ในปีนี้ โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนได้ มอบโรงเรือนไก่ไข่และอุปกรณ์การเลี้ยงให้กับโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร) อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนลำดับที่ 779 และอีก 45 โรงเรียน

“ซีพีเอฟ จะให้การสนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อเด็กนักเรียน ปีละ 50 แห่ง เพื่อสร้างเยาวชนให้เรียนรู้ในอาชีพ มีประสบการณ์ตรงสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตหลังจากที่เรียนจบไปแล้ว”

157719375435 ในขณะที่โรงเรียนแต่ละแห่งที่ส่งเสริมไปแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีบางแห่งที่เลี้ยงไก่ไปแล้วและต้องการขยาย หากพื้นที่เพียงพอ ซีพีเอฟ ก็จะจัดสรรให้ตามสมควร โดยไข่ที่ผลิตได้หากเกินความต้องการบริโภคของนักเรียน ก็สามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมให้กับทางโรงเรียน หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ทั้งหมดนี้จะถือว่าเป็นความวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการนี้ไปด้วย

“ในปีนี้ ซีพีเอฟ สนับสนุนงบประมาณให้มูลนิธิฯดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มอีก 46 แห่งมูลค่ารวม 13 ล้านบาท โดยจะส่งมอบให้ครบทุกโรงเรียนภายในเดือนพ.ค. 2563 ทำให้มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งซีพีเอฟติดตามดูแลทั้งสิ้น 824 โรงเรียนทั่วประเทศ”

อภัยชนม์ วัชรสินธุ์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิ ฯ กล่าวว่า โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันเป็นหนึ่งในโครงการเพื่อร่วมบรรเทาปัญหาขาดแคลนโปรตีน สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสติปัญญาของเยาวชนโดย มูลนิธิฯได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน รวมทั้ง ซีพีเอฟ ที่สนับสนุนโครงการฯ เป็นมูลค่ารวม 146 ล้านบาท

โครงการประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง เยาวชนเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารมั่นคงของชุมชน ที่สำคัญ มีองค์ความรู้ให้ครูและนักเรียนสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ เกิดกองทุนหมุนเวียน และเป็นแหล่งเรียนรู้อาชีพของคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน 

นอกจากนี้ซีพีเอฟและมูลนิธิฯ ยังได้มอบเครื่องอุปโภคบริโภคและเงินดำรงชีพให้แก่ผู้สูงอายุ ในโครงการกองทุนซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย และมอบสัญญาจ้างงานคนพิการ ภายใต้  

 ”โครงการจ้างงานคนพิการ” ในโรงเรียนที่ร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ซึ่งซีพีเอฟได้ดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2560 โดยปัจจุบัน ซีพีเอฟมีการจ้างงานคนพิการ จำนวน 424 คน ช่วยงานในโรงเรียนใน 240 โรงเรียนทั่วประเทศ

157719376730 ผจญ กุณา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์พัฒนาคาร)กล่าวว่า โรงเรียนบ้านดู่ฯ เป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีนักเรียน 750 คน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การส่งเสริมให้เด็กๆได้เรียนรู้ด้านการเกษตร เช่น การเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โดยมีบุคลากรของซีพีเอฟช่วยถ่ายทอดความรู้และวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงเป็นการวางพื้นฐานวิชาชีพให้ติดตัวไปใช้ในอนาคต

การเข้าร่วมโครงการนี้ ได้รับมอบไก่ไข่จากซีพีเอฟ 300 ตัว ทำให้มีผลผลิตไข่ไก่เพื่อมาทำอาหารกลางวันนักเรียนได้รับประทานอย่างทั่วถึง หรือหากมีผลผลิตไข่ไก่จำนวนมากก็สามารถนำไปจำหน่ายให้คุณครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน ทำให้เด็กๆมีโอกาสเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการและการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายด้วย

ภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายกล่าวว่าเด็กและเยาวชนในชนบทมีอาหารอิ่มท้อง จะทำให้สามารถเจริญเติบโตสมวัย ขณะเดียวกันด้านการดูแลผู้สูงอายุที่ยากไร้ให้ได้รับความสะดวกสบายตามสมควรและส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้เพื่อดูแลตนเองและครอบครัว เป็นการสร้างคุณค่าในสังคมที่คนทุกวัยมีส่วนร่วมกัน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกโรงเรียนจะสามารถพัฒนาและต่อยอดโครงการไปสู่การเป็นต้นแบบแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป”รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายกล่าว