“ทีมล่าปลากะพง” จับแล้วลักลอบนำเข้ที่จ.สตูล 5 ตัน

“ทีมล่าปลากะพง” จับแล้วลักลอบนำเข้ที่จ.สตูล 5 ตัน

หลังปลากะพงษในประเทศราคาตกต่ำ กรมประมงเข้มจัดชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่จังหวัดสตูล ปราบปรามการนำเข้าสัตว์น้ำผิดกฎหมาย พบเรือขนถ่ายไม่มีทะเบียนลักลอบขนกะพงไอยูยู 5 ตัน สั่งปรับ1หมื่น - 1 แสนบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่า

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยภายหลังการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤต ตามข้อร้องเรียนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพง เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2562 โดยกรมประมงได้กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการผลผลิตปลากะพงเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาไว้ ประกอบด้วย1. ด้านการส่งออก ขยายการส่งออกไปต่างประเทศ โดย อาจมีการทำเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) ระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการโรงงานแปรรูป

  1. ด้านการนำเข้า หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ถึงความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการ Antidumping 3. ด้านสุขอนามัย สุ่มตรวจสารตกค้าง (Chloramphenicol, malachite green, Nitro furan และ Mebendazole ) ในปลากะพงขาวที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน สุ่มตรวจโรค SDDV, RSIV, VNN ในปลากะพงขาวที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ตรวจในทุก shipment
  2. มาตรการควบคุมการลักลอบการนำเข้า บริเวณท่าเรือชายแดน โดยให้ด่านตรวจสัตว์น้ำเข้มงวดการตรวจเรือประมง เรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ท่าเทียบเรือ แพปลาที่มีการลักลอบนำเข้าสัตว์น้ำผิดกฎหมาย และ 5. ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ จัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายปลากะพงขาว โดยการทำ MOU กับ modern trade เช่น Big C, Makro, TOP Supermarket เป็นต้น

พพพ

ทั้งนี้เพื่อการปฏิบัติเป็นไปตามมติที่ประชุมการบริหารจัดการผลผลิตปลากะพงเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา ด้านมาตรการควบคุมการลักลอบการนำเข้านั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้ นายธนพร ศรียากูล ที่ปรึกษาด้านการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและ ไร้การควบคุม(ไอยูยู) นำชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่จังหวัดสตูล เพื่อตรวจสอบและติดตามการนำเข้าปลากะพงที่อาจนำเข้าในลักษณะที่ผิดกฎหมายในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย

โดยเมื่อเร็วๆนี้ นายธนพร นำทีมเฉพาะกิจลงพื้นที่ ณ ท่าเทียบเรือประมงในจังหวัดสตูล ตรวจพบการขนถ่ายสัตว์น้ำจำนวน 5 ตัน ในลักษณะผิดกฎหมาย โดยพบเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ตามที่ พระราชกำหนดกรมประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 ได้กำหนดไว้ตามมาตรา 85/1ต้องได้รับโทษตามมาตรา 155 คือต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1หมื่น - 1 แสนบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่าย แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กรมประมงได้เข้าแจ้งความแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว