16 จังหวัด เหนือ-อีสานเสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง

16 จังหวัด เหนือ-อีสานเสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง

ศูนย์อำนวยการน้ำฯ แนะหน่วยงานที่รับผิดชอบปรับลดการระบายน้ำจากอ่างเพื่อช่วยลดผลกระทบ

โดยศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจได้จัดประชุมประเมินสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้รายงานในที่ประชุมที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติว่า พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน อยู่ห่างเมืองฮานอย 400 กม. เมื่อบ่ายวันนี้ คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 3 (พายุโซนร้อน) ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก “โพดุล”

ศูนย์ฯ ได้วิเคราะห์เส้นทางน้ำที่ปัจจุบันยังประสบปัญหาน้ำท่วม และมีความเสี่ยงที่น้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 3-6 กันยายน พบว่า จังหวัดริมแม่น้ำในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 16 จังหวัด อาจได้รับผลกระทบจากพายุลูกใหม่ ได้แก่

.แพร่ แม่น้ำยม

.อุตรดิตถ์ ลำน้ำปาด

.พิษณุโลก แม่น้ำน่าน

.พิษณุโลก ลำน้ำเข็ก

.เพชรบูรณ์ แม่น้ำป่าสัก

.อุดรธานี ลำน้ำห้วยหลวง

.สกลนคร แม่น้ำสงคราม

.กาฬสินธุ์ จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร ลำน้ำยัง

.ยโสธร ลำเซบาย

และตั้งแต่ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะ ระดับน้ำบริเวณโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทางศูนย์ฯ รายงาน

ทั้งนี้ ทางศูนย์ฯ ได้ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งน้ำในพื้นที่ที่ประสบปัญหาจากพายุโพดุล และที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากพายุลูกใหม่ดังกล่าว ปรับลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบ

สำหรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศจากอิทธิพลของพายุโพดุลระหว่างวันที่ 29 ..ถึงปัจจุบันพบว่า มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น จำนวน 38 แห่ง รวม 2,500 ล้าน ลบ.. และมี 2 แห่ง ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำมาก ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ และหนองหาร

นอกจากนี้ ทางศูนย์ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงระยะ 1-3 วันข้างหน้าอีกประมาณ 2,000 ล้าน ลบ..

ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ รวม 744 ล้าน ลบ.. ส่งผลให้แหล่งน้ำขนาดกลาง ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% จำนวน 141 แห่ง พ้นวิกฤติ ทางศูนย์ฯ รายงาน โดยแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีน้ำเพิ่มขึ้นจนอยู่ในเกณฑ์ 30-60% มีจำนวน 29 แห่ง ซึ่งปริมาณน้ำที่ไหลเข้าแหล่งน้ำมากขึ้นนี้ จะใช้เป็นน้ำต้นทุนสำหรับสำรองเพื่อการอุปโภค-บริโภค และเป็นต้นทุนในฤดูแล้งหน้าต่อไป ทางศูนย์ฯ ระบุ

อย่างไรก็ตาม ยังมีแหล่งน้ำอีก 13 แห่งที่ยังมีน้ำไหลเข้าน้อยและอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ คลองสียัด เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนกระเสียว บึงบอระเพ็ด และเขื่อนทับเสลา