นายกฯ ชี้การพัฒนาที่ยั่งยืน ‘เสถียรภาพความมั่นคง-การเติบโตทางศก.’ ต้องเกื้อกูล

นายกฯ ชี้การพัฒนาที่ยั่งยืน ‘เสถียรภาพความมั่นคง-การเติบโตทางศก.’ ต้องเกื้อกูล

นายกฯ ชี้การพัฒนาที่ยั่งยืน "เสถียรภาพความมั่นคง-การเติบโตทางเศรฐกิจ" ต้องเกื้อกูล พร้อมแนะ 3 ประเด็น

เมื่อวันที่ 4 ..62 เวลา 11.45 ที่ห้อง Grand Diamond Ballroom ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารกลางวัน เพื่อหารือเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (Special Lunch on Sustainable Development) โดยงานเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อหารือเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอก รวมถึงองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ สหประชาชาติ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียน และกรรมการผู้จัดการองค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้าร่วม

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระสำคัญของโลก และเป็นประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนในการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียนให้มีความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งท้าทายต่างๆ นอกจากนี้ อาเซียนได้ร่วมมือกับภาคีภายนอก โดยไทยเป็นผู้ประสานงานอาเซียนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อผลักดันความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมข้อริเริ่มความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน .. 2025 กับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน .. 2030 ของสหประชาชาติ (Complementarities Initiative)โอกาสนี้ ไทยถือว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนในทุกมิติซึ่งเปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน

ด้านหนึ่งคือ การมีเสถียรภาพและความมั่นคง และอีกด้านคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีพลวัต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งสองด้านจะต้องส่งเสริมและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนของประชาคมอาเซียนนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ได้กล่าวถ้อยแถลงสะท้อนเสียงของอาเซียนที่นครนิวยอร์ก เพื่อบรรลุ SDGs

อย่างไรก็ดี อาเซียนยังคงเผชิญกับความท้าทายในอีกหลายเป้าหมาย โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาเซียนได้ประกาศเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม เช่น การลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 และการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นร้อยละ 23 ภายในปี .. 2025 และในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งอาเซียนได้มีข้อริเริ่มมากมายที่จะลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งในประเทศและในภูมิภาคเพื่อไม่ให้ประชาคมอาเซียนทิ้งใครไว้ข้างหลัง

โดยในการหารือ นายกรัฐมนตรีได้เสนอ 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.อาเซียนควรเสริมสร้างแรงกระตุ้นในการดำเนินการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาค และต่อยอดจากการดำเนินกิจกรรมของศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการดำเนินการตามโรดแม็พความเกื้อกูลฯ 2. การสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน พร้อมให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในระดับรากหญ้า และ 3. การบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนในอาเซียนจะต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจจากทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนและภาคีภายนอกในช่วงท้าย

นายกรัฐมนตรี กล่าวเน้นย้ำว่าความร่วมมือและความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน และความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอกของอาเซียน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนประจักษ์ผลเป็นรูปธรรม