ผวจ.อุดรฯ สั่งติดตาม หลังพบรง.ยางปล่อยสารก่อมะเร็ง
ผวจ.อุดรธานี พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามปัญหาโรงงานยางพาราในพื้นที่ หลังพบส่งผลกระทบปล่อยสารก่อมะเร็ง
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.อุดรธานี นายธนพล จันทรนิมิ รอง ผวจ. พร้อมกับนายอำเภอเมือง,อุตสาหกรรมอุดรธานี,ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอุดรธานี,รองนายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี,นักวิชาการสิ่งแวดล้อมภาค9 ,นายก อบต.หนองนาคำ และ ตัวแทนประชาชน ร่วมติดตามแก้ไขปัญหาโรงงานยางแท่ง บ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) และ บ.วงศ์บัณฑิต จก. บ.จำปา ถ.นิตโย ต.หนองนาคำ อ.เมือง ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชน
นางพาขวัญ กาจหาญ อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ชี้แจงว่า ทั้ง 2 โรงมีปัญหาร้องเรียนเรื่องกลิ่น และมีการแก้ไขต่อเนื่อง ล่าสุดมีคำสั่งให้หยุดปรับปรุง และเมื่อกลับมาเดินเครื่องใหม่ ก็มีคำสั่งให้ดำเนินการหลายข้อ ส่วนใหญ่ทำไปแล้ว เหลือเพียงระบบบำบัดกลิ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงจาก “เวตสครับเบอร์” มาเป็นระบบ “ไบโอสครับเบอร์” โดย บ.วงศ์บัณฑิต จก. ได้เพิ่มเติมการอัดไอเสียลงในน้ำจุลินทรีเพิ่ม ติดตั้งไปแล้ว 3 ปล่อง เหลืออีก 3 ปล่อง ส่วน บ.ศรีตรังฯ อยู่ระหว่างก่อสร้าง ขอขยายเวลาจาก30พ.ย. เป็นสิ้นเดือน ธ.ค.
นางสุภาพร เบ้าหล่อเพชร ตัวแทนชาวบ้านเดือดร้อน กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาของโรงงานยาง ไม่สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นให้หมดไปได้ ทั้งกลิ่นเหม็นเน่าจากกองยางก้อนถ้วย และบ่อบำบัดน้ำเสีย และกลิ่นเหม็นฉุนจากปล่องอบยาง มันอาจจะหายไปชั่วครั้งชั่วคราว แต่มันก็ยังมีกลิ่นเหม็นรุนแรงเหมือนเดิม และขณะนี้ชาวบ้านกำลังวิตกกังวลมาก เมื่อชาวบ้านร่วมกันเก็บข้อมูลทำวิจัย ได้รับเอกสารทางราชการมา 1 ชุด ที่ระบุว่าตรวจพบสารอันตราย ส่งผลต่อสุขภาพประชาชนรุนแรงที่สุดคือ “มะเร็ง”
นายสายันต์ หมีแก้ว นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 กล่าวว่า เอกสารที่ชาวบ้านพูดถึงน่าจะเป็น รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ ตัวอย่างอากาศจากโรงงานยาง 2 โรง ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม ที่พบสารอินทรีย์ระเหยง่าย8ชนิด ที่พบในปล่องและกองยางในพื้นที่ชุมชน บางชนิดเกินกว่าค่าเฝ้าระวังในพื้นที่ชุมชน เพื่อให้เกิดความชัดเจน จะต้องตรวจยืนยันอีกครั้ง เพื่อใช้ในการนำมาอ้างอิง ส่วนการประกาศให้โรงงานยางแท่ง สามารถตรวจพิสูจน์ด้วยการดมได้ อยู่ระหว่างดำเนินการ
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า 4 ปีแล้ว ที่ทางราชการเทียวเข้าเทียวออกโรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาชาวบ้านไม่มีความสุข เมื่อชาวบ้านนอนไม่หลับ ราชการจะนอนหลับได้อย่างไร รายงานก็บอกว่ามีความพยายามแก้ไข แต่จะมีหลักประกันได้อย่างไร ว่าแก้ไขไปแล้วทำให้ไม่มีกลิ่น โรงงานที่นี่อยู่ใกล้ชุมชน ที่ไม่มีใครปลูกสวนยางพารา แต่เขากลับต้องมารับปัญหา ทำอย่างไรให้ชาวบ้าน-โรงงาน-ราชการ มี“สุขเสมอกัน” สิ่งแรกเอาความจริงมาคุยกัน แล้วช่วยกันแก้ไขต่อเนื่องจริงจัง
“อุดรธานีมีกรรมการครอบคลุมการดำเนินการแก้ไขอยู่แล้ว ตนมารับตำแหน่งได้ประชุมไปแล้ว1ครั้ง และจากการทบทวนเอกสารต่างๆ จะมีการจัดกลุ่มการทำงานบ้างเล็กน้อย วันนี้ได้สั่งการให้ ทสจ.อุดรธานี ติดตามกรณีกรมควบคุมมลพิษ จะประกาศมาตรฐานกลิ่นโรงงานยางพารา เพิ่มจาก 23 โรงงาน ว่าดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพราะขณะนี้เราใช้การเทียบเคียงค่ากับโรงงานอื่นอยู่ ส่วนกรณีความห่วงใยชองชาวบ้าน เรื่องสารตกค้างที่อาจจะเป็นภัยต่อสุขภาพ ก็ให้ประสานตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อส่งให้กับหน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นการด่วน ”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สารอินทรีย์ระเหยง่าย 8 ชนิด ที่พบในชุมชนรอบโรงงานยาง และเป็นชนิดเดียวกันที่พบในตัวอย่าง เก็บจากปล่องและกองยางของโรงงาน ประกอบด้วยMethyl vinyl ketone , Chloromethane , Toluene , Dichloromethane , 2-Butanone , 2-Propenal , IasopreneและAcrylonitrileโดย2-Propenalเกินกว่าค่าเฝ้าระวังในพื้นที่ชุมชน2-50เท่า.....
แม่ค้า บ่นอุบ ขายไม่ออก คนเทซื้อ "หวยออนไลน์" วอนจัดกองสลากโควตาเป็นสัดส่วน
30 มิ.ย. 2565 | 16:36น้ำป่าถล่มเวียงป่าเป้า ท่วมถนน เชียงใหม่ - เชียงราย น้ำเอ่อล้นเดินทางลำบาก
30 มิ.ย. 2565 | 16:01ทหารเมียนมาส่งเครื่องบินรบMIG 29 ล้ำเขตแดนไทย รร.ประกาศหยุดเรียนฉุกเฉิน
30 มิ.ย. 2565 | 15:51ผักยังแพงต่อเนื่อง ล่าสุด "ต้นหอม" ขยับเพิ่มเป็น 120 บาทต่อกิโลกรัม
30 มิ.ย. 2565 | 15:43"น้ำป่า" ถล่มเวียงป่าเป้า เข้าท่วมถนน เชียงใหม่-เชียงราย
30 มิ.ย. 2565 | 15:10