ยานยนต์ไร้คนขับที่กาตาร์ในปี 2022

ยานยนต์ไร้คนขับที่กาตาร์ในปี 2022

ในอนาคต กาตาร์ จะเป็นเมืองที่การเดินทางปราศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเมืองแห่งยานพาหนะไร้คนขับ ที่ไม่ได้เพียงใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่จะพัฒนาสู่การเดินทางด้วยรถสาธารณะ นับเป็นการพลิกโฉมครั้งใหญ่

นับเป็นครั้งแรกที่รถโดยสารพลังงานไฟฟ้าแบบไร้คนขับ Level 4 จะเข้ามาเปิดศักราชใหม่ของการเดินทางในเมืองหลวงของกาตาร์ ในปี 2022 หลังจากที่ผู้แทนของ Volkswagen AG และ Qatar Investment Authority และ QIA กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของกาตาร์ ลงนามความร่วมมือในโครงการ "Project Qatar Mobility"

โครงการนี้เพื่อพัฒนาระบบขนส่งอัตโนมัติ และพลิกโฉมอนาคตของการเดินทางในเมืองให้มีความยั่งยืน ด้วยการนำรถบัสและรถโดยสารขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ในปี 2022 โดยเป็นความร่วมมือ 4 แบรนด์ในเครือ Volkswagen Group คือ Volkswagen Commercial Vehicles, Scania (นำเสนอโซลูชันการขนส่งที่ยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจโอกาสด้านการขนส่งสาธารณะอัตโนมัติในเมืองโดฮา ประเทศกาตาร์) MOIA บริษัทผู้พัฒนาบริการด้านการเดินทาง โดยทำงานร่วมกับเมืองต่างๆ

ปัจจุบันกำลังพัฒนาและใช้ระบบ ride pooling เพื่อบรรเทาปัญหารถติดและสนับสนุนการใช้ถนนอย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มให้บริการรถบัสแบบออนดีมานด์ในเมืองฮันโนเวอร์และฮัมบูร์กของเยอรมนี

"เพื่อความก้าวหน้าของเมือง เราจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเทคโนโลยีการขนส่ง AI ที่ปราศจากมลพิษ ช่วยแก้ปัญหารถติด"

และ AID (Autonomous Intelligent Driving ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านการพัฒนายานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ระดับ 4 ในเมืองมิวนิก เยอรมนี มีผู้เชี่ยวชาญกว่า 260 คน จาก 47 ประเทศ) ว่ากันว่า มหกรรมฟุตบอลโลก 2022 กาตาร์ จะเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะขับเคลื่อนอัตโนมัติ ด้วยพลังงานไฟฟ้าและปล่อยมลพิษเป็นศูนย์

โดย QIA และ Volkswagen จะร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบดิจิทัลที่จำเป็น เพื่อบูรณาการยานพาหนะแบบไร้คนขับเข้ากับเครือข่ายขนส่งสาธารณะที่มีอยู่เดิมในโดฮา โดย ID. BUZZ AD รถโดยสารขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยพลังงานไฟฟ้าของ Volkswagen Commercial Vehicles จะรับส่งผู้โดยสารสูงสุด 4 คน ในย่านเวสต์เบย์ ด้วยรูปแบบกึ่งประจำทาง ส่วนรถบัสสุดไฮเทคของ Scania จะรองรับ ผู้โดยสารได้มากขึ้น ทั้งนี้ AID และ MOIA จะสนับสนุนระบบไร้คนขับและแอพที่จำเป็นในการให้บริการ

โครงการดังกล่าวจะเป็นแม่แบบในการพลิกโฉมการเดินทางในเมือง ทั้งในกาตาร์และประเทศอื่นๆ สำหรับการทดสอบรถโดยสารและรถบัสแบบปิด คาดว่าจะเริ่มในปี 2020 และการทดลองจะเริ่มอย่างเร็วสุดในปี 2021 จากนั้นจะให้บริการจริงในปี 2022 ซึ่งจะแสดงถึงความสำเร็จของยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแห่งอนาคต

Dr.Thomas Sedran ประธานกรรมการบริษัท Volkswagen Commercial Vehicles (VWCV) ในเครือ Volkswagen Group กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการนี้ ว่า "การใช้เทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่กำลังพัฒนาโดย AID รวมถึงแอพ ride pooling ของ MOIA สำหรับเรียกรถผ่านแอพ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางในเมืองแห่งอนาคต การเดินทางที่ปราศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผสานกับเทคโนโลยี ระบบไร้คนขับเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด 

"วิธีนี้ช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนสังคมด้วยการเดินทางที่สะอาด ชาญฉลาด และยั่งยืน ทั้งนี้ทางเราได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการด้านการเดินทางแบบบูรณาการ และระบบขับเคลื่อน อัตโนมัติก็เป็นกุญแจสำคัญในการพลิกโฉมธุรกิจหลักของเรา"

Henrik Henriksson ประธานและ ซีอีโอของ Scania กล่าวว่า อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานของยานยนต์อัตโนมัติและยานยนต์ไฟฟ้า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงการเดินทางของประชาชน

"เพื่อความก้าวหน้าของเมืองต่างๆ เราจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเทคโนโลยีการขนส่ง AI ที่ปราศจากมลพิษจะช่วยพัฒนาการเดินทาง ในเมือง แก้ปัญหารถติด และเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน" Mansoor Al Mahmoud ซีอีโอของ QIA กล่าวตบท้าย